2714_2803
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ศ. ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การศึกษาไทยกับทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องก้าวให้พ้นกับ ดักของรูปแบบโรงงานใหม่ ความโดยสรุปว่า การดำรงชีวิต ของบุคคลหลังยุคอุตสาหกรรม (Post-industrial) มีลักษณะ หลายประการ ได้แก่ การมีอาชีพหลากหลาย ทำงานหลายอย่าง ไม่มีความชัดเจนในตัวตน การเรียน-การงานขาดความสัมพันธ์ มีโอกาสทำงานอิสระ ตกงานบ่อย มีรายได้ไม่แน่นอนสถานภาพ ปรับเปลี่ยนขึ้น-ลง อนาคตไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนเครือข่าย มีการเปลี่ยนคู่ความสัมพันธ์ และเกิดความไม่มั่นคงไม่แน่นอน โลกยุคใหม่มีความหลากหลาย มีลักษณะเฉพาะกลุ่ม คนใน ยุคนี้จึงต้องรู้จักการปรับตัวและมีความแคล่วคล่องว่องไว เรียน รู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ ตามให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก มี เหตุผล และพร้อมรับสื่อใหม่ได้ มีความคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ รู้จักประเมินสถานการณ์ เรียนรู้ปัญหา มีสำนึกร่วม และร่วมแก้ ปัญหา รู้จักตัวเองและเป็นตัวของตัวเอง มีความดีความงาม เฉพาะตัว มีทางเลือกและสร้างทางเลือกของตนเอง มีผลงาน หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มีการสื่อสารทั้งการพูดและการเขียนที่ดี เข้าถึงข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล การใฝ่รู้และมีจินตนาการ การเปลี่ยนรูปแบบโรงเรียนใหม่ให้ตอบสนองสังคมยุคใหม่ มีลักษณะสนองนานาชาติ ซึ่งมีมาตรฐานหลากหลาย มีระบบ การเรียนยืดหยุ่น มีการจัดการโดยใช้เทคโนโลยี เพิ่มองค์ ประกอบ หลักสูตร และเทคโนโลยีใหม่ และเน้นระบบ อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น การศึกษาเพื่อการซื้ออย่างฉลาดและ ผลิตอย่างสร้างสรรค์ ต้องรู้จักตัวเองอย่างดีพอ เข้าใจ วัฒนธรรมใหม่ เรียนรู้วิถีชีวิตของโลกยุคใหม่ เรียนรู้เข้าใจการ เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ตามให้ทันการเปลี่ยนแปลง พัฒนา ผลงานเป็นของตนเอง และมีจิตสำนึกในการสร้างสิ่งใหม่เป็นไป เรื่อย ๆ ผู้เรียนต้องเรียนรู้ธรรมชาติมนุษย์และรู้จักตนเอง เรียนรู้แนวคิดไทยและวัฒนธรรมไทยอย่างวิเคราะห์ เข้าใจ วัฒนธรรมสมัยใหม่ในเชิงที่มาและผลกระทบ เข้าใจกระบวนการ ผลิตและสามารถพัฒนาการผลิตขึ้นเองได้ มองเห็นคุณค่าที่แท้ ของสิ่งของและนวัตกรรม ตามทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและ มีส่วนร่วม เข้าใจคนอื่นและรู้วิธีการนำการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน มีความเข้มแข็งในจริยธรรมและความเหมาะสมดีงาม ออกแบบ และพัฒนาทิศทางของสังคมที่เหมาะสมได้ และมีบทบาทใน การนำการเปลี่ยนแปลงที่ดีงาม สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ.ศักดา ศิริพันธุ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งการถ่ายภาพ ไทย ความโดยสรุปว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ หรือสมเด็จพระปิยมหาราช ทรงเป็นอมตบุคคลที่มหาชนเคารพบูชาและเทิดทูนด้วย ความจงรักภักดีไม่เสื่อมคลายมากกว่า ๑ ศตวรรษ ด้วย พระบารมี พระปรีชาสามารถ และพระปรีชาญาณที่ทรง สามารถประเมินภัยจากการเมืองโลกโดยถ่องแท้ และมีพระวิสัย ทัศน์กว้างไกลในการเตรียมรับให้ทันต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต โดยได้ทรงเร่งพัฒนาการศึกษาของพลเมือง ทรง ปลดเปลื้องพวกทาสให้เป็นไทโดยไม่เสียเลือดเนื้อเพื่อสร้าง ความเสมอภาคภายในราชอาณาจักร ทรงทำนุบำรุง แก้ไข ดัดแปลงขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งปฏิรูปการเมืองการ ปกครองให้สอดคล้องกับระบบสากล อีกทั้งพัฒนาการสื่อสาร การคมนาคม สาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนา อาชีพเกษตรกรรมและพาณิชยกรรม รวมความเป็นเอกภาพ ในชาติให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว ทรงดำเนินวิเทโศบายสร้าง เครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างดียิ่ง จึงทำให้ ประเทศไทยเป็นชาติเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รอดพ้น การสูญเสียอธิปไตยให้แก่มหาอำนาจนักล่าอาณานิคมสมัย ๑๒๐ ปีที่ผ่านมา นอกจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถและทรงพระคุณอัน ประเสริฐดังกล่าวข้างต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวยังมีพระคุณูปการต่อการพัฒนาการถ่ายภาพใน ประเทศไทยอย่างมาก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ แรกที่มีความสนพระราชหฤทัยอย่างจริงจังในวิชาการถ่ายภาพ จนเป็นที่ประจักษ์ ทรงมีพระวิริยะและทรงอุทิศเวลาในการ ถ่ายภาพตลอดจนการล้างอัดขยายภาพด้วยพระองค์เอง ทรง ศึกษาทดลอง ค้นคว้าให้ได้ภาพถ่ายที่ทรงคุณค่า ทรงเป็น เอตทัคคะทางด้านการถ่ายภาพที่มีความชำนาญทั้งในภาค ทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเด่นชัด ทรงมีผลงานภาพถ่ายทั้งใน ประเทศขณะเสด็จประพาสต้น และในต่างประเทศเมื่อเสด็จ พระพาสยุโรป ครั้งที่ ๑ และ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องการ ถ่ายรูปเมืองไทยซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการถ่ายภาพแบบ ดาแกร์โรไทป์ การถ่ายภาพแบบกระจกเปียกและกระจกแห้ง แล้วตีพิมพ์ในหนังสือกุมารวิทยา ใน พ.ศ. ๒๔๓๘ ทรงพระราช- วินิจฉัยผลงานถ่ายภาพ เช่น การผิดเพี้ยนของภาพ (distortion) ตลอดจนการจดบันทึกเหตุการณ์ สถานที่ วัน เวลาที่ถ่าย อันเป็นมรดกที่ทรงคุณค่าทั้งด้านวิชาการและด้านประวัติศาสตร์ ทรงส่งเสริมการถ่ายภาพให้เป็นที่แพร่หลาย โดยการจัด ประกวดถ่ายภาพใน พ.ศ. ๒๔๔๘ เพื่อถ่ายทอดและกระจายวิชา ความรู้ด้านการถ่ายภาพไปยังต่างจังหวัดจนเกิดความเจริญ ก้าวหน้ามาตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงใช้ประโยชน์จากพระบรม- สาทิสลักษณ์ในการดำ เนินวิ เทโศบายต่างประ เทศด้าน ความมั่นคงของชาติอย่างดียิ่ง ในครั้งที่พระองค์เสด็จประพาส ยุโรป ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้ทรงฉายพระบรมรูปกับสมเด็จ พระเจ้าซาร์ นิโคลัส ที่ ๒ แห่งรัสเซียซึ่งเป็นมหาอำนาจในยุโรป ขณะนั้น และภาพนั้นได้เผยแพร่ลงหนังสือพิมพ์ทั่วยุโรป ทำให้ ประเทศมหาอำนาจตะวันตกทั้งหลายประจักษ์ชัดถึงความ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=