2716_8985
5 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๐ เดือนมกราคม ๒๕๕๖ ประเทศไทยได้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายหลังจากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับจากเสด็จ ประพาสยุโรปครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ และทรงนำกลับมาด้วย) เครื่องแก้วเจียระไนที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ซึ่งผู้บรรยายได้นำ เสนอมีดังนี้ ๑. ชุดสรงพระพักตร์ แก้วสีฟ้า มีพระบรมฉายาลักษณ์ มีอ่าง เหยือก ชามเล็ก และกล่องแก้ว ๒. ถาดแก้วและถ้วย มีตรามหาสมณะเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ วโรรส ๓. แก้วน้ำสลักลายเป็นตัวอักษร C ภายใต้พระมหามงกุฎ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔. ถาดแก้วสลักลาย ๑๒ ราศี ๕. ขวดแก้วเขียนทองรูปครุฑ ๖. ชุดสรงพระพักตร์แก้วเจียระไน มีตราพระจุลมงกุฎ ซึ่งเป็น ตราประจำพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า มหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก ๗. ชุดเครื่องพระสำอางแก้วเจียระไน ฝาเป็นเงินลงยา มีพระนามย่อ ว.อ. ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลย อลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ๘. จานแก้วเจียระไนเหลี่ยมเพชร มีฐานเป็นรูปเด็กชูมือขึ้น รองรับ ๙. ขวดแก้วเจียระไน ทาทอง ๑๐. แจกันแก้วปากบานเคลือบสี ศิลปะยุค ART NOUVEAU ๑๑. ขวดแก้วเคลือบสีเขียวมีลายใบไม้ทอง ศิลปะยุค ART NOUVEAU ๑๒. แจกันแก้วเคลือบสีตกแต่งด้วยเส้นเงินศิลปะยุค ART NOUVEAU ๑๓. แจกันแก้วสีเขียวหุ้มเงิน ศิลปะยุค ART NOUVEAU • วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ. ดร.จินตนา ดำรงค์เลิศ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง โลกทัศน์และคำสอนของ ลา ร็อชฟูโก ความโดยสรุปว่า ลา ร็อชฟูโก ประสูติที่กรุงปารีสเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๖๑๓ ในตระกูลขุนนาง เก่าแก่ที่สุดตระกูลหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส เป็นเจ้าชายแห่งมาร์ซี ยัก (Marcillac) จนกระทั่ง ค.ศ. ๑๖๕๐ จึงได้ทรงเป็นดุ๊กฟร็อง ซัว เดอ ลา ร็อชฟูโก (Duc Franç ois de la Rochefoucauld) เมื่อ พระบิดาทรงสิ้นพระชนม์ นับตั้งแต่ ค.ศ. ๑๖๕๘ เมื่อพระชันษา ๔๕ ปี ลา ร็อชฟูโก สนพระทัยวรรณกรรมประเภทคติพจน์ สาเหตุประการหนึ่งอาจมา จากการที่ได้ทรงนึกทบทวนและสรุปบทเรียนจากชีวิตในอดีต หนังสือคติพจน์ของลา ร็อชฟูโก มีชื่อว่า Ré flexions ou Sentences et maximes morales มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า Maximes ได้รับการตีพิมพ์ในขณะที่พระองค์ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ถึง ๕ ครั้ง ด้วยกัน ทัศนคติที่เป็นหัวใจของหนังสือ Maximes ได้แก่ การพิจารณาว่า มนุษย์ทุกผู้ทุกนามล้วนมีพื้นฐานจิตใจที่เห็นแก่ตัว นึกถึงแต่ตนเอง เท่านั้น ลา ร็อชฟูโก ทรงเขียนบรรยายว่า “ความเห็นแก่ตัวนี้ได้เบียด บังคุณธรรมความดีงามของมนุษย์จนเหือดหายไปสิ้น ประดุจสายน้ำ ที่ถูกกลืนไปในมหาสมุทร” ส่วน “ความชั่วนั้นได้ซึบซามแฝงอยู่ใน ความดี ดุจดังยาพิษอันเป็นส่วนผสมของยารักษาโรค” นั่นเอง สมมุติฐานเกี่ยวกับความดีและความชั่วดังกล่าวนี้ ปรากฏชัดอยู่ใน ทุกบททุกตอนของหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นบทที่ว่าด้วยความรัก มิตรภาพ ความโอบอ้อมอารี ความสงสาร หรือความมีเมตตาจิตของมนุษย์ ลา ร็อชฟูโก ทรงเป็นนักเขียนที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของฝรั่งเศส ทรง มีความสามารถดีเยี่ยมในการเขียนคติพจน์ โดยทรงเลือกใช้ศัพท์ สำนวนที่บ่งบอกถึงสติปัญญาอันฉลาดเฉลียวและแหลมคม จุดเด่น ในลีลาการเขียนของพระองค์อยู่ที่โครงสร้างประโยคที่สมดุล การ เปรียบเทียบ การใช้ภาพพจน์ การใช้คำที่แสดงคุณลักษณะตรงกัน ข้าม ทรงมีความสามารถในการแจกแจงแง่มุมอันหลากหลายของ ความคิดในแต่ละเรื่อง ประดุจช่างผู้เจียระไนแต่ละเหลี่ยมแต่ละด้าน ของอัญมณีอย่างพิถีพิถัน ศ.