2714_2803
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน การกำหนดความเป็นผู้นำในการจัดการที่ชัดเจน การกำหนด นโยบายและแนวทางตอบสนองต่อความเสี่ยง การกำหนด โครงสร้างดานการจัดการเพื่อตอบสนองต่ออุบัติการณ์ การตรวจสอบภายใน การทบทวนของฝ่ายบริหาร และการ ปรับปรุงกระบวนงาน สำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การสร้างสรรค์ประติมากรรมของ รศ.เข็มรัตน์ กองสุข : วิถี ชีวิต ความโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ที่ผ่านมานี้ ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ ได้มีการเปิดนิทรรศการพิเศษ เพื่อเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส ประจำพุทธศักราช ๒๕๕๕ นิทรรศการชื่อ “วิถีชีวิต” เป็นผลงานประเภทประติมากรรม ร่วมสมัย ของ รศ.เข็มรัตน์ กองสุข อาจารย์ประจำภาควิชา ประติมากรรม คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันอายุ ๖๕ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ที่จังหวัดสุรินทร์ จบการศึกษาศิลป- มหาบัณฑิตทางด้านประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับ การยกย่องให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมจากการแสดงงานศิลปกรรม แห่งชาติ สาขาประติมากรรม ใน พ.ศ. ๒๕๓๘ การสร้างสรรค์ประติมากรรมของ รศ.เข็มรัตน์ แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง คือ ช่วงที่ ๑ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๔-ก่อน พ.ศ. ๒๕๓๘ ช่วงที่ ๒ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๘-ปัจจุบัน ช่วงที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๑๔-ก่อน พ.ศ. ๒๕๓๘ รศ.เข็มรัตน์ ได้กำหนดผลงานในยุคเริ่มต้น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๓๖ ว่า เป็นยุคของ “สัจจะในธรรมชาติสู่สภาวะแห่งนามธรรม” โดย รศ.เข็มรัตน์ ได้กล่าวไว้ว่า “ในช่วงเริ่มต้นของการสร้างงาน ประติมากรรมนั้น เป็นช่วงที่ผมมีความปรารถนาอย่างลึกซึ้ง ที่จะแสดงให้เห็นอำนาจแห่งความรู้สึกในเรื่องการเกาะเกี่ยว ของปริมาตรที่ยึดเกาะกันอยู่ในงาน ประติมากรรมรูปแบบ นามธรรม ผมจึงใช้รูปทรงในการแสดงให้เห็นถึงการผนึกตัว ของปริมาตรที่เกาะยึดกันและรวมตัวกันอยู่ ซึ่งสภาวะแห่ง ความรู้สึกอันนี้ได้ประจักษ์ในธรรมชาติอยู่แล้ว ... ผมเริ่มทำ ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของรูปทรงพื้นที่ว่างและปริมาตรได้ ... ซึ่งความเข้าใจอันนี้ถูกแสดงในผลงานประติมากรรมของ ผมตั้งแต่ต้น คือช่วง พ.ศ. ๒๕๑๔ จนถึงชุด “การผนึกแห่ง รูปทรง (Interlocking Form)” ซึ่งเป็นผลงานชุดศิลปะนิพนธ์ ช่วงปริญญาตรี ... โดยกำหนดโครงสร้างของงานเป็นทรงกลม จากนั้นจึงเจาะแบ่งเป็นช่อง ซึ่งปริมาตรที่ได้จะเชื่อมต่อรูปทรง ย่อยในแต่ละรูปทรง ... ตลอดจนการใช้วิธีการเกาะเกี่ยวและ ผนึกตัวเข้าด้วยกันของรูปทรงภายในและรูปทรงภายนอกใช้ ลักษณะความเป็นเหลี่ยมสันให้เกิดการประสานกลมกลืนเป็น เอกภาพเดียวกัน” แนวความคิดนี้ รศ.