2714_2803
3 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๘ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕ พยายามจะให้ได้ฉันทามติ แต่กรรมการหรือสมาชิกในที่ประชุม บางคนคัดค้านและยืนยันจะให้ลงมติ (๙) การมีส่วนได้เสียของกรรมการ อันเนื่องมาจากสาเหตุ ๓ ประการ คือ สถานภาพเฉพาะตัวของกรรมการ ความ สัมพันธ์ทางเครือญาติ และเหตุอื่นใดนอกจากข้างต้นเกี่ยวกับ เจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณา ทางปกครอง (๑๐) คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และสถานภาพของ กรรมการ ซึ่งกรรมการจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ ต้องห้ามตามกฎหมาย การทำงานของคณะกรรมการ จึงต้องใช้หลักธรรมาภิบาล คือ โปร่งใส มีส่วนร่วม รับผิดชอบ และให้ความร่วมมือกัน ตลอดจนต้องหลักภาวะผู้นำในการนำการประชุมไปสู่เป้าหมาย ให้บรรลุผลสำเร็จ • วันอังคารที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.จตุรนต์ ถิระวัฒน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ข้อ พิจารณาทางกฎหมายสำหรับการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของ บุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มายังประเทศไทย ความโดยสรุปว่า ในการก้าวเข้าสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีการกำหนดเรื่องการเคลื่อนย้าย บริการอย่างเสรีอันเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งซึ่งจะนำไปสู่การเป็น ตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียวของประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน ซึ่งต้องดำเนินการภายในกรอบของความตกลง อาเซียนว่าด้วยการค้าบริการซึ่งทำขึ้นก่อนหน้านี้ ด้วยการ พัฒนาและแนวทางปฏิบัติขึ้นใหม่ให้อยู่ในรูปของแผนงานที่ แสดงให้ปรากฏชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการ กรอบเวลาที่ชัดเจน ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถยอมรับเงื่อนไขและใบอนุญาต หรือใบรับรองซึ่งประเทศสมาชิกอื่นออกให้เพื่ออนุญาตหรือ รับรองบุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพจากประเทศสมาชิกเข้ามา ประกอบวิชาชีพในดินแดนของตนได้ โดยผ่านการทำความตกลง ว่าด้วยการยอมรับร่วมกันในเรื่องคุณสมบัติวิชาชีพ ซึ่งเป็น ความตกลงที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนและส่งเสริมการ เคลื่อนย้ายอย่างเสรีด้านบริการสำหรับบุคคลธรรมดาผู้ให้ บริการวิชาชีพในสาขาต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน ๘ สาขาวิชา คือ วิศวกรรม พยาบาล สถาปัตยกรรม การสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ บัญชี และล่าสุดคือ การท่องเที่ยว การเคลื่อนย้าย บุคคลธรรมดาผู้ให้บริการวิชาชีพเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งประการ หนึ่งของการเปิดเสรีการค้าบริการในรูปแบบของการให้บริการ โดยบุคคลธรรมดา การบริการวิชาชีพเป็นเพียงหนึ่งในสาขา บริการย่อยในสาขาบริการธุรกิจซึ่งก็เป็นประเภท ๑ ใน ๑๒ ประเภทของบริการที่อยู่ในขอบเขตของความตกลงว่าด้วย การค้าบริการ (GATS) ซึ่งใช้เป็นกรอบทางกฎหมายในเรื่องนี้ สำหรับการค้าระหว่างประเทศ โครงการนี้ส่งผลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และโดยเฉพาะ อย่างยิ่งด้านกฎหมาย ซึ่งพัฒนาจากการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี ของผู้ให้บริการวิชาชีพในอาเซียน เริ่มจากการเปิดเสรีการค้า บริการไปสู่การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีในกรอบของประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน โดยอาศัยเครื่องมือทางกฎหมายในการ ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย กล่าวคือ ความตกลงอาเซียนว่า ด้วยการยอมรับร่วมกันเกี่ยวกับคุณสมบัติทางวิชาชีพเพื่อการ เคลื่อนย้ายอย่างเสรีของบุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพซึ่งกำหนด กลไกในการดำเนินการด้วยการมอบหมายให้รัฐสมาชิกอาเซียน จัดตั้งองค์กรภายในเพื่อรับผิดชอบเรื่องการรับรองร่วมกัน สำหรับคุณสมบัติทางวิชาชีพต่าง ๆ และทำงานประสานกันกับ องค์กรของสมาคมอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการ ศึกษา การขึ้นทะเบียน และการออกใบอนุญาต ความสามารถ และประสบการณ์ในการทำงาน อย่างไรก็ดี ตามความตกลง เกี่ยวกับสาขาวิชาชีพต่าง ๆ นี้ รัฐสมาชิกอาเซียนมีหน้าที่เพียง ต้องอำนวยความสะดวกในการรับรองคุณสมบัติทางวิชาชีพ แต่มิใช่พันธกรณีในการให้สิทธิโดยอัตโนมัติ และส่งผลกระทบ ต่อกฎหมายไทยที่ต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับพันธกรณีต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องกฎหมายคนเข้าเมือง กฎหมายว่าด้วยการ ทำงานของคนต่างด้าว กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและกำกับ ดูแลการประกอบวิชาชีพ และกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมและ คุ้มครองสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในภาพรวมแล้ว ในทางปฏิบัติ การดำเนินการของอาเซียนยังมีข้อจำกัดอยู่พอสมควร ทั้งในแง่ ของขอบเขตของผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งครอบคลุมเพียงผู้ให้บริการ วิชาชีพบางสาขา และในแง่ของการดำเนินการที่ยังต้องขึ้นอยู่กับ เงื่อนไขในตารางข้อผูกพันและการอำนวยความสะดวกให้ได้รับ การรับรองสิทธิโดยองค์กรภายในของรัฐ ดังนั้น ปัจจัยที่จะนำไป สู่ความสำเร็จคือ เจตนารมณ์ทางการเมืองของรัฐสมาชิกเอง รวมทั้งความมุ่งมั่นที่จะสร้างความพร้อมของแต่ละรัฐสมาชิก ซึ่งมีความแตกต่างกันอยู่พอสมควรในเรื่องระดับการพัฒนา ทางเศรษฐกิจและสังคม ในก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประเทศ ไทยในฐานะรัฐสมาชิกหนึ่งก็มีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อผูกพันต่าง ๆ ในเรื่องการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของบุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพ โดยจำต้องปรับปรุงกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับพันธกรณี ระหว่างประเทศที่ได้จัดทำไว้ไปพร้อมกับการเตรียมความพร้อม ในด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับผู้ให้บริการที่ได้รับสิทธิที่เข้ามาให้ บริการในประเทศ รวมถึงการเดินทางไปให้บริการในประเทศ สมาชิกอาเซียนด้วย ซึ่งเงื่อนไขสำคัญที่สุดประการหนึ่งอันจะ ทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุดก็คือ คุณภาพและ มาตรฐานการศึกษา และสถาบันกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความสามารถในการใช้ภาษาทางการ ของอาเซียน ซึ่งได้แก่ ภาษาอังกฤษ ตลอดจนภาษาท้องถิ่น ของรัฐสมาชิกเองด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=