2714_2803

7 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๘ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ในเวลาต่อมา เช่น ผลงานที่ชื่อ “สับสน” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ ผลงาน ชุด “ศรีธนนชัย” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ จวบจน พ.ศ. ๒๕๔๘ รศ.เข็มรัตน์ได้พัฒนากระบวนการสร้างสรรค์ของเขาให้ก้าวหน้า ขึ้นดังข้อความที่ว่า “ผลงานของผมในช่วงนี้เรียกได้ว่าเป็นช่วง ที่ผมรู้สึกอิสระในการสร้างงานมากขึ้นในแนวทางที่หลากหลาย ทั้งงานประติมากรรมกลุ่มและงานศิลปะจัดวาง (Installation Art)” รศ.เข็มรัตน์ กล่าวว่า “ผมเริ่มต้นงานชุดนี้ด้วยผลงาน กลุ่มประติมากรรม “อรุณรุ่ง” ภาพความประทับใจจากการใช้ ชีวิตร่วมกับครอบครัวในการปฏิบัติตามแนวทางของพุทธศาส- นิกชนที่ดี การตักบาตรในตอนเช้าของฤดูหนาว” นอกจากนั้น ยังมีผลงานที่ชื่อ “จงกรม” พ.ศ. ๒๕๔๙ ผลงานที่ชื่อ “สภาวะ แห่งความปรารถนา ๑ และ ๒ และสุดท้าย ผลงานที่ชื่อ “อนุสาวรีย์แห่งความหลง” พ.ศ. ๒๕๕๕ วัสดุที่นำมาใช้ยังเป็น วัสดุดินสด ซึ่ง รศ.เข็มรัตน์ ได้กล่าวถึงดินเอาไว้ว่า “สำหรับผม แล้ว ‘ดิน’ ไม่ได้มีไว้สำหรับการขึ้นรูปเพียงอย่างเดียว ผมยัง มองเห็นถึงวัสดุที่รียบง่ายแต่แฝงความหมายที่ลึกซึ้ง สะท้อนถึง ความเรียบง่าย ติดดิน แฝงไปด้วยปรัชญาและศรัทธาเพื่อชีวิต ที่พอเพียง และเกิดสันติสุขในที่สุด รศ.เข็มรัตน์ ได้กล่าวสรุป การสร้างสรรค์ของตนเองตลอดระยะเวลามากกว่า ๓๐ ปี ดังนี้ “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาในการทำงานของผมนั้น สิ่งที่ผม มักตั้งคำถามต่อการทำงานศิลปะของตนเอง ผมมักสนใจ ในความสัมพันธ์ของสิ่งคู่ตรงข้าม เช่น รูปทรงกับพื้นที่ว่าง รูปในรูปนอก ความแข็ง ความอ่อน ปริมาตรที่กลมมนและ ความคมของเหลี่ยมสันของรูปทรง รูปทรงเรขาคณิตและ รูปทรงธรรมชาติ อันเนื่องมาจากผมเห็นว่าสิ่งคู่ตรงข้ามเหล่านี้ ล้วนเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน นับเป็นหลักเพื่อการรักษาความสมดุล ของโลกโดยแท้จริง และผมได้นำหลักการของสิ่งคู่ตรงข้าม เหล่านี้มาใช้ในการสร้างสรรค์ศิลปะของผมเสมอมา” • วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง การใช้คำลักษณนาม ความโดยสรุปว่า คำลักษณนามเป็นคำที่ มีหน้าที่ขยายคำนามและคำกริยาในโครงสร้างนามวลีและกริยา วลี เพื่อบ่งบอกลักษณะของคำนามและกริยานั้นตามมโนทัศน์ ของผู้ใช้ภาษา การเลือกใช้คำลักษณนามใดจึงเป็นไปตาม มโนทัศน์และความมุ่งหมายของผู้ใช้ คำลักษณนามแบ่งคร่าว ๆ ได้เป็น ๗ ประเภท ได้แก่ คำ ลักษณนามบอกลักษณะตามคำที่ใช้เรียกคำนามนั้น คำลักษณ- นามบอกสิ่งที่อยู่เป็นคู่หรือใช้เป็นคู่ คำลักษณนามบอกสิ่งที่รวม