2716_8985
3 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๐ เดือนมกราคม ๒๕๕๖ สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • เมื่อวันพุธที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ผศ. ร.ท. ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง กาลเวลา นักฆ่าผู้ยิ่งใหญ่ ความโดยสรุปว่า กาล มีคำคู่ คือ เวลา เป็นคำภาษาสันสกฤตทั้ง ๒ คำ เวลา แปลว่า เขตแดน ส่วน กาล มี ความหมายว่า (๑) สิ้นไป หมายถึง ทำอายุของสัตว์ให้สิ้นไป (๒) ทำให้เหลือน้อยลงไป หมายถึง ทำอายุสัตว์ให้เหลือน้อยลงทุกวัน ความหมายทั้งสองนี้สอดคล้องกับพระพุทธพจน์ว่า กาโล มสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา โย จ กาลมโส ภูโต ส ภูตปจนึ ปจิ แปลว่า กาล ย่อมกินสรรพสัตว์ พร้อมทั้งตัวเอง และสัตว์ใดกินกาลได้ กาลนั้น ชื่อว่า เผาตัณหาที่เผาสัตว์ได้ (๓) ช่วงเวลาเช้า สาย บ่าย เย็น หรือ ช่วงเวลากลางวันและกลางคืน ความหมายนี้ หมายถึง ช่วงเวลาที่ เกิดมีจากการที่โลกมีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งพระพุทธเจ้า ตรัสสอนพระสาวกว่า ให้พิจารณาเนือง ๆ ว่า วันคืนล่วงไป บัดนี้ เราทำอะไรอยู่ เมื่อโลกมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ มากำหนดให้มีกลางวัน กลางคืน สรรพสัตว์หรือสรรพสิ่งในโลกจึงไม่พ้นจากเกิด แก่ ตายไปได้ เพราะเกิด แก่ ตาย เป็นลักษณะของสังขตธรรมที่อยู่ในบริบท ของโลก แต่สิ่งที่ไม่อยู่ในอำนาจของกาละมีอยู่อย่างเดียว คือ นิพพาน ดังนั้น นิพพานจึงไม่ลักษณะเกิด แก่ ตาย ของสังขตธรรม ปรากฏ มีแต่สภาวะที่ดับสนิท พระพุทธเจ้าจึงตรัสอธิบายสภาวะของ นิพพานแบบสั้น ๆ ว่า ไม่ใช่สถานที่ ไม่มีขนาด ไม่มีรูปร่าง ไม่มีคำพูด จะบรรยายสภาวะของนิพพานได้ และพระสารีบุตรก็กล่าวถึงนิพพาน ว่า คือ สิ้นราคะ สิ้นโทสะ และสิ้นโมหะ • วันพุธที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.จิรโชค วีระสย ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ว่าด้วย ความเป็นผู้นำ ความโดยสรุปว่า ภาวะผู้นำ หรือ ความเป็นผู้นำ (leadership) ได้รับความสนใจมาเป็นเวลาช้านาน และมีการให้คำ จำกัดความต่าง ๆ กัน กล่าวอย่างกว้าง ๆ มีแนวคิด ๒ แนวด้วยกัน คือ แนวแรก เป็นแนวหรือสำนักที่เน้นในเรื่องลักษณะของผู้นำ (traits school) คำว่า traits อาจแปลว่า “ลักษณาการ” หรือ ลักษณะและคุณสมบัติที่เป็นรูปธรรม แนวที่ ๒ เป็นแนวหรือสำนักที่ เน้นสถานการณ์แห่งความเป็นผู้นำ (situational school or approach) คำว่า school ณ ที่นี้แปลว่า สำนักหรือแนวคิด approach คือแนวทางเข้าถึงความเข้าใจสภาพแห่งการเป็นผู้นำ นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาภาวะผู้นำในมุมมอง (perspective) ต่าง ๆ กันอีกมาก เช่น เน้นกระบวนการ (process leadership) มีข้อแตก ต่างระหว่างผู้มีตำแหน่งเป็นหัวหน้า (headship) กับความเป็นผู้นำ ที่แท้จริงหรือผู้นำ “ตัวจริง” กรณีผู้ที่มีตำแหน่ง “หัวหน้า” (boss) สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความเป็น ผู้นำมี ๓ ประการ ได้แก่ ๑) โครงสร้างแห่งความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลในกลุ่ม ๒) สภาพวัฒนธรรมของสังคม และ ๓) ประเภทของ งานหรือภารกิจ โครงสร้างแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในกลุ่ม หรือชุมชนอาจเป็นในรูปต่าง ๆ กัน คือ การนับถือผู้มีความรู้ในกลุ่ม การนับถือผู้สามารถเจรจาต่อรอง การยกย่องผู้บงการสั่งการ อย่างเฉียบขาด การนับถือผู้เล่นเป็นทีม สภาพของวัฒนธรรมใน สังคมโดยทั่วไป การเป็นผู้นำของแต่ละชาติมักสะท้อนภาพของ อุปนิสัยของคนในชาตินั้น ๆ ลักษณะของงานหรือภารกิจที่จะต้อง ทำให้ลุล่วงไป หากเป็นงานวิชาการอาจต้องการผู้นำที่มีปริญญาสูง หรือมีความสามารถในการแต่งตำราและค้นคว้าวิจัย หากเป็นงานที่ เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาจต้องการผู้นำที่สามารถให้คำปรึกษา