2717_9737
3 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๑ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ผู้สูงอายุ และการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุ เช่น อุตสาหกรรมการเกษียณ อายุ สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ.เกียรติคุณ ภก.สมพล ประคองพันธ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การประกันคุณภาพยาสามัญ ความโดยสรุปว่า ยาสามัญเป็นยาที่ใช้ แพร่หลายในทุกประเทศทั่วโลกไม่เว้นประเทศที่ผลิตยาใหม่ได้มาก เช่น สหรัฐอเมริกา ยังใช้ยาสามัญคิดเป็นมูลค่าสูงถึงร้อยละ ๗๐ ทั้งนี้เพราะ ยาสามัญมีราคาถูก ยาต้นแบบเป็นยาที่คิดค้นขึ้นใหม่ต้องลงทุนในการวิจัย และพัฒนาสูงมาก เมื่อสามารถขึ้นทะเบียนได้รับอนุญาตให้ผลิตจำหน่ายได้ จึงจำหน่ายในราคาค่อนข้างสูงและมีสิทธิบัตรคุ้มครองเป็นระยะเวลาหนึ่ง ส่วนยาสามัญนั้นอ้างอิงคุณสมบัติด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย ของตัวยาจากยาต้นแบบ เมื่อตัวยาหมดสิทธิบัตรก็สามารถขออนุญาตผลิต จำหน่ายเป็นยาสามัญจึงมีราคาถูกกว่ายาต้นแบบมาก เป็นที่สงสัยกัน ในกลุ่มแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และผู้บริโภคว่า ยาสามัญจะให้ผลการ รักษาเหมือนยาต้นแบบหรือไม่ องค์การอนามัยโลกระบุว่า ยาสามัญจะให้ผล การรักษาเท่าเทียมกับยาต้นแบบและใช้แทนกันได้ก็ต่อเมื่อผลิตภัณฑ์ยานั้น ต้องมีคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ มีเภสัชกรรมสมมูล และ มีชีวสมมูล คุณสมบัติด้านเภสัชกรรมสมมูล หรือความเท่าเทียมกันทางเภสัชกรรม ระหว่างยาสามัญกับยาต้นแบบ คือ มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนด ในตำรายาหรือตามที่ได้รับอนุญาต เช่น มีตัวยาชนิดเดียว มีความแรงเท่ากัน มีสิ่งเจือปนไม่เกินกำหนด มีการละลายเหมือนกัน ผลิตในสถานที่ผลิตยา ที่มาตรฐานเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างในการใช้รักษาระหว่าง ยาสามัญและยาต้นแบบอาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากมีความแตกต่างกันนับตั้งแต่ แหล่งที่มาของตัวยาสำคัญและวัตถุดิบ เช่น มาตรฐานสถานที่ผลิต วัตถุดิบ สิ่งเจือปนในตัวยาสำคัญแตกต่างกัน รูปผลึกของยา ขนาดอนุภาคของยา ที่ต่างกัน ยาสามัญที่เชื่อถือได้ควรใช้ตัวยาสำคัญจากแหล่งผลิตที่มี มาตรฐานสูง เช่น มี GMP มีสิ่งเจือปนต่ำ สูตรตำรับยามีกราฟการละลาย ไม่แตกต่างกัน และสถานที่ผลิตยาสำเร็จรูปควรได้มาตรฐานที่ประเทศไทย ยอมรับ คือ PICs ตาม ASEAN Guideline ผู้มีหน้าที่ในการเลือกซื้อยาจะต้องดูเป็นว่าผลิตภัณฑ์นั้นน่าเชื่อถือ หรือไม่ ปัจจุบันนี้มียาสามัญใหม่หลั่งไหลเข้ามาจากต่างประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่ไม่ต้องทดสอบชีวสมมูล มาตรฐานแหล่งผลิตเหล่านั้น เชื่อถือได้หรือไม่ยังเป็นที่คลางแคลงใจ เพราะสำนักงานอาหารและยา หรือ อย. ยอมให้รับขึ้นทะเบียนได้โดยมิได้ไปตรวจโรงงานที่ต่างประเทศ ในขณะที่โรงงานยาในบ้านเรามีการตรวจโดยใช้มาตรฐาน PICs ซึ่งเป็น มาตรฐานสูง มาตรฐานยาที่ต่างกันนี้ทำให้ต้นทุนต่างกันได้มาก ยาที่แพงกว่า ใช่ว่าจะดีเสมอไป คุณสมบัติด้านชีวสมมูล เป็นปัจจัยสำคัญที่ยาสามัญทุกชนิดควรผ่าน การทดสอบชีวสมมูลโดยอาจเปรียบเทียบในคนหรือเปรียบเทียบในห้อง ปฏิบัติการ ข้อมูลชีวสมมูลนี้ อย. บังคับให้มีเฉพาะยาสามัญใหม่ แต่ยาสามัญ ส่วนใหญ่ยังไม่บังคับ ทั้ง ๆ ที่มียาหลายตัวที่เสี่ยงต่อความไม่เท่าเทียมกัน ทางชีวสมมูล เช่น ยา warfarin. Phenytoin, digoxin หากยาไม่มี ชีวสมมูลก็ไม่สามารถใช้ยาสามัญนั้นแทนยาต้นแบบได้ อย่างไรก็ตาม เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้ยาสามัญไม่ว่าจะมีการ ประกันสังคมแบบใด ดังนั้น การเลือกซื้อยาควรใช้มืออาชีพ ได้แต่หวังว่า เราไม่เลือกซื้อยาโดยดูที่ราคาถูกอย่างเดียว เพราะยาที่ดีกว่ามีต้นทุนสูงกว่า ควรเพิ่มราคาให้ตามคุณภาพของที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิตสามารถพัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น เราจะได้มียาดีใช้ในราคาที่ถูกลงต่อไป • วันพุธที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง อาหารปนเปื้อน เนื้อม้า ความโดยสรุปว่า