2714_2803
5 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๘ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕ สัมพันธ์อันดีของประเทศสยามและรัสเซีย จึงไม่กล้าที่จะ หักหาญกับประเทศสยามเช่นที่ทำกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระปรีชาสามารถ และเทิดพระเกียรติพระองค์ สมาคมสมาพันธ์การถ่ายภาพไทย ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการถ่ายภาพ ๑๘ คน ได้ประชุม พิจารณาเรื่อง พระบิดาแห่งการถ่ายภาพไทย และที่ประชุมมีมติ ให้ทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เรื่อง “การเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระบิดาแห่งการถ่ายภาพไทย” ด้วยเหตุผล ๖ ประการ คือ ๑. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่มีความสน พระราชหฤทัยอย่างมากในวิชาการถ่ายภาพจนเป็นที่ประจักษ์ ๒. ทรงมีพระวิริยะและทรงได้อุทิศเวลาในการถ่ายภาพ ทรง ศึกษาทดลอง ค้นคว้า ให้ได้ภาพถ่ายที่ทรงคุณค่า ๓. ทรงเป็น เอตทัคคะทางด้านการถ่ายภาพที่มีความชำนาญ ทั้งในภาค ทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเด่นชัด ๔. ทรงมีผลงานถ่ายภาพ พระราชนิพนธ์ และพระราชวินิจฉัย ตลอดจนการจดบันทึกที่ สอดคล้องในวิชาการถ่ายภาพ อันเป็นมรดกที่ทรงคุณค่าทั้งด้าน วิชาการและด้านประวัติศาสตร์ของชาติ ๕. ทรงส่งเสริมการ ถ่ายภาพให้เป็นที่แพร่หลาย เพื่อถ่ายทอดวิชาความรู้และพัฒนา จนเกิดความเจริญก้าวหน้ามาตราบเท่าทุกวันนี้ ๖. ทรงใช้ ประโยชน์จากภาพถ่ายในการบันทึกพระราชกรณียกิจ สภาพ บ้านเมือง และวิถีชีวิตของประชาชนซึ่งเป็นมรดกที่มีคุณค่า อย่างมากในปัจจุบัน และใช้ภาพถ่ายในการดำเนินวิเทโศบาย ต่างประเทศด้านความมั่นคงอย่างดียิ่ง คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติได้พิจารณาเห็นชอบและ ดำเนินการต่อไปยังคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เห็นชอบให้ถวายพระราชสมัญญาแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะพระบิดา แห่งการถ่ายภาพไทย และกำหนดให้วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวันถ่ายภาพไทย ศ. ดร.อานนท์ บุณยะรัตเวช ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อการสร้างความยั่งยืนด้านอาหารสุขภาพ ความโดยสรุปว่า การเพิ่มจำนวนประชากรโลกอาจจะก้าวข้ามไปสู่วิกฤติที่เกิด ความยุ่งเหยิงทางชีววิทยาในอนาคตได้ ความยุ่งเหยิงเหล่านี้ มีผลไปถึงสภาวะเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม การจัดหาแหล่ง อาหารที่ไม่เพียงพอ ระบบสุขภาพที่คุณภาพไม่ดี รวมถึงการ ให้การดูแลรักษาทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอต่อประชากร และ การขาดที่อยู่อาศัยหรือระบบการจัดการที่อยู่อาศัยที่ไม่คุณภาพ ยิ่งไปกว่านั้น จะเกิดภาวะซ้ำเติม ซึ่งเป็นผลเชิงลบตามมา ได้แก่ โรคภัยไข้เจ็บ ภัยพิบัติ การอดอยาก และปัญหาสุขภาพ อนามัยที่แย่ลง ภาวะประชากรล้นโลกจะทำให้เกิดการรุกป่า และการก่อชุมชนเมือง ความหลากหลายทางชีวภาพถูกทำลาย ก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ การแก้ปัญหาเรื่องนี้ต้อง ประยุกต์ประโยชน์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมกับการ ใช้วิทยาศาสตร์สุขภาพและการเกษตร โดยการบูรณาการ ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศวิทยา พรรณพืชชนิด ต่าง ๆ และผืนแผ่นดินในการเพาะปลูกพืช โดยมุ่งเป้าสู่ การเกษตรเพื่อส่งผลทางการแพทย์ สุขภาพ และอาหาร คุณภาพ ซึ่งจะเป็นหนทางที่ดีต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่จะนำ ไปสู่การแก้ไขปัญหาที่จะตามมาจากประชากรล้นโลก เนื่องจาก ความหลากหลายทางชีวภาพทำให้มนุษย์เราได้แร่ธาตุสารอาหาร ที่เป็นส่วนสำคัญต่อร่างกาย ที่จะสร้างความบริบูรณ์ให้กับ สุขภาพเป็นอย่างดี การวิจัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและการสร้าง ห่วงโซ่คุณค่าทางด้านพืช ที่สามารถสร้างผลผลิตจำนวนมากได้ จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างระบบสุขภาวะและการจัดการ อาหารให้เพียงพอต่อประชากรโลก ผู้บรรยายได้เสนอรูปแบบใน การรวมเข้าด้วยกันระหว่างธรรมชาติดั้งเดิมและความรู้ใหม่ ๆ ทางการเกษตร และวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เป็นไปตาม แนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง • วันพุธที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง มาตรฐานการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ ISO 22301 (ISO 22301: Business Continuity Management Standard) ความโดยสรุปว่า ในรอบทศวรรษที่ผ่านได้เกิดภัย พิบัติธรรมชาติครั้งใหญ่หลายครั้ง และเกิดปัญหาการก่อการ ร้ายที่ทำให้เกิดความสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตจำนวนมาก ความสูญเสียเหล่านี้ทำให้องค์การว่าด้วยการมาตรฐานระหว่าง ประเทศ (ISO หรือ International Organization of Standardization) ต้องตั้งทีมวิชาการพัฒนามาตรฐาน ISO 22301 ซึ่งเป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการจัดการความต่อเนื่องทาง ธุรกิจ จนได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกและประกาศใช้ ไปเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ที่น่าสนใจคือ สำนักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับเรื่อง นี้มาก่อน ได้นำร่างรายละเอียดมาแปล และนำประกาศเป็น มาตรฐาน มอก. ๒๒๓๐๑ เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ และนำลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ วันที่ประกาศเป็นช่วงก่อนที่ ISO จะประกาศใช้ มาตรฐานเดียวกันนี้ ซึ่งนับเป็นเรื่องแปลกสำหรับหน่วยงานนี้ เพราะปรกติมักจะต้องรอให้ ISO ประกาศก่อน จึงจะประกาศ ยอมรับมาตรฐานนั้น ๆ ตาม การประกาศล่วงหน้าในทางหนึ่งก็แสดงให้เห็นว่า สมอ. สนใจในเรื่องนี้มาก แต่ในอีกทางหนึ่งกลับเป็นข้อเสีย เพราะ เนื้อหาใน ISO 22301 มีความแตกต่างจากของ มอก. ๒๒๓๐๑ หลายประเด็น ผลก็คือ หน่วยงานที่ใช้มาตรฐาน มอก. ๒๒๓๐๑ ครบถ้วน จะประเมินไม่ผ่านมาตรฐาน ISO 22301 ประเด็นที่ มาตรฐาน มอก. ๒๒๓๐๑ ขาดไปคือ การระบุวิธีการจัดทำและ ควบคุมเอกสาร แนวทางการกำหนดและจัดสรรทรัพยากร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=