ผุสดี ทิพทัส ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง แนวคิดเรื่องความ หมายและการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวในงานสถาปัตยกรรม ความโดยสรุปว่า เมื่อสถาปนิกออกแบบเนื้อที่ใช้สอยอาคาร และ กำหนดตำแหน่งอาคารลงในที่ดิน มีเกณฑ์ที่เป็นกรอบกำหนดให้เป็น แนวทางไว้ เช่น ขนาดพื้นที่ ตำแหน่งที่ตั้งเส้นทางการติดต่อระหว่างกัน ความต้องการเฉพาะในแต่ละเนื้อที่ และทิศทางที่เหมาะสม ส่วนรูปแบบ อาคาร สถาปนิกค่อนข้างมีเสรีในการสร้างสรรค์รูปแบบที่เหมาะสม โดยเกี่ยวข้องกับโครงสร้าง วัสดุก่อสร้าง และลักษณะเนื้อที่ที่ต้อง สัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดรูปทรงและการจัดองค์ประกอบของอาคารที่มี คุณค่าทางด้านความงามในแต่ละยุคสมัย ทัศนคติและความคิดเห็นของสถาปนิกต่อรูปแบบของอาคาร และการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละยุคสมัยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสถาปัตยกรรมตะวันตกและแนวโน้มของ ความนิยมในยุคสมัยนั้น ๆ ช่วงเวลาของเวลาของแนวคิดในงานสถาปัตยกรรม แบ่งออก เป็น ๕ ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๙) และช่วงที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๙๐- ๒๕๐๐) แนวคิดของสถาปนิกในการออกแบบอาคารบางประเภท เช่น อาคารทางศาสนา อาคารสำคัญของราชการ คำนึงถึงการใช้รูปแบบ อาคารที่มีเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทยประเพณี รวมทั้งมีการ ประยุกต์รูปแบบไทยประเพณีให้สอดคล้องกับวัสดุก่อสร้างที่มีการใช้ คอนกรีตแทนเครื่องไม้มากขึ้น ช่วงที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๑๖) แนวความคิดที่ชัดเจนในเรื่องของ การสร้างรูปแบบอาคารที่มีความหมายสื่อถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้อง กับอาคาร ช่วงที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๒๕) แนวความคิดในการออกแบบที่ เน้นรูปแบบอาคารที่แสดงลักษณะเฉพาะตัวและแสดงสัญลักษณ์ที่ เกี่ยวข้องกับประเภทของอาคารหรือเจ้าของโครงการสถานที่ตั้ง โครงการตลอดจนจากจินตนาการของสถาปนิก ช่วงที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๓๗) แนวคิดในการออกแบบอาคาร ให้มีรูปแบบที่เป็นการจำลองลักษณะของพาหนะ ผลไม้ รูปเหลี่ยม เพชร รูปโคมไฟอยู่บนตัวอาคาร เครื่องเล่นเด็ก ซึ่งถ่ายทอด ความหมายในเชิงนามธรรมด้วย • วันอังคารที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง มรดกความทรงจำแห่งโลก : จารึกวัดโพธิ์ ความโดยสรุปว่า วัด พระเชตุพนวิมลมังคลารามวรมหาวิหาร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วัดโพธิ์ เดิมชื่อ วัดโพธาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๔ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราชสถาปนากรุงเทพมหานครและพระบรมราชจักรีวงศ์ ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ พระราชทานนามว่า วัดพระเชตุพนวิมล มังคลาวาส เป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาล และต่อมาใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงสร้อยนาม เป็นวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้เขียน เรื่องชาดกห้าร้อยชาติที่พระระเบียงชั้นนอกและชั้นใน และมีพระ ราชดำริให้จารึกเรื่อง ทรงสร้างวัดพระเชตุพนฯ ปัจจุบันอยู่ที่ผนัง พระวิหารทิศพระพุทธโลกนาถ นับได้ว่าเป็นจารึกเก่าแก่ที่สุดของวัด โพธิ์ มีอายุกว่า ๒๐๐ ปี โปรดให้จารึกตำรายาไทย ปั้นรูปฤๅษีดัดตน แสดงไว้ที่ศาลารายด้วย ต่อมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้บูรณ- ปฏิสังขรณ์ วัดพระเชตุพนฯ เป็นการใหญ่ นับแต่ พ.ศ. ๒๓๗๕ โปรดเกล้าให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันตรวจสอบชำระตำรา วิทยาการด้านต่าง ๆ คัดเลือกฉบับที่ดีและถูกต้อง รวมทั้งโปรดให้ แต่งขึ้นใหม่ จารึกลงแผ่นศิลา ประดับไว้ตามอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=