2715_5200
3 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๙ เดือนธันวาคม ๒๕๕๕ สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ.อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง คัมภีร์ใบลาน ล้านนา ความโดยสรุปว่า พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในแคว้นหริภุญ- ไชยก่อนแคว้นล้านนาเมื่อประมาณพันปีมาแล้ว และเจริญรุ่งเรืองสูงสุดใน สมัยพญาติโลกราช พระสงฆ์ล้านนามีความรู้เชี่ยวชาญภาษาบาลี พญา ติโลกราชจัดสังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) พ.ศ. ๒๐๒๐ เป็นสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๘ ของโลก หลังจากสังคายนา พระไตรปิฎกแล้ว พระสงฆ์ได้คัดลอกคัมภีร์พระไตรปิฎกซึ่งสันนิษฐานว่า เขียนด้วยอักษรธรรมล้านนาส่งไปยังเมืองต่าง ๆ อักษรธรรมล้านนาจึง แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางยังดินแดนต่าง ๆ ได้แก่ เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองหลวงพระบาง เมืองเวียงจันทน์ และในภาคอีสานของ ประเทศไทย คัมภีร์ใบลานเป็นคัมภีร์ที่พระสงฆ์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการสอน พระภิกษุสามเณรและเผยแผ่พระพุทธศาสนา แบ่งได้ ๒ ประเภท คือ คัมภีร์พุทธศาสนาที่ใช้เป็นคัมภีร์หลักในการเรียนการสอนพระภิกษุ และสามเณรทั่วไป และคัมภีร์ที่เป็นวิชาเฉพาะด้าน วัดที่มีคัมภีร์มาก และจัดเป็นระเบียบดีที่สุดในภาคเหนือ คือ วัดสูงเม่น อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีคัมภีร์ใบลานหลายหมื่นผูก พระสงฆ์และชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างหรือผลิตคัมภีร์จำนวนมากต่อ เนื่องกันมานานหลายร้อยปีเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ซึ่งอาจแต่งด้วย ภาษาบาลี ภาษาล้านนา หรืออาจใช้วิธีคัดลอกคัมภีร์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นทานในพระพุทธศาสนา หรืออุทิศบุญให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ไปแล้ว ประเพณีการสร้างและถวายคัมภีร์นี้เรียกว่า ประเพณีตั้งธรรม หลวง ในตอนท้ายของคัมภีร์ ผู้คัดลอกนิยมเขียนปัจฉิมลิขิตบอกให้ทราบ ชื่อผู้คัดลอก ที่อยู่ วัตถุประสงค์ วันเดือนปีที่คัดลอก คนที่ขอหรือจ้าง คัดลอก ชื่อผู้คัดลอกหลายคน และคัดลอกตามต้นฉบับคัมภีร์ใด นอกจากประเพณีตั้งธรรมหลวงที่ทำให้จำนวนคัมภีร์เพิ่มขึ้นทุกปีแล้ว ยังมีปัจจัยที่สนับสนุนให้คนเขียนคัมภีร์ใบลานอย่างต่อเนื่องและแพร่หลาย คือ คัมภีร์เรื่อง อานิสงส์สร้างธัมม์เขียนธัมม์เป็นทาน กล่าวถึงผลบุญที่จะ ได้รับจากการทำบุญในพระพุทธศาสนาทั้งการถวายวัตถุสิ่งของและการ ทำบุญด้วยการปฏิบัติบูชาว่า หญิงชายผู้ใดมีศรัทธาจ้างผู้มีปัญญา เขียนธรรมแล้วถวายเป็นทาน บุคคลนั้นจะได้เกิดมาเป็นจักรพรรดิ หลายชาติ แม้เขียนคัมภีร์เพียง ๑ ตัวอักษรก็จะได้บุญยิ่ง จะได้เกิดใน สวรรค์กามาพจร เมื่อลงมาเกิดในมนุษยโลกจะได้เกิดในตระกูลเศรษฐี ที่รักษาศีล ๕ และมีข้าวของเงินทองเพื่อทำบุญจำนวนมาก สำหรับการสร้างใบลานนั้น แต่ละวัดจะปลูกต้นตาลไว้สำหรับนำมา ตัดเป็นใบลานเพื่อเขียนคัมภีร์ มีวิธีการเขียนโดยใช้เหล็กจารเขียนอักษร ลงบนใบลานที่ตัดเรียบร้อยเขียนตามความยาวของใบลาน อาจมี ๔ แถว หรือ ๕ แถว แล้วแต่ความกว้างของใบลาน แล้วนำเขม่าที่ผสมกับ น้ำมันงาทาลงที่ใบลาน เพื่อให้ตัวอักษรชัดเจน จากนั้นนำใบลาน ไปร้อยด้วยเชือก เรียกว่า สายสยอง และมัดใบลานรวมกันเป็นผูก แล้วนำไม้สักเรียกว่า ไม้ประกับธรรม ตัดเท่าขนาดใบลาน ๒ แผ่น มาประกบใบลานทั้งผูกเพื่อป้องกันไม่ให้ใบลานบิดงอ และห่อด้วยผ้าเก็บไว้ ในหีด (หีบ) ธรรมในอาคารที่เรียกว่า หอธรรม ในอดีตคัมภีร์ใบลานเป็นที่รู้จักและแพร่หลายอยู่ในเขตจังหวัดภาค เหนือตอนบนหรือล้านนาเท่านั้น จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๐๙ คณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เปิดสอนวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิชาภาษาถิ่นล้านนา และวิชาวรรณกรรมล้านนา ซึ่งนำไปสู่การศึกษา ค้นคว้า สำรวจ และอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน คณะนักวิชาการหลายคณะ จึงได้เริ่มสำรวจและถ่ายไมโครฟิล์ม ซึ่งต่อมาได้ถ่ายภาพคัมภีร์ใบลานไว้ ด้วยกล้องดิจิทัล คัมภีร์เหล่านี้มีความหลากหลายทั้งชื่อเรื่อง เนื้อหา และสำนวนภาษา เพราะเป็นคัมภีร์ที่ผลิตโดยคนหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ปัจจุบันมีนักวิชาการจากสถาบันต่าง ๆ ได้ปริวรรตคัมภีร์เป็นภาษาไทย กลางและเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ศึกษา แต่จำนวนยังน้อยมากเมื่อ เปรียบเทียบกับจำนวนใบลานที่ยังไม่ได้ปริวรรต ศ. ดร.