2715_5200
7 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๙ เดือนธันวาคม ๒๕๕๕ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ผู้บรรยายได้สอบค้นศัพท์โบราณหลายคำจากพจนานุกรมสมัย อยุธยา วรรณกรรมและวรรณคดีสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัย รัตนโกสินทร์ รวมทั้งหาความหมายจากบริบทต่าง ๆ ทำให้เข้าใจศัพท์ได้ มากขึ้น และเสนอตัวอย่างศัพท์โบราณที่มีปัญหาในด้านความหมาย การ ศึกษาเชิงประวัติ อักขรวิธี เป็นต้น ดังนี้ กรุงเทพ เป็นศัพท์ที่ใช้เรียก กรุงศรีอยุธยา ตกแต่ง ตบแต่ง มีความหมายไม่ต่างกัน แต่มีวิธีใช้ต่างกันในบาง บริบท นิยมใช้ ตบแต่ง มากกว่า ตกแต่ง คำว่า ตกแต่ง มีใช้มาก่อน ตั้ง แต่สมัยสุโขทัย ตั้งสิ้ว ตั้วสิ้ว มาจากคำในภาษาจีน แปลว่า ซ่อมแซม คำ ตั้งสิ้ว มี ใช้ในเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ว่า ตั้วสิ้ว ไท ไทย มี ๒ ความหมาย ความหมายแรก คือ ประเทศไทย ซึ่ง เขียนได้ ๒ รูป ไท, ไทย ความหมายที่ ๒ คือ ผู้เป็นใหญ่ นางเอก นางโท หมายถึงสตรีที่จัดลำดับลักษณะและความงามเป็น ชั้นหนึ่ง รอง จากนั้นก็คือ นางโท น้ำฟ้า หมายถึง น้ำฝน มีที่ใช้ก่อน น้ำฝน อีกทั้งมีความไพเราะ มองเห็นภาพและการเคลื่อนได้ชัดเจน ผู้หญิงยิงเรือ ผู้หญิงริงเรือ ในสมัยอยุธยา น่าจะมีความหมาย ต่างกับสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่งมีความหมายว่า หญิง เยีย มีความหมายแรกว่า ทำ และความหมายที่ ๒ ว่า ยิ่ง นอกจาก นี้ ยังมีอีกความหมายหนึ่งว่า ไก่ตัวผู้ สมัน หมายถึง พนักงาน สมี ในสมัยแรกหมายถึงพระภิกษุทั่วไป แต่สมัยหลังใช้เรียก พระภิกษุผู้ต้องอธิกรณ์ขั้นปาราชิก สยาม เป็นคำเรียกชื่อประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา (ตอนกลาง) เท่าที่มีหลักฐานปรากฏ และคำนี้ก็มีใช้เรื่อยมาทุกสมัย สงสถาน มีความหมายว่า ลักษณะ และมีที่ใช้น้อยมาก สบสมัย สบสะไหม สบไสมย มีความหมายว่า ทั้งหลาย ทั้งปวง สะสม สั่งสม ส่ำสม พิจารณาจากบริบทของการใช้คำ ๓ คำนี้ มีความตรงกันว่า รวบรวม หรือ เก็บรวบรวม แหนง มีความหมายว่า แคลงใจ หรือ สงสัย อำภิล คำนี้มาจากคำ อพิล ในภาษาเขมร ว่า ต้นมะขาม ศ. ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง การเขียนคำภาษาอังกฤษในพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ความโดยสรุปว่า สืบเนื่องจากการเขียนบทความเรื่อง “จากอุปรากรเรื่องมาดามบัตเตอร์ ฟลายของปุชชินีถึงละครซอล้านนาเรื่องน้อยไจยา” เพื่อเสนอต่อที่ ประชุมสำนักศิลปกรรม ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ นั้น ผู้บรรยาย ได้สังเกตเห็นว่า ในพระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้านมีการใช้คำภาษาอังกฤษ เป็นจำนวนมาก เมื่อได้รับ “แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเขียน คำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒” ซึ่งเสนอให้พิจารณารูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ ผู้บรรยายจึงกลับไปอ่านหนังสือพระราชนิพนธ์ไกลบ้านอีกครั้งหนึ่ง และ ดำเนินการรวบรวมคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณา คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ได้รวบรวม ส่วนใหญ่เป็นคำนาม มีทั้งชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อทวีป ชื่อประเทศ ชื่อเมือง และคำนามทั่วไป รวมทั้งมาตราวัดและคำบอกเวลา มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ไม้ไต่คู้และเครื่องหมายวรรณยุกต์ในคำที่ รวบรวมมาจำนวน ๑๑๗ คำ ดังนี้ ๑. ไม่ปรากฏการใช้ไม้ไต่คู้เพื่อบอกเสียงสั้น ๒. ปรากฏการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ใน ๒ กรณี คือ ใช้ไม้เอกกับ คำที่ลงท้ายว่า -ชั่น (-tion) ซึ่งเป็นคำเป็นและมีตัว ช เป็นพยัญชนะต้น อักษรต่ำ และใช้ไม้ตรีกับคำตายที่พยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง เพื่อให้ทราบว่าก่อนหน้านี้การเขียนคำที่มาจากภาษาอังกฤษมี