เข็มรัตน์ ได้ใช้ต่อเนื่องมา จนถึง พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งอยู่ในช่วงการศึกษาในระดับปริญญาโท ผลงานชุดนี้ หากพิจารณาในแง่มุมของรูปทรงกับที่ว่าง จะเห็นว่า การที่ที่ว่างเข้าไปมีบทบาทในรูปทรงมากขึ้นทำให้เกิด การมองเห็นการเกาะเกี่ยวผูกพันที่ลึกลงไปจากรูปทรงภายนอก สู่รูปทรงภายใน และในขณะเดียวกันก็มองเห็นถึงความประสาน สัมพันธ์จากรูปทรงภายในสู่ภายนอกอีกด้วย เนื้อหาของช่วงที่ ๑ โดยสรุปคือ จากรูปทรงนามธรรมกลม ทึบตันจากพื้นผิวภายนอกสู่รูปทรงภายในด้วยการบาก เจาะ ทีละชั้นจนทะลุสู่ด้านหลัง เพื่อการสร้างความสัมพันธ์ของ รูปทรงกับที่ว่างจากภายนอกสู่ภายใน และจากภายในสู่ภายนอก และการพัฒนาจากรูปทรงและที่ว่างไปสู่ความหมายของรูปทรง ที่เกิดขึ้นจากผลงานที่ชื่อ “มนุษย์กับความปรารถนา” และ “ชีวิตและศรัทธา” ช่วงที่ ๒ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๘-ปัจจุบัน รศ.เข็มรัตน์ ไ ด้กำหนดแนวทางการสร้างสรรค์ ในช่วงนี้ว่า “จาก ประติมากรรมแนวนามธรรมสู่สัญลักษณ์กึ่งนามธรรม” โดยขยายความว่า “ผลงานของผมในช่วงแรกที่เป็นงานในแนว นามธรรมนั้นเมื่อสร้างผลงานมาจนระยะหนึ่งแล้ว ผมเห็นว่า เป็นเรื่องราวเนื้อหาเฉพาะตัว ดังนั้น จึงเริ่มนำรูปทรงที่มี ความหมายเชิงสัญลักษณ์ เช่น พานพุ่ม เจดีย์ ... สร้างเป็น สัญลักษณ์ที่เข้าใจง่ายและสื่อความหมายตรงไปตรงมามานำ เสนอ” ด้วยแนวความคิดนี้ ใน พ.ศ. ๒๕๓๗ รศ.เข็มรัตน์ ได้ สร้างประติมากรรมชื่อ “พานพุ่มสักการะพระภูมิพล” และใน พ.ศ. ๒๕๓๘ ชื่อ “อนุสาวรีย์แห่งความทรงจำ” ผลงาน “อนุสาวรีย์แห่งความทรงจำ” รศ.เข็มรัตน์ ได้กล่าวไว้ว่า เป็นผลงานที่เกิดจาก “เรื่องราวความรักความศรัทธาที่มีต่อ บุพการี” ผลงานชิ้นนี้ รศ.เข็มรัตน์ มิได้นำรูปทรงบริสุทธิ์ทาง นามธรรมที่ได้พัฒนามาจนสมบูรณ์แล้วมาเป็นสื่อในการ สร้างสรรค์อีกต่อไป ผลงานชิ้นนี้ได้เลือกเอารูปทรงของ เจดีย์มาใช้ ซึ่งเป็นรูปทรงเชิงสัญลักษณ์์ที่สื่อความหมายถึง ความเคารพ บูชา ควรค่าแก่การสักการะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็น รูปทรงที่สงบ มั่นคง อ่อนโยน งดงาม เป็นความดีงาม ให้ ความรู้สึกทางใจอย่างสูง ซึ่งเป็นแนวความคิดและความรูู้้สึกที่ มีต่อบุพการี นอกจากนั้น พื้นผิวขององค์เจดีย์ยังประดับด้วย กลีบดอกไม้มากมาย แสดงถึงความเคารพบูชาอย่างสูง ตรง ส่วนยอดใช้สีทองที่ช่วยเน้นเรื่องความดีงามและความสูงส่งให้ เด่นชัดขึ้น แต่รูปทรงที่ศักดิ์สิทธิ์งดงามนี้กลับมีรอยแตกแยก และบางส่วนหายไปเผยให้เห็นที่ว่างภายในที่ว่างเปล่า เพื่อสื่อ ความหมายถึงความเจ็บปวดและความเศร้าโศกของเขาที่มีต่อ การจากไปของบุพการี ผลงานชิ้นนี้เป็นจุดเริ่มต้นมิติใหม่ของ การสร้างสรรค์ที่มิได้ให้รูปทรงและที่ว่างเป็นจุดหมายหลัก แต่ให้เนื้อหาจากเรื่องราวจากภายในจิตใจเป็นเป้าหมาย โดย แสวงหารูปทรงแล้วเลือกสรรมาให้ตรงกับเนื้อหา นับเป็น ความผสมผสานระหว่างรูปทรงและที่ว่างกับเนื้อหาจากเรื่องราว ภายในจิตใจให้รวมกันอย่างเป็นเอกภาพดังผลงานที่สร้างสรรค์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=