2717_9737
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน คณะเกษตรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และสถาบันวิจัยอวกาศและ สมุทรศาสตร์ นักศึกษามีโอกาสทำวิจัยในพื้นที่จริง รวมทั้งมีโครงการ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างประเทศกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ ทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก โดยคาดหวังว่าโครงการนี้จะผลิตบัณฑิตที่มี ความสามารถ แก้ไขปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของมวลมนุษยชาติ ศ. ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง การตรวจ เฝ้าระวังสารปรอทในปลาที่อาศัยในบริเวณแท่นผลิตก๊าซธรรมชาติ ของอ่าวไทย ความโดยสรุปว่า ประเทศไทยได้มีการสำรวจและผลิต ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๗๙ จากการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อมก่อนการสำรวจขุดเจาะ ได้มีการเตือนให้ทราบว่าอาจมีการ ปนเปื้อนของสารปรอท ทั้งนี้เพราะผลการสำรวจทางธรณีวิทยาพบว่า มีการสะสมของสารปรอทสูงในตะกอนระดับลึกของก้นอ่าวไทย รายงานผลการตรวจเฝ้าระวังสารปรอทในปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณ แท่นผลิตก๊าซธรรมชาติเอราวัณ เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๘๐ โดยการสุ่มปลา ขึ้นมาตรวจหารสารปรอทในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เปรียบเทียบกับปลาที่จับได้ ที่สถานีชายฝั่ง (control station) ที่อำเภอปราณบุรี การตรวจเฝ้าระวัง ๘ ครั้ง ครอบคลุมระยะเวลา ๑๕ ปี ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๙๓-๒๐๐๘ พบว่าใน ค.ศ. ๑๙๙๓ ปลามีสารปรอทปนเปื้อนในระดับ ที่สูงกว่า ๐.๕ µ g/g (น้ำหนักเปียก) ซึ่งเป็นมาตรฐานขององค์การอาหาร และเกษตรฯ (FAO) กล่าวคือ มีค่าเฉลี่ยของสารปรอทอยู่ที่ ๐.๕๕๖ µ µ g/g (น้ำหนักเปียก) และร้อยละ ๔๑.๖ ของปลาที่ตรวจมีสารปรอทมากกว่า ๐.๕ µ g/g ดังนั้น หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบจึงแจ้งให้บริษัทที่ได้รับสัมปทาน ดำเนินการแก้ไขและขอให้มีการตรวจเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทฯ ได้ประดิษฐ์เครื่องแยกปรอทออกจากน้ำเกลือ (hydro-cyclone) และใช้ กระบวนการละเว้นการทิ้งน้ำเกลือที่มีการปนเปื้อนลงสู่ทะเล (zero discharge) โดยกระบวนการอัดแกลบลงหลุม (deep-well injection) ผลการตรวจเฝ้าระวังในปีต่อ ๆ มาจนถึง ค.ศ. ๒๐๐๘ พบว่า มีการปนเปื้อน ของสารปรอทในปลาลดลงเรื่อย ๆ และร้อยละของสารปรอทในปลาที่มีค่า สูงกว่ามาตรฐานความปลอดภัยในการบริโภคก็ลดลงเช่นกัน สำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ.ไสว มงคลเกษม ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง การใช้สีภายนอกของ อาคาร ความโดยสรุปว่า การทาสีภายนอกในงานสถาปัตยกรรมมีความสำคัญ เท่ากับการออกแบบอาคาร ผนังอาคารที่จะลงมือทำให้สวยงามจะต้อง คัดเลือกวัสดุก่อสร้างนั้น ๆ อย่างละเอียด เพื่อป้องกันมิให้เกิดการเสียหาย ภายหลัง ผนังภายนอกมีวัสดุให้เลือกใช้ได้หลายชนิด เช่น ผนังหุ้มด้วยสีธรรมชาติ ผนังหุ้มด้วยหินอ่อน ผนังกรุด้วยหินอ่อนที่ตัดเป็นแผ่น ๆ มีขนาดเท่า ๆ กัน ผนังกรุด้วยอิฐหรือแผ่นคอนกรีตเห็นรอยต่อ ผนังกรุด้วยอิฐซีเมนต์ ผนังกรุ ด้วยหินแม่น้ำชนิดเกลี้ยง แล้วทาสีหรือพ่นสี ผนังกรุด้วยกระเบื้องเซรามิก ผนังกรุด้วยกระจก ผนังกรุด้วยแผ่นซีเมนต์ผสมใยหิน ผนังกรุด้วยไม้ ผนังกรุ ด้วยโลหะ อาคารที่กรุด้วยวัสดุต่าง ๆ ดังกล่าว เช่น บ้านพักอาศัยหลังเดี่ยว หรือบ้านหลังเดี่ยวที่อยู่ในโซนที่พักอาศัย อาคารหอพักหรือกลุ่มอาคาร ที่เป็นหอพัก อาคารที่เป็นห้องพักอาศัยมีหลายห้อง กลุ่มอาคารที่พักอาศัย มีหลายห้อง ห้องพักนักศึกษาที่ไปเล่นสกีในฤดูหนาว โรงเรียนอนุบาล