ในเรื่องการก่อสร้างได้ดี ในช่วงเริ่มแรกหรือระยะเวลาแห่งการบุกเบิก อาจต้องการผู้นำ ผู้ที่กล้าเสี่ยง หรือผู้ที่ชอบใช้อำนาจเผด็จการ แต่เมื่อช่วงเวลาแห่ง การบุกเบิกผ่านไปแล้ว อาจต้องการผู้ที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และ บริหารงานโดยไม่รีบร้อนนัก การมีผู้นำระดับรองและแรงศรัทธา จะเห็นได้ว่าผู้นำมีความ สำคัญยิ่ง แต่การทำอะไรได้ผลนั้นต้องอาศัยผู้นำระดับรองลงมา และ การสนับสนุนของมหาชน โดยปรกติมักเข้าใจกันว่าเมื่อเป็นผู้นำแล้ว ย่อมมีอำนาจทำได้แทบทุกอย่าง แต่ความเป็นจริง แม้มีอำนาจมาก เพียงใดแต่ก็ไม่อาจประกาศิตให้ผู้ไม่มีความสามารถมีความสามารถ ขึ้นมาได้ทันทีทันใด การที่ผู้นำจะยิ่งใหญ่และสร้างประเทศชาติให้ ยิ่งใหญ่ได้นั้นต้องคำนึงถึงประชาชนทั่วไป คุณธรรมแห่งผู้นำที่ดีคือ ต้องถือว่าเป็นหน้าที่หรือข้อผูกพันที่มีเกียรติ ผู้นำมีหลายประเภท ประเภทแรก ผู้นำโดยตำแหน่งหรือผู้นำ อย่างเป็นทางการ เช่น ผู้นำทางการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง ข้าราชการ ระดับผู้บริหาร ฯลฯ ประเภทที่ ๒ ผู้นำโดยชื่อเสียงหรือโดยการ ยกย่อง สามารถระบุตัวได้โดยใช้วิธีสอบถามว่าใครเป็นผู้มีอิทธิพลใน ชุมชนใดชุมชนหนึ่ง อาจเจาะจงเฉพาะบุคคลบางคนที่คาดว่าทราบ เรื่องความเป็นไปของท้องถิ่นหรือชุมชนดี หรือถามจากบุคคลจำนวน มากโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง ประเภทที่ ๓ ผู้นำโดยบทบาทในสังคม เช่น ผู้มีบทบาทในฐานะผู้จัดการการหาเสียงเลือกตั้ง ผู้เป็นที่ปรึกษา ในกิจกรรม ผู้สนใจช่วยดำเนินงานของหมู่คณะ หรือเป็นผู้มีบทบาท ในองค์การชุมชน ผู้นำในรัฐบาลและชุมชนมักถูกปกครองโดยบุคคลที่มาจากชนชั้น ระดับนำ หรือคนที่เข้ามาสู่ระดับนำ แต่ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม หรือไม่สมควร โดยถือว่าการปกครองโดยบุคคลระดับนำ (elite rule) คือ การปกครองโดยตัวแทนของผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง โดย เฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม มีผู้คัดค้านแนวคิดดังกล่าว เพราะบางเรื่องอาจจะไม่มีการนำเข้ามาสู่ประเด็น คือ มีการปิดบัง หรือกดดันให้อยู่เบื้องหลัง สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ ราชบัณฑิต และ ศ. ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ประเด็นเชิงนโยบายและ แผนในการพัฒนาพลังงานทดแทน ตอนที่ ๒ ภาคการขนส่ง ความโดยสรุปว่า ประเทศไทยมีปัญหาด้านการพัฒนาพลังงาน เช่น ขาดความมั่นคงทางด้านพลังงาน มีการปล่อยแก๊สเรือนกระจกสูง สูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าเชื้อเพลิง ในปีหนึ่ง ๆ ประเทศไทยนำเข้ากว่า ๑.๒ ล้านล้านบาท หักการส่งออกแล้ว มีการนำเข้าสุทธิประมาณ ๐.๙ ล้านล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ GDP ซึ่งมีค่าประมาณ ๑๐ ล้านล้านบาท ถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้าง สูง ประเทศไทยมีการใช้เชื้อเพลิงเพื่อการขนส่งมากกว่า ๑/๓ ของ การใช้พลังงานรวม เชื้อเพลิงที่ใช้ในยานยนต์ส่วนใหญ่ เช่น น้ำมัน เบนซิน น้ำมันดีเซล รวมถึงน้ำมันชีวภาพจำนวนน้อย เช่น เอทานอล ไบโอดีเซล กระทรวงพลังงานได้เสนอแผนพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือกร้อยละ ๒๕ ใน ๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๖๔) ซึ่ง เสนอให้ใช้เอทานอล ๙ ล้านลิตร/วัน ไบโอดีเซล ๕.๙๗ ล้านลิตร/วัน และเชื้อเพลิงใหม่ทดแทนดีเซล ๒๕ ล้านลิตร/วัน คิดเป็นสัดส่วน ทดแทนน้ำมันร้อยละ ๔๔ ภายใน พ.ศ. ๒๕๖๔ เป้าหมายดังกล่าวเป็น ตัวเลขท้าทายที่มีความเป็นไปได้ต่ำมาก โดยเฉพาะเชื้อเพลิงใหม่ ทดแทนดีเซล เมื่อนำเอทานอลมาผสมกับน้ำมันเบนซินจะได้แกโซฮอล เนื่องจากเอทานอลมีเลขออกเทนสูง ดังนั้น จึงสามารถทดแทนสาร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=