ลักษณะเป็นเช่นไร ผู้บรรยายได้ศึกษาคำภาษาอังกฤษที่ปรากฏในหนังสือ ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ พบว่า คำภาษาอังกฤษที่ปรากฏอยู่ใน ประกาศต่าง ๆ มีลักษณะคล้ายกับที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน คือ ไม่ใช้ไม้ไต่คู้และไม่นิยมใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ และเมื่อศึกษาเพิ่มเติมก็ ทำให้เข้าใจได้ว่า การใช้ไม้ไต่คู้นี้ เดิมใช้เฉพาะที่จำเป็น คือใช้กับคำซึ่งเมื่อ ออกเสียงยาวแล้วมีความหมายต่างออกไป ส่วนการใช้เครื่องหมาย วรรณยุกต์นั้น ในสมัยก่อนไม่นิยมใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์โทกับคำตาย สะกดด้วยแม่กด และไม่นิยมใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์กับคำที่มาจาก ภาษาอังกฤษ ด้วยเหตุผลว่า ในภาษาเดิมออกเสียงสูงต่ำได้หลายอย่าง ข้อมูลนี้ปรากฏในลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรม พระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประทานแก่พระยาอนุมานราชธน ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๘๑ และวันที่ ๔ เมษายน ๒๔๘๓ และจดหมายกราบทูล ของพระยาอนุมานราชธน ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๔๘๑ และวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๘๒ แนวความคิดเรื่องการทับศัพท์ภาษาอังกฤษโดยไม่นิยม ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์นี้ได้รับการยอมรับและยึดถือเป็นหลัก สืบต่อมา ดังจะเห็นได้จากพระมติของพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น นราธิปพงศ์ประพันธ์ ที่ประทานแก่คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของ ราชบัณฑิตยสถานในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๐๕ ว่า เนื่องจากคำภาษา อังกฤษออกเสียงสูงต่ำไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับประโยคและตำแหน่งใน ประโยค การเขียนคำทับศัพท์จึงควรเขียนกลาง ๆ โดยไม่ใส่เครื่องหมาย วรรณยุกต์ ผู้บรรยายสันนิษฐานว่า การที่สมัยก่อนเขียนคำภาษาอังกฤษ โดยไม่นิยมใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์นี้น่าจะมีเหตุผลอื่นเพิ่มเติม เป็นต้น ว่า ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโดยูโรเปียน ซึ่งเป็นภาษาที่มีวิภัติ ปัจจัยแต่ไม่มีวรรณยุกต์ เมื่อรับคำมาใช้ในภาษาไทยจึงไม่นิยมใส่ เครื่องหมายวรรณยุกต์ โดยใช้หลักการเดียวกับการเขียนคำที่มาจาก ภาษาบาลีสันสกฤต นอกจากนี้ การเขียนแบบนี้ทำให้สืบไปหารูปศัพท์ใน ภาษาเดิมได้ง่าย นอกจากเป็นประโยชน์ต่อการเรียนภาษาอังกฤษแล้ว ยัง อำนวยประโยชน์ต่อการศึกษาคำในภาษาไทยเชิงประวัติด้วย อนึ่ง ในพระ นิพนธ์บทความเรื่อง “สยามพากย์” พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์์ ทรงเสนอแนวพระดำริว่า คำที่จะบรรจุลง ในพจนานุกรมนั้น ควรเป็นคำที่ใช้แพร่หลายแล้ว แม้เป็นคำที่ทรงบัญญัติ ขึ้น หากยังไม่มีผู้ใช้แพร่หลายก็ทรงขอไม่ให้นำลงเผยแพร่ในพจนานุกรม หลักการเขียนคำภาษาอังกฤษดังกล่าวข้างต้นได้รับการยึดถือสืบมาโดยมี การปรับเปลี่ยนบ้างเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น คณะกรรมการวิชาการของ ราชบัณฑิตยสถานก็ได้ยึดถือหลักนี้ในการเขียนคำทับศัพท์จากภาษา อังกฤษ ดังจะเห็นได้จากผลงานเป็นหนังสือจำนวนมากที่ราชบัณฑิตย- สถานจัดพิมพ์เผยแพร่แล้ว ผู้บรรยายได้เสนอเพื่อพิจารณาว่า การปรับเปลี่ยนการเขียนคำ ภาษาอังกฤษที่มีมาแต่เดิมนั้น น่าจะพิจารณาเป็นคำ ๆ ไปตามความจำเป็น และความเหมาะสม โดยพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลดีและผลเสียของ การปรับเปลี่ยนด้วย ทั้งไม่ควรวางเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวแล้วปรับเปลี่ยน ทุกคำให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์นั้น นอกจากนั้น บางคำน่าจะอนุโลมให้ สะกดได้มากกว่า ๑ แบบ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=