2714_2803
8 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ ๑๘๖/๒๕๕๐ ไปรษณีย์ดุสิต ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ ‰ ¢ ª— ≠ À “ ¿ “ … “ ‰ ∑ ¬ ถาม คำว่า พจนานุกรม, ปทานุกรม, นามานุกรม และ อักขรานุกรม มี ความหมายอย่างไรบ้าง ตอบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายของ คำเหล่านี้ดังนี้ คำว่า พจนานุกรม เป็นนาม หมายถึง หนังสือว่าด้วย ถ้อยคำในภาษาใดภาษาหนึ่งเรียงตามลำดับตัวอักษร โดยทั่ว ๆ ไปจะ บอกความหมายและที่มาของคำเป็นต้นด้วย. คำว่า ปทานุกรม เป็นนาม หมายถึง หนังสือสําหรับค้นคว้าความหมายของคําที่เรียงตามลําดับ บท. คำว่า นามานุกรม เป็นนาม หมายถึง พจนานุกรมคําวิสามานย- นาม. คำว่า อักขรานุกรม เป็นนาม หมายถึง หนังสือสําหรับค้นชื่อ เรียงลําดับตามตัวอักษร. ถาม คำว่า เกล็ด, เกร็ด และ เก็จ มีความหมายอย่างไรบ้าง ตอบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายของ คำเหล่านี้ดังนี้ คำว่า เกล็ด เป็นนาม หมายถึง ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลื่อมกันห่อหุ้มตัวปลาและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด สิ่งที่แข็งตัว เป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายเกล็ดปลา เช่น เกล็ดพิมเสน น้ำตาลขึ้นเกล็ด, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานเกล็ด ฝาเกล็ด เกล็ดเสื้อ. แต่ถ้าเป็นกริยา หมายถึง ขบให้เมล็ด แตกเพื่อกินเนื้อใน (ใช้แก่สิ่งที่เป็นเม็ดเล็ก ๆ) เช่น เกล็ดเมล็ดแตงโม นกเกล็ดข้าว, โดยปริยายหมายความว่าตัดเอาแต่ที่ดี ๆ เช่น เกล็ด ไพ่. คำว่า เกร็ด เป็นนาม มี ๒ ความหมาย คือ ความหมายที่ ๑ หมายถึง ลําน้ำเล็กที่เป็นทางลัดเชื่อมลําน้ำใหญ่ สายเดียวกันทั้ง ๒ ข้าง, ใช้เป็น เตร็ด ก็มี. ส่วนความหมายที่ ๒ หมายถึง ส่วนย่อยหรือ ส่วนเบ็ดเตล็ด ซึ่งเป็นเรื่องสนุกหรือน่าสนใจที่เล่าหรือเขียนถึง เหตุการณ์สั้น ๆ ตอนใดตอนหนึ่งในชีวประวัติบุคคลสำคัญ ซึ่งเชื่อกัน ว่าเป็นเรื่องจริง เช่น เกร็ดพงศาวดาร, เรื่องที่เขียนเล่าถึงบรรยากาศ ที่น่าสนใจหรือสนุกขบขันในที่ประชุมก่อนที่จะมีผลสรุปออกมา. ส่วนคำว่า เก็จ ๑ เป็นนาม มี ๒ ความหมาย คือ ความหมายที่ ๑ หมายถึง แก้วประดับ. และความหมายที่ ๒ หมายถึง ส่วนที่ยื่นออก มาจากหรือลึกเข้าไปในฝาผนัง กําแพง ฐาน หรือเชิงกลอน. ถาม คำว่า องค์การ และ องค์กร มีความหมายแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ตอบ คำว่า องค์การ และ องค์กร มีความหมายแตกต่างกัน โดย พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุความหมาย ของคำทั้งสอง ดังนี้ คำว่า องค์การ เป็นนาม หมายถึง ศูนย์รวม กลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยงานเดียวกัน เพื่อ ดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายหรือใน ตราสารจัดตั้งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกัด สมาคมหรือหน่วยงานระหว่าง ประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า organization. ส่วนคำว่า องค์กร เป็นนาม หมายถึง บุคคล คณะ บุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบของหน่วยงานใหญ่ที่ทำ หน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหาร ของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กรของรัฐสภา, ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วย ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า organ. จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เพื่อเผยแพร่งานวิชาการข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ที่ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด ๓๐๗ ซอยลาดพร้าว ๘๗ วังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ โทรสาร ๐ ๒๕๓๙ ๒๕๑๒, ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๙ จัดทำโดย บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ฝ่ายช่วยอำนวยการและประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม ราชบัณฑิตยสถาน นางนัยนา วราอัศวปติ เลขานุการกรม นายอภิเดช บุญสงค์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=