2716_8985

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน MTBE ซึ่งช่วยเพิ่มเลขออกเทนในน้ำมันเบนซิน สาร MTBE เป็น สารก่อมะเร็งและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ประเทศไทยมี แกโซฮอลหลายประเภท เช่น E10 E10-แกโซฮอล 95 E20 E85 เมื่อ ผสมเอทานอลร้อยละ ๒๐ เรียกว่า E20 จะมีเลขออกเทนประมาณ 95 เอทานอลในสัดส่วนนี้จะทำหน้าที่ ๒ ประการ คือ เพิ่มเลข ออกเทนและเป็นสารให้พลังงาน หากผสมมากกว่านี้เอทานอลส่วนเกิน จะทำหน้าที่เป็นสารให้พลังงานเป็นหลัก วัตถุดิบหลักที่ใช้ผลิตเอทานอล ในประเทศได้แก่ กากน้ำตาลและมันสำปะหลัง จากการศึกษาโดย สถาบันอุดมศึกษาในประเทศสรุปได้ว่า มีวัตถุดิบเพียงพอสำหรับการ ผลิตเอทานอล (๙ ล้านลิตรต่อวัน) เพื่อตอบสนองต่อแผนพัฒนาพลัง งานทดแทนฯ ซึ่งสอดคล้องกับแกโซฮอล E20 และ E25 การผลิต เอทานอลจากวัตถุดิบจำพวกอาหาร เช่น กากน้ำตาล มันสำปะหลัง อาจสร้างปัญหาทางด้านจริยธรรม เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุหลักที่ ทำให้อาหารขาดแคลน มีราคาสูง มีการแก่งแย่งน้ำเพื่อการ เพาะปลูก มีข้อสังเกตจากการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและ ต่างประเทศว่า เอทานอลที่ผลิตจากวัตถุดิบจำพวกแป้ง เช่น มัน สำปะหลัง ข้าวโพด สามารถลดการปล่อยแก๊ส CO 2 ได้เพียง ประมาณร้อยละ ๒๐-๓๐ ดังนั้น จึงควรพัฒนาและส่งเสริมการผลิต เอทานอลจากวัตถุดิบจำพวกเซลลูโลส ซึ่งจะขจัดปัญหาดังกล่าว วัตถุดิบที่ใช้ผลิตไบโอดีเซลในประเทศมาจากน้ำมันปาล์มดิบ เป็นหลัก จากการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาในประเทศคาดว่า จะมี น้ำมันปาล์มดิบไม่เพียงพอต่อการสนองตอบแผนพัฒนาพลังงาน ทดแทนฯ นอกเสียจากว่าจะต้องเพิ่มผลผลิตต่อไร่และเพิ่มพื้นที่เพาะ ปลูก ซึ่งไม่สามารถทำได้ง่ายเนื่องจากปาล์มเป็นพืชที่ใช้น้ำมาก สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่บางแห่งเท่านั้น ดังนั้น การพัฒนาวัตถุดิบ สำหรับการผลิตไบโอดีเซลจึงเป็นสิ่งจำเป็น เช่น น้ำมันจากสบู่ดำ น้ำมันจากสาหร่าย จากการศึกษาโดยสถาบันวิจัยของบริษัทน้ำมัน ในประเทศ พบว่าไบโอดีเซลจากสบู่ดำยังมีต้นทุนสูงอยู่ เนื่องจาก ผลผลิตต่อไร่ยังต่ำอยู่มาก หากจะต้องเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้อย่าง รวดเร็ว ต้องอาศัยเทคนิค GM ซึ่งยังเป็นอุปสรรคด้านข้อกฎหมาย ส่วนไบโอดีเซลจากสาหร่ายยังมีต้นทุนสูงเช่นกัน โดยสรุปการบรรลุ เป้าหมายทั้งไบโอดีเซลจากปาล์ม (๕.๙๗ ล้านลิตรต่อวัน) และ เชื้อเพลิงใหม่ทดแทนดีเซล (๒๕ ล้านลิตรต่อวัน) ตามแผนพัฒนา พลังงานทดแทนฯ คงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคขนส่งทางอากาศมีสัดส่วนสูงพอ สมควร เขตเศรษฐกิจหลายแห่ง เช่น สหภาพยุโรป ได้เริ่มจัดเก็บ ภาษีคาร์บอนสำหรับภาคขนส่งทางอากาศ ดังนั้น ประเทศไทยควร เริ่มศึกษาการพัฒนาเชื้อเพลิงไบโอเคโรซีนเพื่อใช้ในเครื่องบิน โดยเริ่มจากการประเมินเทคโนโลยีและตามด้วยการสนับสนุนส่งเสริม ให้มีการวิจัยและพัฒนาในด้านนี้ มาตรการอีกทางหนึ่งที่สามารถตอบสนองต่อแผนพัฒนา พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกร้อยละ ๒๕ ใน ๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๖๔) และแผนพัฒนาประสิทธิภาพพลังงาน ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๗๓) ของประเทศ คือ มาตรการทางภาษีสำหรับรถยนต์ ประเทศไทยจัดเก็บภาษีรถยนต์ตามความจุของกระบอกสูบ ซึ่งไม่ ถูกต้อง เมื่อเทียบกับการจัดเก็บภาษีรถยนต์ตามความสิ้นเปลือง เชื้อเพลิงจำเพาะและการปล่อยแก๊สเรือนกระจกและมลพิษจำเพาะ (CO 2 , CO, NO X , SO X ) เครื่องยนต์ดีเชลในปัจจุบันมีประสิทธิภาพ สูงกว่าเครื่องยนต์เบนซินมาก แต่มีราคาสูงกว่า หากจัดเก็บตามกรณี หลัง จะทำให้มีราคาต่ำลง เมื่อมีรถยนต์ดีเซลมากขึ้นจะช่วยลด การใช้เชื้อเพลิงในยานยนต์และลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกลง ได้มาก เทคโนโลยียานยนต์กำลังก้าวสู่รถไฟฟ้าในอนาคต ๒๐ ปีข้าง หน้า รถไฟฟ้ามีข้อดีในเรื่องของประสิทธิภาพสูง ลดการปล่อยแก๊ส เรือนกระจกและมลพิษ ดังนั้น รัฐบาลควรมีมาตรการสนับสนุนการ ผลิตรถไฟฟ้าอย่างจริงจัง • วันพุธที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง การทำ บริสุทธิ์กลีเซอรอลดิบที่เกิดจากโรงงานผลิตเมทิลเอสเทอร์จาก น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ความโดยสรุปว่า การทำบริสุทธิ์กลีเซอรอลดิบ ที่เกิดขึ้นในโรงงานผลิตไบโอดีเซลโดยใช้น้ำพืชใช้แล้วเป็นวัตถุดิบ ได้ใช้กระบวนการทางเคมีผสมกับกระบวนการทางกายภาพ ขั้นแรก ทำการปรับสารละลายกลีเซอรีนดิบด้วยกรดกำมะถันหรือกรด ฟอสฟอริกความเข้มข้น ๑.๑๙ โมลาร์ จนมีค่าความเป็นกรดด่าง อยู่ระหว่าง ๑.๐ ถึง ๖.๐ ตั้งทิ้งไว้สารละลายจะแยกออกเป็น ๓ ชั้น ขั้นที่สองมาทำการแยกชั้นกลางเป็นชั้นที่มีกลีเซอรอลมากที่สุดแล้ว นำมาปรับให้เป็นกลางด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น ๑๒.๕ โมลาร์ ขั้นสุดท้าย ทำการสกัดแยกกลีเซอรอลด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ จากผลการทดลอง พบว่าถ้าใช้กรดมากก็สามารถสกัดแยกกลีเซอรอลได้มาก มีสาร อนินทรีย์ที่มิใช่กลีเซอรอลหลืออยู่น้อยและไม่เหลือกรดไขมันอิสระ อยู่เลย โดยเฉพาะถ้าปรับความเป็นกรดด่างที่ ๑.๐ จะได้กลีเซอรอล บริสุทธิ์ถึงร้อยละ ๙๓.๓๔ สำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ.โชษิตา มณีใส ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง โคลงสุภาษิต พระร่วง พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ความโดยสรุปว่า สุภาษิตพระร่วงคำโคลง พระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นวรรณกรรมเรื่องล่าสุดที่ แต่งขยายสุภาษิตพระร่วง ซึ่งนับว่าเป็นการนำสุภาษิตที่มีชีวิตยืนยง เรื่องนี้มา “พินิจความหมาย” ใหม่อีกครั้งในยุคสมัยใหม่ โดยความหมาย ที่ปรากฏในตัวบทใหม่หลายแห่งยังคงเหมือนที่เคยมีมา แต่หลายแห่ง ปรากฏความหมายใหม่ซึ่งสอดคล้องกับบริบททางสังคมและกรอบ แนวคิดใหม่ การนำเสนอใหม่ในฐานะหนังสือที่ระลึกถึงความร่วม แรงร่วมใจของชนในชาติในการจัดซื้อเรือรบหลวงพระร่วง และการ พินิจความหมายใหม่ ทำให้อาจพิจารณาได้ว่า สุภาษิตพระร่วงคำ โคลง มีบทบาทในฐานะเครื่องมือปลูกฝังอุดมการณ์ชาตินิยม ซึ่งไม่ เพียงแต่จะชี้แนะ อบรม กำหนดแนวทางความคิดความประพฤติใน การดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลให้ผาสุก อันจะนำพาบ้านเมืองให้ เจริญก้าวหน้า (โดยมุ่งที่ข้าราชการ บุคคลที่มีบทบาทในสังคม และ เน้นเรื่องความจงรักภักดีต่อผู้นำในชาติ ซึ่งได้แก่ พระมหากษัตริย์) หากยังมุ่งให้ตระหนักถึงการดำรงความเป็นชาติ มีความมั่นคง ซึ่ง ต้องอาศัยความรักชาติ ความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจเป็นน้ำหนึ่งใจ เดียวกัน และความยึดมั่นในสุจริตธรรม โดยเชื่อมโยงความทรงจำใน ประวัติศาสตร์กับเหตุการณ์ปัจจุบัน ณ เวลานั้นที่มีลักษณะบาง ประการคล้ายกัน คือปรากฏการณ์ของความร่วมแรงร่วมใจของชน ในชาติ ส่วนศิลปะด้านฉันทลักษณ์ นอกจากจะเป็นเครื่องประดับ ความงามให้แก่พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ในกรอบความคิดเรื่องชาตินิยมแล้ว ยังอาจพิจารณาได้ว่าเป็นเครื่องเตือนใจให้ตระหนักถึงคุณค่า ภูมิปัญญาไทยและอัตลักษณ์ความเป็นไทยอีกด้วย ผศ. ดร.มาโนช กงกะนันทน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง พิพิธภัณฑ์ : พระที่นั่งวิมานเมฆ ความโดยสรุปว่า พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็น ปีที่ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซ่อมรักษาพระที่นั่งวิมานเมฆ อาคารแบบ วิกตอเรีย เพื่อจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ทำพิธีบำเพ็ญพระ ราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแด่พระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งนี้อยู่ใน ความดูแลของสำนักพระราชวังและเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ตั้งแต่ เวลา ๙.๓๐ น. จนถึงเวลา ๑๖.๓๐ น. ชั้น ๓ ของพิพิธภัณฑ์ : พระที่นั่งวิมานเมฆ ใช้เป็นที่จัดแสดง เครื่องแก้วเจียระไน เช่น ขวดแก้ว ถาดแก้ว แก้วน้ำ ชุดสรงพระ พักตร์ แจกันแก้ว (ความนิยมสะสมหรือเก็บรักษาเครื่องแก้วใน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=