เป็นหมู่หรือกลุ่ม คำลักษณนามบอกขนาดตามมาตราชั่งตวงวัด มาตราเงิน เวลา และอื่น ๆ คำลักษณนามบอกลักษณะบรรจุภัณฑ์ คำลักษณนามบอกลักษณะของคำกริยา และคำลักษณนามบอก รูปลักษณ์ คำลักษณนามที่ใช้แตกต่างกันจะแสดงลักษณะที่ต้องการ บ่งบอกของคำนามนั้น ๆ การใช้คำลักษณนามของคนในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากคำลักษณนามบอกรูปลักษณ์ของนาม บางคำไม่สื่อความหมายว่ามีรูปร่างอย่างไร บางคำคนปัจจุบัน ไม่รู้จักคำนามนั้น ๆ แล้ว คำลักษณนามบางคำเปลี่ยนรูปไปตาม มโนทัศน์ของผู้ใช้ภาษาที่ต่างกัน คำลักษณนามของคำนาม ที่ปรากฏใหม่ไม่ระบุลักษณะที่ชัดเจน เป็นต้น การกำหนดการใช้ คำลักษณนามจึงควรพิจารณามโนทัศน์ของผู้ใช้ภาษาในปัจจุบัน และความต้องการที่ผู้ใช้ภาษาต้องการบ่งบอกด้วย นายวิทย์ พิณคันเงิน ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ลาย ไทยเป็นทั้งตำนานและดั่งกวีนิพนธ์ ความโดยสรุปว่า ลายไทย เป็นลายที่มีพัฒนาการสืบเนื่องมาแต่สมัยต้น จากการศึกษา วิเคราะห์ของนักโบราณคดีและนักศิลปะ สามารถโยงไปถึง ลายสมัยคุปตะของอินเดีย แล้วจึงคลี่คลายแบบอย่างมาหลาย สมัยจนพระพุทธศาสนาแผ่ขยายมาสู่แหลมทอง จึงเกิดศิลปะ ของสมัยทวาราวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี และสืบเนื่องมาถึง สมัยล้านนา (เดิม เชียงแสน) สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา จนถึง สมัยรัตนโกสินทร์ แต่ละสมัยก็ได้เกิดแบบอย่างลาย ต่างกันออกไป จนกระทั่งคลี่คลายมาถึง กระหนกสามตัว กระหนกเปลว กระหนกผักกูด ฯลฯ ซึ่งแต่ก่อนยังไม่เรียกว่า ลายไทย โดยใช้กันมาจนถึงประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๕ จึงมาเรียกว่า ลายไทย ตอนที่มีการเรียนการสอนตามหลักสูตรของโรงเรียน เพาะช่าง (มีวิชาลายไทย ภาพไทย เครื่องไทย) ลายไทยจึงมี รูปแบบคงตัวอยู่มาจนถึงในปัจจุบัน นับว่าลายไทยเป็นตำนาน ที่มีความสืบเนื่องมานานในแผ่นดินแหลมทอง ส่วนเรื่องที่เป็นดั่งกวีนิพนธ์นั้น ได้แก่ การสร้างสรรค์ ลวดลายที่มีหลักเกณฑ์ การร่างเส้นลาย การจัดวางกาบ ตัวกระหนก การจัดระยะช่องไฟ และการตัดเส้น เช่นเดียวกับ การกำหนดคำครุ ลหุ วรรคตอน คำคล้องจอง กำหนดจำนวน คำ ตามแบบบทของโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน การเขียน ลายไทยก็เรียกตามแบบของตัวกระหนกแม่ลาย เช่น ลายก้านขด ลายเปลว ลายเครือวัลย์ แบบอย่างของลายที่นำมาแสดงใช้ตัวกระหนกแบบเดิม และลายที่ใช้เป็นตัวลายแบบใหม่ ๆ ซึ่งไม่กำหนดชื่อ เพราะการ ตั้งชื่อลาย ทำให้จำกัดอยู่เฉพาะลายที่มีอยู่เดิมเท่านั้น จึงสมควร สร้างสรรค์ให้ขยายตัวออกไปจากของเดิม เพื่อสืบต่อลายไทย ให้มีอายุยืนยาวต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=