ประถม มัธยม และอาชีวะชั้นสูง โบสถ์ในคริสต์ศาสนา อาคารภัตตาคาร ร้านกาแฟ สำนักงาน ตัวอย่างการทาสีต่าง ๆ ที่ภายนอกอาคาร ให้เหมาะกับวัสดุภายนอก และโครงสร้างของอาคาร มีดังนี้ - หอพักสำหรับผู้มาเล่นสกีในฤดูหนาวที่เมือง Cortina d’Ampezzo ประเทศอิตาลี โครงสร้างทั่วไปเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนผนังห้องโถง ใหญ่ปลายอาคารกรุด้วยหินผิวเกลี้ยง แล้วพ่นสีให้ดูสดใส - ที่พักสำหรับนักเรียนชั้นประถม ที่โรงเรียนพาไปเล่นสกีเป็นกลุ่ม ในฤดูหนาว สร้างที่ตำบล Corte di Cadore เมือง Cortina d’Ampezzo ประเทศอิตาลีตอนเหนือ อาคารทาสีเป็น ๒ สี ผนังจากพื้นถึงขอบหน้าต่าง ใช้สีแดงแสดตัดกับสีของหินก่อสีขาว - กลุ่มอาคารห้องอยู่อาศัย (apartment) อาคารด้านหน้าผนังฉาบปูน พ่นสีเข้ม ระเบียงพ่นสีขาว อาคารด้านหลังทาสีอ่อน ตัวระเบียงใช้สีเข้ม - อาคารที่พักอาศัยพร้อมด้วยร้านค้าของเบ็ดเตล็ดชั้นล่าง รอบตัว อาคารโครงเป็นสีเทาเงิน เพื่อให้สีตัดกันกับผนัง ซึ่งเป็นวัสดุสำเร็จรูป - อาคารพักอาศัยสร้างที่ประเทศอังกฤษ ชานกรุงลอนดอน สีกรอบ ที่ยึดแผ่นกระจกเป็นโลหะทาสีขาว - อาคารที่พักอาศัย กรอบหน้าต่างกระจกเป็นสีพ่นสีขาว ขัดมัน พื้นและผนังของระเบียงพ่นสีมัน - อาคารพักอาศัยสร้างใกล้เมืองอัมสเตอร์ดัม ขอบหน้าต่างกรุ ด้วยกระจกสีด้าน ตัวขอบโดยรอบหน้าต่างพ่นสีขาว ขัดมัน - ช่วงตึกอาคารห้องอยู่อาศัยชนิดหลายครอบครัว สถาปนิกใช้ปูนฉาบ ผสมหินกรวดทาสีขาว เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเป็นสวนและสนามสีเขียว ขอบประตูหน้าต่างใช้สีฟ้าเข้ม - ช่วงตึกที่พักอาศัย โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังโดยรอบ อาคารก่ออิฐฉาบปูนผสมหินแม่น้ำ เฉลียงและผนังจากพื้นถึงขอบหน้าต่าง ใช้วัสดุสำเร็จรูปทาสีให้ปรากฏเป็น ๔ สี สีของผ้าบังแดดเป็นสีเดียวกัน เพื่อให้เกิดสีที่ตัดกัน - อาคารพักอาศัยและร้านค้าชั้นล่าง ผนังรับน้ำหนักบรรทุกที่ด้านข้าง ใช้สีฟ้าอ่อน สำหรับสีที่ใช้เป็นสีฟ้าอ่อนและเข้ม ทำหน้าที่ต่างกัน - อาคารที่สร้างในกลุ่มอาคารที่พักอาศัย สร้างใกล้กรุงสตอกโฮล์ม ทับหลังของผนังกันตกเป็นอะลูมิเนียมขัดมัน ผนังที่ตั้งอยู่ระหว่างหน้าต่าง เป็นแผ่นซีเมนต์ผสมใยหินทาสีมัน - อาคารสร้างเป็นลักษณะช่วงตึกที่พักอาศัย สร้างที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ประตูหน้าต่างใช้มู่ลี่ไม้บังแดดม้วนขึ้นลง ทาสีมัน ผนัง ใต้หน้าต่างโดยรอบอาคารทาสี mineral (สีผสมแร่ที่ศึกษาการผลิตเป็น พิเศษ) - อาคารพักอาศัยที่เมืองมิวนิก ส่วนที่เป็นห้องพักอาศัยทาสีอ่อน เฉลียงลอยทาสีฟ้าเข้ม และใช้สีน้ำทำเป็นรูปสามเหลี่ยม ติดไว้ที่ผนังกันตก ของดาดฟ้า โดยมีพื้นสีเดิมเป็นสีอ่อน สีที่ทาในที่ต่าง ๆ ใช้พ่นเรียบ ส่วนร้าน ต้นไม้บนดาดฟ้าใช้สีใดก็ได้ตามแต่จะชอบ - อาคารในการออกแบบเฉลียงพักผ่อนเป็นรูปร่างใหม่ซึ่งเป็นที่นิยม มากในประเทศเยอรมนี เจ้าของบ้านออกมานั่งพักผ่อนจะมองไม่เห็นซึ่งกัน และกัน สีผนังเป็นสีเข้มเพื่อให้เฉลียงดูเด่น ส่วนเฉลียงเป็นสีอ่อน - บ้านพักคนชราที่ประเทศเยอรมนี ผนังกั้นระหว่างห้องก่ออิฐแล้วพ่น สี ที่ระเบียงพ่นสีต่าง ๆ กันเพื่อให้ดูสดใส - โรงพิมพ์ของบริษัท I.B.M. ชายคาเป็นสีขาวขัดมัน ส่วนกลางอาคาร พ่นสีเทา ดร.ชลิตภากร วีรพลิน ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง องค์ประกอบ ของความแตกต่างที่สำคัญของประเทศ ภาค และจังหวัด ความโดยสรุปว่า องค์ประกอบของความแตกต่างที่สำคัญของประเทศ ภาค และจังหวัด เช่น รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี (บาท) ของประเทศ ภาค และจังหวัด การใช้ประโยชน์ ที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๖-๒๕๕๑ ลักษณะการถือครองที่ดินทางการเกษตร พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=