จากข่าวที่ว่าทวีปยุโรปได้ตรวจพบอาหารที่มี ส่วนผสมปนเปื้อนเนื้อม้า เช่น ในเบอร์เกอร์ซึ่งขายอยู่ในห้างสรรพสินค้า รายใหญ่ในอังกฤษ และประเทศไอร์แลนด์ สาเหตุที่ต้องปนเนื้อม้าอาจเนื่อง มาจากเนื้อม้ามีราคาถูกกว่า เบอร์เกอร์ที่สุ่มตรวจในอังกฤษพบการปนเปื้อน เนื้อม้าเพียงเล็กน้อย มีเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นที่มีการปนเปื้อน ถึงร้อยละ ๒๙ โดยห้างดังกล่าวได้ออกมายอมรับและระงับการนำเข้าเนื้อ จากผู้ผลิต ๒ แห่งที่ตั้งอยู่ในอังกฤษและไอร์แลนด์ ถึงแม้ว่าเนื้อม้าที่ปนเปื้อน จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ส่งผลให้ทุกคนตื่นตัวถึงส่วนประกอบ ของอาหารที่ตนเองได้รับในแต่ละวัน นอกจากนี้ ยังพบการปนเปื้อนเนื้อม้า ในสปาเกตตีโบโลเนสแช่แข็ง ลาซานญา ทอร์เทลลินี และพาย ทั้งนี้ มาตรการที่ใช้แก้ปัญหาคือ เก็บสินค้าลงมาจากชั้นจำหน่าย และยุติการนำ เข้าเนื้อจากบริษัทที่ตรวจพบการปนเปื้อนเนื้อม้า รวมถึงเตรียมหามาตรการ เอาผิดกับผู้ที่เป็นต้นเหตุของการปลอมปนสินค้าสำหรับประเทศที่พบการ ปนเปื้อนเนื้อม้า ได้แก่ อังกฤษ ไอร์แลนด์ สวีเดน ฝรั่งเศส โรมาเนีย ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี นอร์เวย์ และเดนมาร์ก ซึ่งมีรายงานว่านอกจากตรวจพบการปนเปื้อน ม้าแล้ว ยังพบยาเฟนิลบิวทาโซน ปริมาณ ๑.๙ มิลลิกรัมต่อเนื้อ ๑ กิโลกรัม ซึ่งเป็นยาต้านการอักเสบที่ใช้กับม้า หากมนุษย์รับประทานในปริมาณ ปริมาณมาก ก่อให้เกิดมะเร็งรวมถึงผลข้างเคียงอื่น ๆ ทั้งนี้ ขนาดปริมาณยา ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์จะต้องบริโภคเบอร์เกอร์ถึง ๖๐๐ ชิ้น ปริมาณยา ที่ตรวจพบจึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคแต่อย่างใด แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาตระหนักถึงแหล่งที่มาของอาหารในแต่ละวันมากยิ่งขึ้น การตรวจอาหารปนเปื้อนเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ สามารถตรวจ DNA จำเพาะ ของสัตว์ชนิดนั้น ๆ ได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว และสามารถวิเคราะห์เชิง ปริมาณได้ด้วย ซึ่งประเทศไทยควรสนับสนุนวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ศึกษา DNA ของสัตว์สายพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตรวจวินิจฉัย หาความจำเพาะของสัตว์ต่าง ๆ โดยเฉพาะในอาหาร ศ. ดร.จงรักษ์ ผลประเสริฐ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง โครงการ ศึกษาเพื่อประเด็นใหม่สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ความโดยสรุปว่า จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศที่ด้อย พัฒนาทางเศรษฐกิจ มลพิษสิ่งแวดล้อมส่วนมากเกิดจากการปล่อยของเสีย จากบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ อากาศ และดิน มีผลเสียต่อสุขภาพคนและสัตว์ ประชากรเกือบครึ่งโลก มีความเป็นอยู่ในระดับยากจน ไม่มีระบบสุขาภิบาลที่เหมาะสม และไม่มี น้ำสะอาดใช้อุปโภคบริโภค ประเด็นใหม่ด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ ปัญหาโลกร้อน การขาดแคลนน้ำมันและปุ๋ยฟอสเฟส น้ำท่วม แผ่นดินไหว คลื่นสึนามิ ก่อความเสียหายต่อแหล่งทรัพยากร เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และ ชีวิต เป็นการคุกคามความยั่งยืนของมนุษยชาติ การแก้ปัญหาเหล่านี้โดยใช้วิธีเดิมอาจไม่ประสบผลและไม่ถึงจุดหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ แนวคิดการศึกษาแบบ สหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary) และการข้ามผ่านสาขาวิชาการ (transdisciplinary) โดยนักวิจัยหลายสาขามาทำการวิจัยร่วมกันในเรื่อง เดียวกัน เป็นการกลั่นเข้าด้วยกันของหลายสาขาวิชาซึ่งจะได้เป็นคำตอบ ที่สมบูรณ์ของงาน กรณีศึกษาที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ได้แก่ โครงการ บัณฑิตศึกษา Asian Program for Incubation of Environmental Leaders (APIEL) และ Graduate Program on Sustainability Science (GPSS) ซึ่งเน้นการเพิ่มทักษะแก้ไขปัญหาและสามารถนำไปใช้ได้จริง โดย เชื่อมโยงการศึกษาระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ก้าวหน้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=