2715_5200

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ถวายพระราชสมัญญา “พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลาย ทางชีวภาพ” สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เป็นล้นพ้นอย่างหาที่เปรียบมิได้ต่อทรัพยากรป่าไม้ พืชพรรณ และสัตว์ป่า นานาพันธุ์ อันเป็นสมบัติทางธรรมชาติที่ล้ำค่าของประเทศไทย ทรงมีพระ ราชปณิธานที่แน่วแน่มากว่า ๖ ทศวรรษ ในการที่จะทำให้คนไทยทุกคน ตระหนักถึงความสำคัญ เห็นคุณค่าและความงามของทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ให้คงอยู่สำหรับ ให้อนุชนรุ่นต่อไป ได้เห็น ได้รู้จัก ได้เรียนรู้ ได้ชื่นชม และเป็นแหล่งอาหาร ที่ยั่งยืนเป็นมรดกสืบทอดอยู่คู่แผ่นดินไทย • วันพุธที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ.สิวลี ศิริไล ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การสร้างสังคมที่มี ความเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน และเอื้ออาทร ในประชาคมอาเซียน : บท วิพากษ์ในเชิงปรัชญา ความโดยสรุปว่า ในทางปรัชญามองธรรมชาติ ของมนุษย์ว่าเป็นสิ่งมีภาวะที่มีปรีชาญาณ สามารถตัดสินสิ่งที่ตนรับรู้ และสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาปฏิบัติในชีวิตจริง ชาวกรีกมีมโนทัศน์ (concept) เรื่องพระเป็นเจ้า โลกมนุษย์ ตัวมนุษย์ วิถีการดำเนินชีวิตของ มนุษย์ โดยมีความเชื่อความศรัทธาเป็นพื้นฐานนำไปสู่พิธีกรรมการปฏิบัติ ส่วนปรัชญาและศาสนาในโลกตะวันออกแตกต่างไปจากโลกตะวันตก คือมีลักษณะที่เป็นทั้งระบบความคิด ความเชื่อ และการปฏิบัติอย่างเด่น ชัด เน้นความสำคัญของครอบครัว ของสังคมที่รวมกลุ่มกัน โดยมี วัฒนธรรมทางศาสนาเป็นตัวเชื่อมโยง มีระบบศีลธรรม และมุ่งประโยชน์ สุขของส่วนรวม ทรรศนะของพระพุทธศาสนามีลักษณะแบบธรรมชาตินิยม (naturalism) คือ ยอมรับว่าสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในโลกธรรมชาติหรือ โลกของวัตถุคือความเป็นจริง มนุษย์ทุกคนเกิดมามีศักดิ์ศรีของความเป็น มนุษย์เท่าเทียมกัน แต่สิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างกัน เป็นเพราะการรู้จักใช้ “ปัญญา” และการ “พัฒนาตน” มนุษย์แต่ละคนจะต้องตระหนักใน ศักยภาพของตนในการคิด การตัดสินใจเลือกการกระทำ และต้อง ตระหนักรู้ถึงกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งตัว ของมนุษย์เอง นอกจากนี้ พระพุทธศาสนายังมีหลักธรรมคำสอน สำหรับบุคคลตามหน้าที่บทบาทในสังคม บุคคลในสังคมต้องเป็นไป ตามหลักธรรม คุณธรรมของศาสนาอิสลามคือการที่มนุษย์เคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ มุสลิมทุกคนจะต้องตระหนักว่าการดำเนินชีวิตของตนทุกอิริยาบถอยู่ใน การทรงมองเห็นของอัลลอฮ์ตลอดเวลา ด้วยการรำลึกพระองค์ซึ่งกระทำ ได้หลายวิธี เช่น การนมาซ การถือศีลอด การมีความละอาย การมีความ สุภาพอ่อนโยน มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อตนเอง บิดา มารดา ภรรยา บุตร ญาติ มิตรสหาย เพื่อนบ้าน และต่อสังคม อย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ ศาสนาคริสต์มีความเชื่อเช่นเดียวกับศาสนาอิสลามคือ เชื่อในพระ เป็นเจ้าองค์เดียวหรือเอกเทวนิยม พระเป็นเจ้าทรงเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด ของความศรัทธา และทรงเป็นจุดหมายของความสุขนิรันดร ส่วนปรัชญาจีนมีลักษณะเฉพาะตนที่แตกต่างจากปรัชญาตะวันตก และปรัชญาตะวันออกระบบอื่น ๆ โดยการเน้นคำสอนเรื่องการปฏิบัติตน ของมนุษย์ การพัฒนาคุณธรรม ไม่เน้นเรื่องสวรรค์ นรก บุญ บาป ลัทธิเต๋ามองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกในจักรวาลว่าเป็นวัฏจักร ของสิ่งทั้งหลายในธรรมชาติ มนุษย์และชีวิตมนุษย์ ลัทธิขงจื๊อ มีขงจื๊อ เป็นศาสดา สาระสำคัญของคำสอนคือการเน้นให้บุคคลมีคุณธรรม คือมี ความจริงใจและรู้จักไตร่ตรองทบทวนตนเอง ความจริงใจเป็นรากฐาน สำคัญที่สุดของการกระทำทุกอย่างของมนุษย์และสามารถทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคม ความเป็นไปได้ของการสร้างอัตลักษณ์ของสังคมอาเซียน ถ้า พิจารณาจากภาพรวมของสังคมอาเซียน การสร้างอัตลักษณ์ที่เป็นหนึ่งเดียวก็ อาจเป็นปัญหาว่าจะถืออะไรเป็นอัตลักษณ์ท่ามกลางความหลายหลาก การสร้างสังคมที่มีความเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน และเอื้ออาทรอาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ได้โดยมีหลายแนวทางคือ ศาสนาแต่ละศาสนาถึงแม้จะความแตกต่างกัน ในเรื่องของความเชื่อ การปฏิบัติระดับสูง แต่ก็สามารถเชื่อมโยงหลัก ศีลธรรมอันเป็นแม่แบบของจริยธรรมคุณธรรมในระดับสังคมของแต่ละ ศาสนา มีกระบวนทัศน์เข้าใจศาสนาอย่างถูกต้อง เข้าใจหลักคำสอน เปิด ใจรับและเข้าใจซึ่งกันและกัน มีความเข้าใจในการเป็นประชาคมหรือ สังคมอาเซียนอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องของการแสดงออกใน วิถีชีวิต ฝ่ายผู้บริหารประเทศหรือรัฐบาลเข้าใจถึงกระแสความ เปลี่ยนแปลงทางค่านิยมของประชาชนส่วนรวมในสังคมที่ตรงข้าม กับอุดมการณ์ของการสร้างสังคมเอื้อเฟื้อแบ่งบันและเอื้ออาทร ลดทัศนคติด้วยการมองและยอมรับแต่ละประเทศตามเอกลักษณ์ของ ประเทศนั้น ๆ และต้องลดหรือยุติความขัดแย้งทางการเมือง รศ. ดร.ภัทรพร สิริกาญจน ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ประโยชน์ นิยมใน “ความเรียงว่าด้วยเสรีภาพ” ของจอห์น สจวต มิลล์ ความ โดยสรุปว่า จอห์น สจวต มิลล์ (John Stuart Mill, ค.ศ. ๑๘๐๖-๑๘๗๓) เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ผู้มีความคิด เฉียบแหลมและมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นเตือนให้สังคมเห็นคุณค่า ของเสรีภาพและการปกครองแบบประชาธิปไตย นับตั้งแต่สังคมยุโรป ได้ก้าวออกจากยุคกลางเข้าสู่ยุคใหม่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ถึงคริสต์ ศตวรรษที่ ๑๙ อำนาจสิทธิ์ขาดของผู้ปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และของศาสนจักรเหนือประชาชนได้ลดน้อยลง ประชาชนได้เห็น ความสำคัญของสิทธิ เสรีภาพ และคุณค่าของความเป็นปัจเจกบุคคล มากขึ้น เห็นได้จาการปฏิวัติฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ที่ทำให้ ประจักษ์ถึงอำนาจในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประชาชนและ ก่อเกิดความคิดแบบประชาธิปไตยในฝรั่งเศสในเวลาต่อมา นอกจากนั้น การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ก็เป็น ที่มาของคนชั้นกลางที่มีอำนาจทางการเงิน เกิดการแบ่งแยกระหว่าง นายทุนกับกรรมกรในระบบทุนนิยม และเกิดการแพร่กระจายของลัทธิ บริโภคนิยม (consumerism) และวัตถุนิยม (materialism) ในเวลาต่อมา ความตื่นตัวในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตยในประเทศ อังกฤษได้รับการส่งเสริมจากแนวคิดแบบประโยชน์นิยม (utilitarianism) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย เจเรมี เบนทัม (Jeremy Bentham, ค.ศ. ๑๗๔๘-๑๘๓๒) เมื่อมิลล์มีอายุได้ ๑๖ ปี ก็เริ่มพัฒนาแนวคิดแบบประโยชน์นิยมตามแนว คำสอนของเบนทัมในงานเขียนของตนเอง ที่ถือเอาประโยชน์สุขเป็น เกณฑ์ตัดสินความผิดถูกชั่วดี กล่าวคือ การกระทำที่ก่อประโยชน์สุขมาก ที่สุดแก่คนจำนวนมากที่สุด ถือว่าเป็นการกระทำที่ดีที่สุด แนวคิดนี้ถือ หลักมหสุข (the principle of greatest happiness) หรือหลักประโยชน์ สุขสูงสุด (the principle of greatest utility) เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา เรื่องต่าง ๆ ทางจริยศาสตร์ ในเมื่อแนวคิดนี้ให้ความสำคัญต่อ ประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่ จึงเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมประชาธิปไตย และเสรีภาพของประชาชนในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณภาพใน สังคม งานเขียนที่เด่นดังเรื่องหนึ่งของจอห์น สจวต มิลล์ คือ “ความเรียง ว่าด้วยเสรีภาพ” (On Liberty) มีจุดมุ่งหมายในการสร้างหลักการพื้นฐาน เพื่อจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสังคม หรือระหว่าง ประชาชนกับรัฐบาล หลักการนี้แสดงถึงเหตุผลเพียงประการเดียวที่ใคร ก็ตามจะก้าวก่ายเสรีภาพของบุคคลได้ก็คือ การป้องกันตนเองหรือการ ป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อผู้อื่น มิฉะนั้น จะละเมิดเสรีภาพ ส่วนบุคคลไม่ได้ มิลล์ได้แสดงแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องเสรีภาพไว้อย่าง กว้างขวาง โดยเน้นว่าเสรีภาพส่วนบุคคลเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของ มนุษย์ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการใช้ชีวิตที่ ไม่เป็นภัยต่อผู้อื่น เสรีภาพในการรวมกลุ่มทางสังคม ในทรรศนะของมิลล์ ประชาชนที่มีคุณภาพคือประชาชนที่มีเสรีภาพ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=