2717_9737
2 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ นายสงวน ลิ่วมโนมนต์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ผู้นำจีนยุคใหม่ (ฯพณฯ สี จิ้น-ผิง) ความโดยสรุปว่า ปัจจุบัน สาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China) มีบทบาทในประชาคมโลกและเป็นที่ ยอมรับโดยทั่วไป มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ ๒ ของโลก เงินสำรองสูง เป็นอันดับ ๑ ของโลก มูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับ ๑ ของโลก เป็นมหาอำนาจในเอเชียและมีนโยบายที่จะเพิ่มบทบาทในเวทีระดับภูมิภาค และระดับโลกมากขึ้นในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการแก้ปัญหา ระหว่างประเทศ และบทบาททางเศรษฐกิจ จีนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยในทุกระดับ เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ระหว่างการเยือนจีนอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี และ นักธุรกิจชั้นนำของไทยจำนวน ๑๑๗ คน จากธุรกิจ ๘ สาขา มีการหยิบยก ประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกิจ การค้า การลงทุนกับจีนขึ้นหารือกับ นายกรัฐมนตรี ด้วยกระทรวงการต่างประเทศให้บทบาทนำกับด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของภาคเอกชนซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ของเศรษฐกิจไทย สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรรู้ จุดแข็ง จีนมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างรวดเร็ว มีพลวัตสูง และเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ (economic powerhouse) ของภูมิภาคและของโลก ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ ๑๐ ต่อปี เป็นประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุดในโลก เนื่องจากมีตลาดที่ใหญ่ มหาศาล มีเงินทุนสำรองมากที่สุดในโลก รัฐบาลจีนมีนโยบายพัฒนา สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้พร้อมรองรับการลงทุนและดำเนินนโยบาย พิเศษเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติมาลงทุนในจีน นอกจากนี้ จีนยังมีค่า แรงงานต่ำและค่าเช่าที่ดินในเขตชนบทที่ค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ทาง ภาคตะวันตก รัฐบาลจีนส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จุดอ่อน จีนยังขาดการพัฒนาในด้านการเงินอยู่มาก จากการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ ๑๘ สมัย ประชุมที่ ๑ ที่ประชุมได้คัดเลือกกรรมการแห่งกรมการเมืองศูนย์กลาง กรรมการสามัญในคณะกรรมการกรมการเมืองศูนย์กลาง และผู้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการใหญ่แห่งคณะกรรมการศูนย์กลาง โดยมีรายชื่อผู้ได้รับการ เลือกตั้งดังนี้ ๑. กรรมการกรมการเมืองศูนย์กลาง สี จิ้น-ผิง มาข่าย หวัง ฉี-ซาน หวัง ฮู่-หนิง หลิว เหยียน-ตง (หญิง) หลิว ฉี-เป่า สวี่ ฉี-เลี่ยง ซุ่น ชุน-หลาน (หญิง) ซุน เจิ้ง-ไฉ หลี่ เค่อ-เฉียง หลี่ เจี้ยน-กั๋ว หลี่ เหยียน-เฉา วางหยาง จาง ชุน-เสียน จาง เกา-ลี่ จาง เต๋อ-เจียง ฟ่าน ฉาง-หลง เมิ่ง เจี้ยน-จู้ จ้าว เล่อ-จี้ หู ชุน-หัว อวี เจิ้ง-เซิง ลี่ จ้าน-เซ กัว จิน-หลง หานเจิ้ง ๒. กรรมการสามัญกรมการเมืองศูนย์กลาง (แกนนำกรมการเมือง) สี จิ้น-ผิง หลี่ เค่อ-เฉียง จาง เต๋อ-เจียง อวี เจิ้ง-เซิง หลิว หวิน-ซาน หวัง ฉี-ซาน จาง เกา-ลี่ ๓. เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (กรม การเมือง) สี จิ้น-ผิง ๔. เลขานุการคณะกรรมการศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน หลิว หวิน-ซาน หลิว ฉี-เป่า จ้าง เล่อ-จี้ ตู้ ชิง-หลิน จ้าว หง-จู้ หยางจิง (ชนชาติมองโกล) ๕. คณะกรรมการการทหารศูนย์กลาง ประธาน รองประธาน และ กรรมการ ประธาน สี จิ้น-ผิง รองประธาน ฟ่าน ฉาง-หลง สวี่ ฉี-เลี่ยง กรรมการ ฉาง ว่าน-ฉวน ฝาง เฟิง-ฮุย จางหยาง จ้าว เค่อ-เสือ จาง โย่ว-เซีย อู๋ เซิง-ลี่ มา เสี่ยว-เทียน เว่ย เฟิ่ง-เหอ ๖. คณะกรรมการสอบวินัยศูนย์กลาง เลขาธิการ รองเลขาธิการ และ กรรมการสามัญ เลขาธิการ หวัง ฉี-ซาน รองเลขาธิการ จ้าว หง-จู้ หวง ซู่-เสียน หลี่ อวี้-ฟู่ ตู้ จิน-ไฉ อู๋ อวี้-เหลียง จางจวิน เฉิน เหวิน-ชิง หวังเหว่ย กรรมการสามัญ (เรียงตามลำดับจำนวนขีดของแซ่) หวังเหว่ย หวัง ฉี-ซาน หลิวปิน เจียง ปี้-ชิน ตู้ จิน-ไฉ อู๋ อวี้-เหลียง ชิว เซีย-เฉียง จางจวิน จาง จี้-หนาน เฉิน เหวิน-ชิง โจว ฝู-ฉวี่ จ้าว หง-จู้ โหวข่าย อวี กุ้ย-หลิง เหยา เจิง-เคอ หวง ซู่-เสียน หวง เสี่ยว-เวย (หญิง) ชุย เซ่า-เผิง จะเห็นได้ว่า นายสี จิ้น-ผิง ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการใหญ่คณะ กรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ศูนย์กลางแห่งประเทศจีน พร้อมทั้งควบ ตำแหน่งประธานคณะกรรมการทหารศูนย์กลาง • วันพุธที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ ดร.ปฐมาภรณ์ บุษปธำรง ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง สวัสดิการ สังคมในภูมิภาคอาเซียน ความโดยสรุปว่า บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ในการศึกษาสวัสดิการสังคมในภูมิภาคอาเซียนโดยอ้างอิงเสาหลัก ด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) ซึ่งครอบคลุมประเทศในอาเซียนรวม ๑๐ ประเทศ เนื้อหา ของบทความนี้แบ่งเป็น ๖ ส่วน คือ ๑. บทนำ ๒. ความหมาย ของ สวัสดิการสังคม ๓. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซียน ๔. การจัดสวัสดิการสังคมในภาคที่เป็นทางการ การจัดสวัสดิการสังคม ในภาคที่ไม่เป็นทางการ และสวัสดิการสังคมในกรอบประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน ส่วนที่ ๕ และ ๖ เป็นบทวิเคราะห์สวัสดิการสังคม ในอาเซียน โดยอ้างอิงถึงแนวคิด ทฤษฎีระบบ (system theory) แนวคิด สิทธิมนุษยชน (rights based approach) แนวคิดสวัสดิการแบบผสม (welfare mix) และบทสรุป สำหรับแนวคิดที่นำมาประยุกต์ใช้ในบทวิเคราะห์อาจนำมาใช้ประโยชน์ ในการศึกษาวิจัย และพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคม ทั้งนี้ ครอบคลุม ประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมในอาเซียน คือ การพัฒนา มนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน และการลด ช่องว่างการพัฒนา นอกจากนี้ บทความนี้อภิปรายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ สวัสดิการสังคม ค่านิยม และลักษณะพื้นฐานบางประการที่ส่งผลต่อการ พัฒนาด้านสวัสดิการสังคม เช่น ค่านิยมด้านครอบครัว (family values) ปัญหาบางประการในปัจจุบัน อาทิ ปัญหาภัยพิบัติ เด็ก สตรี เยาวชน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=