ปิยนาถ บุนนาค ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับการอนุรักษ์และพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : มุมมองจากนักประวัติศาสตร์ ความโดยสรุปว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงสน พระราชหฤทัยในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ทรง พระเยาว์ โดยทรงได้รับการปลูกฝังมาจากพระบิดา พระมารดา ให้ทรง เห็นคุณค่าของการปลูกต้นไม้ ซึ่งนอกจากมีส่วนในการสร้างสภาพแวดล้อม ที่ดีแล้ว ยังทำให้ผู้ปลูกมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตด้วย กับทั้งยัง ทรงเน้นให้ตระหนักถึงคุณค่าของความขยันหมั่นเพียร ความอดทน ความมีเมตตากรุณาแก่ผู้ที่ด้อยโอกาส การรู้จักแบ่งปัน ความประหยัด มัธยัสถ์ ไม่รังเกียจความยากจน แต่ให้รังเกียจความชั่วช้า การคดโกง ตลอดจนให้รู้จักคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำรงชีวิต นอกจากนี้ ยัง ทรงได้รับการสั่งสอนอบรมจากแม่ชีในโรงเรียนที่ทรงศึกษา คือ โรงเรียน เซนต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ ได้รับความรู้จากพระสหายทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ และผู้ที่ทรงเป็น “องค์ต้นแบบ” แห่งความสน พระราชหฤทัยในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช พร้อมกันนั้นยังทรงศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ด้วยพระองค์เอง ทำให้ทรงมีความรอบรู้มากยิ่งขึ้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดในความงามของ ธรรมชาติ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงงาน ณ พื้นที่แห่งใด ก็ทรงให้ ความสนพระราชหฤทัยในธรรมชาติรอบพระวรกายอยู่เสมอ พระราชดำริ และพระราชดำรัสในเรื่องการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมตามความหลากหลายทางชีวภาพนี้นอกจากเป็นไปตามความ สนพระราชหฤทัยแล้ว ยังเป็นไปตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอ เพียง” โดยใช้วิธีการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ในพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ซึ่งนำไปสู่พระราชกรณียกิจในโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมตามความหลากหลายทางชีวภาพ ด้านการอนุรักษ์และพัฒนา พันธุกรรมพืช ด้านการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมสัตว์ ทั้งสัตว์ป่าและ สัตว์ทะเล ด้านการคุ้มครองระบบนิเวศ ทรงมีพระราชดำริให้หามาตรการ ป้องกันด้วยความรอบคอบไม่ประมาท อันแสดงถึงพระราชวิสัยทัศน์ที่ กว้างไกลประกอบด้วยพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณต่อผู้ทำหน้าที่ ป้องกันไฟป่า และได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนมาก เพื่อก่อตั้งโครงการจัดตั้งกองทุนไฟป่าสำหรับบุคคลผู้เสียสละเหล่านั้น ส่วนในเรื่องพืชเศรษฐกิจ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรง ดำเนินการในเรื่องนี้ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลว่าพืชบางประเภทจะ สามารถกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ ให้อาชีพแก่ประชาชนได้อย่างยั่งยืนและ ไม่ทำลายระบบนิเวศในพื้นที่ เห็นได้จากการส่งเสริมให้มีการศึกษาค้นคว้า วิจัยพืชกัญชงทั้งในด้านข้อดีและข้อเสีย จึงโปรดเกล้าฯ ให้รัฐบาลนำไป ขยายผลคือส่งเสริมสนับสนุนให้ราษฎรปลูกพืชชนิดนี้เพื่อประโยชน์ทั้งแก่ ตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติต่อไป รัฐบาลจึงได้กราบบังคมทูล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=