2716_8985

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร ระเบียงคต ศาลาราย มีทั้งความรู้ด้าน อักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เวชศาสตร์ ศาสนา เพื่อให้เป็นแหล่งวิทยาการสำหรับประชาชนศึกษาเรียนรู้ ทั่วหน้ากัน จนกล่าวได้ว่า วัดพระเชตุพนฯ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก ของประเทศไทย องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือ ยูเนสโก มีมติรับรองจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหา- วิหาร (วัดโพธิ์) ให้ขึ้นทะเบียนเป็น เอกสารมรดกความทรงจำแห่ง โลกในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ และต่อมามีมติรับรองให้จารึกวัดโพธิ์ ขึ้นทะเบียนเป็นเอกสาร มรดกความทรงจำแห่งโลกในระดับนานาชาติ เนื่องจากมีคุณสมบัติ และมีความสำคัญตรงตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานของแผนงาน มรดกความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก ดังนี้ ๑. มีความโดดเด่นระดับโลก ๒. ความพิเศษจำเพาะ ๓. ความหายากอย่างยิ่ง ๔. ความเป็นสากล ๕. ความสำคัญด้านเวลา ๖. ความสำคัญด้านสถานที่ วัดโพธิ์ คือ มหาวิทยาลัยและหอ สมุดที่ทันสมัยแห่งแรก ๗. ความสำคัญด้านบุคคล ๘. เนื้อหาและโครงเรื่องมีคุณค่า ๙. มีผลเป็นคุณูปการต่อชุมชน รูปทรงของจารึก มี ๓ แบบ คือ ๑. สี่เหลี่ยมจัตุรัส ๒. สี่เหลี่ยม ผืนผ้า ๓. วงรี รายละเอียดเนื้อหาสาระของจารึก มีปรากฏในหนังสือ จารึก วัดโพธิ์ : มรดกความทรงจำแห่งโลก แบ่งไว้เป็น ๖ หมวด ดังนี้ ๑. หมวดพระพุทธศาสนา ๒. หมวดเวชศาสตร์ ๓. หมวดวรรณคดีและสุภาษิต ๔. หมวดทำเนียบ ๕. หมวดประวัติ ๖. หมวดประเพณี ผศ. ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ความคิดเรื่องนรกในคัมภีร์วิษณุปุราณ ความโดยสรุปว่า คัมภีร์ ปุราณะเป็นคัมภีร์ภาษาสันสกฤตที่มีความสำคัญในศาสนาฮินดูยุค ปัจจุบันมากจนนับถือกันว่าเป็นพระเวทที่ ๕ เหมือนกับคัมภีร์ รามายณะและมหาภารตะ เน้นการนับถือศาสนาฮินดูลัทธิภักติ คัมภีร์ปุราณะมี ๒ ประเภท คือ มหาปุราณะ และ อุปปุราณะ มหาปุราณะมี ๑๘ คัมภีร์ ส่วนอุปปุราณะมีจำนวนมากกว่า ๑๐๐ คัมภีร์ มหาปุราณะ แบ่งเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มไศวนิกายและ กลุ่มไวษณวนิกาย ไศวนิกาย คือ กลุ่มที่นับถือว่าพระศิวะเป็นอีศวระ คือเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด ส่วนกลุ่มไวษณวนิกายนับถือว่าพระวิษณุ เป็นอีศวระ คัมภีร์ปุราณะในรูปที่เห็นในปัจจุบันมีอายุไม่เกินสมัยราชวงศ์ คุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๑) เรื่องนรกในศาสนาฮินดูนอกจากจะมีใน คัมภีร์วิษณุปุราณะแล้วยังมีอยู่ในคัมภีร์มหาภารตะ และคัมภีร์ปุราณะ อื่นๆ อีกหลายคัมภีร์ เรื่องนรก ที่ปรากฏในวิษณุปุราณะ เป็นเรื่องที่ ฤๅษีปราศระเล่าให้ฤๅษีไมเตรยะซึ่งเป็นศิษย์ฟัง ดังต่อไปนี้ ใต้พื้นดินมีบาดาล ๗ ชั้น ได้แก่ อตละ วิตละ นิตละ คภัสติมัต มหาขยะ สุตละ และปาตาละ บาดาลเป็นที่อยู่ของพวกแทตย์ พวก ทานพ พวกยักษ์ และพวกพระยานาค เป็นสถานที่สวยงามน่าอยู่ ยิ่งกว่าสวรรค์ของพระอินทร์ พระยานาคชื่อ เศษะ หรือ อนันตะ ซึ่งเป็น รูปหนึ่งของพระวิษณุใช้เศียรซื่งมีทั้งหมด ๑,๐๐๐ เศียร รองรับ บาดาลไว้ เมื่ออนันตนาคราชหาวจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว เมื่อถึงยุค ประลัยพิษที่เป็นไฟจะพุ่งออกจากปากของอนันตนาคราช เผาโลก ทั้งสามจนหมดสิ้น นรกซึ่งคนทำบาปถูกส่งไปนั้นอยู่ใต้พื้นดินและใต้น้ำอีกต่อหนึ่ง มีจำนวนนับร้อยนับพันตามลักษณะบาปของผู้ประพฤติชั่ว แต่ที่กล่าว ถึงมีเพียง ๒๘ ขุม คือ เรารวะ ศูกระ โรธะ ตาละ วิศสนะ มหา ชวาละ ตัปตกุมภะ ลวณะ วิโมหนะ รุธิรานธะ ไวตรณี กริมีศะ กริมี โภชนะ อสิปัตรวนะ กฤษณะ ลาลภักษะ ทารุณะ ปาปะ วหนิชวาละ อธะศิรัส สันทังศะ กาลสูตระ ตมัส ศวโภชนะ อประติษฐะ อวีจิ และ มหาอวีจิ นรกเหล่านี้อยู่ในอาณาจักรของพระยม คนที่ทำกรรม ชั่วจะตกไปยังขุมนรกตามประเภทของความชั่วที่ทำ เช่น คนที่เป็น พยานเท็จหรือกล่าวสิ่งที่เป็นเท็จ ก็จะตกนรกชื่อ เรารวะ คนทำแท้ง คนปล้นเมือง คนฆ่าโค คนที่บีบคอผู้อื่นจนตาย จะตกนรกชื่อว่า โรธะ คนดื่มสุรา คนฆ่าพราหมณ์ คนลักทอง และคนที่คบค้าสมาคมกับคน เหล่านี้จะตกนรกชื่อว่า ศูกระ เป็นต้น ผู้ที่ตกนรกจะมีหัวห้อยลงและจะเห็นเทวดาในสวรรค์ ส่วนเทวดา ก็จะเห็นผู้ที่ตกนรกข้างล่างที่ห้อยหัวลงเหล่านั้นทั้งหมด เหตุที่พวก ตกนรกต้องเห็นเทวดาก็เพื่อทำให้พวกเขารู้สึกเป็นทุกข์มากขึ้น ส่วน เทวดาที่ต้องเห็นสัตว์นรกก็เพื่อเตือนว่า การเป็นเทวดานั้นก็ใช่ว่าจะ เป็นอยู่อย่างนั้นตลอดไป จะได้ตั้งอยู่ในไม่ความประมาท สิ่งที่มีอยู่ในโลกไม่ว่าจะเป็นสิ่งไม่มีชีวิตหรือมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็น เทวดาหรือมนุษย์จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุดจนกว่าจะ ได้บรรลุโมกษะ การที่จะบรรลุโมกษะได้จะต้องทำลายบาปให้หมดสิ้น ไป การจะทำลายบาปทำได้ด้วยการทำตบะตามที่กำหนดไว้ในคัมภีร์ แต่ที่เหนือกว่าการทำตบะก็คือ การระลึกถึงพระวิษณุด้วยการทำ ความเคารพแบบมอบกายถวายตนและท่องพระนามของพระองค์ เนือง ๆ ซึ่งเป็นการนับถือศาสนาในลัทธิภักติ การปฏิบัติตามหลักของ ลัทธิภักติก็สามารถบรรลุโมกษะได้ไม่ต้องไปตกนรก การไปสวรรค์ก็ ไม่มีความหมายสำหรับคนที่บรรลุโมกษะแล้ว ผู้ที่บรรลุโมกษะจะรู้ ความจริงว่า โลกทั้งหมดก็คือตัวความรู้บริสุทธิ์ ซึ่งในภาษาสันสกฤต เรียกว่า พรหม การที่จะมีความรู้ที่แท้จริงหรือวิทยาได้จะต้องขจัด ความไม่รู้จริงซึ่งเรียกว่า อวิทยา ออกไป • วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ.ไสว มงคลเกษม ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง การใช้สี ภายนอกของอาคาร ความโดยสรุปว่า การทาสีภายนอกในงาน สถาปัตยกรรมมีความสำคัญเท่ากับการออกแบบอาคาร ผนังอาคาร ที่จะลงมือทำให้สวยงามจะต้องคัดเลือกวัสดุก่อสร้างนั้น ๆ อย่าง ละเอียดเพื่อป้องกันมิให้เกิดการเสียหายภายหลัง ผนังภายนอกมีวัสดุให้เลือกใช้ได้หลายชนิด เช่น ผนังหุ้มด้วยสี ธรรมชาติ ผนังหุ้มด้วยหินอ่อน ผนังกรุด้วยหินอ่อนที่ตัดเป็นแผ่น ๆ มีขนาดเท่า ๆ กัน ผนังกรุด้วยอิฐหรือแผ่นคอนกรีตเห็นรอยต่อ ผนัง กรุด้วยอิฐซีเมนต์ ผนังกรุด้วยหินแม่น้ำชนิดเกลี้ยง แล้วทาสีหรือพ่นสี ผนังกรุด้วยกระเบื้องเซรามิก ผนังกรุด้วยกระจก ผนังกรุด้วยแผ่น ซีเมนต์ผสมใยหิน ผนังกรุด้วยไม้ ผนังกรุด้วยโลหะ อาคารที่กรุด้วยวัสดุต่าง ๆ ดังกล่าว เช่น บ้านพักอาศัยหลังเดี่ยว หรือ บ้านหลังเดี่ยวที่อยู่ในโซนที่พักอาศัย อาคารหอพัก หรือกลุ่ม อาคารที่เป็นหอพัก อาคารที่เป็นห้องพักอาศัยมีหลายห้อง กลุ่ม อาคารที่พักอาศัยมีหลายห้อง ห้องพักนักศึกษาที่ไปเล่นสกีในฤดู หนาว โรงเรียนอนุบาล ประถม มัธยม และอาชีวะชั้นสูง โบสถ์ใน คริสต์ศาสนา อาคารภัตตาคารและร้านกาแฟ สำนักงาน ผู้บรรยายได้เสนอตัวอย่างภาพอาคารที่ภายนอกอาคารทาสีต่าง ๆ ให้เหมาะกับวัสดุภายนอกและโครงสร้างของอาคารดังต่อไปนี้ หอพักสำหรับผู้มาเล่นสกีในฤดูหนาวที่เมือง Cortina d’ Ampezzo ประเทศอิตาลี โครงสร้างทั่วไปเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนผนังห้องโถงใหญ่ปลายอาคารกรุด้วยหินผิวเกลี้ยง แล้วพ่นสีให้ดู สดใส ที่พักสำหรับนักเรียนชั้นประถม ที่โรงเรียนพาไปเล่นสกีเป็นกลุ่ม ในฤดูหนาว สร้างที่ตำบล Corte di Cadore เมือง Cortina d’Ampezzo ประเทศอิตาลีตอนเหนือ อาคารทาสีเป็น ๒ สี ผนัง จากพื้นถึงขอบหน้าต่างใช้สีแดงแสดตัดกับสีของหินก่อสีขาว

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=