2713_2353
7 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๗ เดือนตุลาคม ๒๕๕๕ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ แค่ผงสีลักษณะละเอียด เมเยอร์ได้ให้ความหมายของคำ tempera หรือสีฝุ่นว่า “กลวิธีหนึ่งของการเขียนภาพระบายสีที่ใช้สีที่ทำขึ้นโดย การผสมสารสีกับของเหลวอิมัลชันที่เข้ากันได้กับน้ำ” คำ tempera หรือสีฝุ่น จึงหมายถึง วิธีการเขียนภาพด้วยผงสีผสมอิมัลชัน คือ เป็น กลวิธี ไม่ใช่วัสดุ คลาร์กบอกว่า คำ tempera มาจากภาษาละติน temperare มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า to mix หรือ “ใช้ผสม” คือต้องใช้ของเหลวอิมัลชันผสมกับผงสีด้วย ดังนั้น บทนิยาม ของคำ สีฝุ่น ในพจนานุกรมฯ ควรปรับปรุงเป็น “น. การระบายสีวิธีหนึ่ง ด้วยสีที่ทำขึ้นจากผงสีซึ่งมีลักษณะละเอียด ผสมกับกาวที่เข้ากันได้ กับน้ำ” คำ ศิลปะประยุกต์ ในพจนานุกรมฯ มีบทนิยามว่า “กรรมวิธี ในการนำทฤษฎีและหลักการทางศิลปะไปใช้ในภาคปฏิบัติ เพื่อพัฒนา ศิลปะให้มีความงามหรือเป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นเป็นต้นอย่าง ในการออกแบบเครื่องแต่งกาย” ส่วนในพจนานุกรมศัพท์ศิลปะฯ คำ ศิลปะประยุกต์ บัญญัติจากคำ applied art มีความหมายว่า “ศิลปะประเภทหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ” ซึ่งสอดคล้องกับลูซี-สมิทที่ให้ความหมายของคำ applied art หรือ ศิลปะประยุกต์ ว่า “งานศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อให้มีประโยชน์ใช้สอย เป็นสำคัญ แต่ก็มีเจตนาให้มีความพอใจทางสุนทรียภาพด้วย” ดังนั้น บทนิยามของคำ ศิลปะประยุกต์ ในพจนานุกรมฯ ควรปรับปรุง เป็น “น. งานศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อให้มีความงามและประโยชน์ใช้สอย อย่างเช่น การออกแบบเครื่องแต่งกาย” คำ ภาพหุ่นนิ่ง ในพจนานุกรมฯ มีบทนิยามว่า “ภาพวาดหรือ ภาพถ่ายของสิ่งที่ไม่เคลื่อนไหว” ส่วนในพจนานุกรมศัพท์ศิลปะฯ คำ ภาพหุ่นนิ่ง บัญญัติจากคำ still life และให้ความหมายว่า “ภาพ ลายเส้นหรือภาพเขียนของสิ่งไร้ชีวิต ซึ่งศิลปินจัดกลุ่มวางไว้ตามใจ ชอบ” ซึ่งสอดคล้องกับคลาร์กที่ให้ความหมายของคำ still life หรือ ภาพหุ่นนิ่งว่า “ภาพเขียน ภาพวาด หรือภาพถ่ายรูปสิ่งที่ไม่มีชีวิต (inanimate objects) ที่มีการจัดวาง” และสอดคล้องกับ Encyclopedia Amcricana ที่บอกว่า คำ still life หรือ ภาพหุ่นนิ่ง เรียกในภาษาฝรั่งเศสว่า นาตูร์ ม็อร์ท (nature morte) ซึ่งหมายถึง ภาพสิ่งที่ไม่มีชีวิต ดังนั้น บทนิยามของคำ ภาพหุ่นนิ่ง ในพจนานุกรมฯ ควรปรับปรุงเป็น “น. ภาพวาดหรือภาพถ่ายของสิ่งที่ไม่มีชีวิต” คำ โมเสก ในพจนานุกรมฯ มีบทนิยามว่า “เรียกเครื่องเคลือบ ดินเผาแผ่นเล็กๆ มีสีต่างๆ สำหรับปูพื้นหรือบุผนัง (อ. mosaic)” ส่วนในพจนานุกรมศัพท์ศิลปะฯ คำนี้ใช้ว่า งานโมเสก บัญญัติจากคำ mosaic และให้ความหมายว่า “การใช้วัสดุชิ้นเล็ก ๆ เรียงต่อกัน เป็นภาพหรือลวดลายประดับ ติดด้วยกาวหรือปูนบนผนังพื้นหรือ เพดาน” ซึ่งสอดคล้องกับคลาร์กที่ให้ความหมายคำ mosaic ว่า “กลวิธีการสร้างภาพหรือลวดลายด้วยกระจกหรือหินสีชิ้นเล็ก ๆ ฝังประดับในพื้นปูนปลาสเตอร์หรือซีเมนต์” เมเยอร์ให้ความหมายของ คำ mosaic ไว้ละเอียดมากขึ้นว่า “ศิลปะหรือกลวิธีการสร้างภาพหรือ ลวดลายด้วยวัสดุสีชิ้นเล็ก ๆ (tesserae) ฝังประดับในปูนสอ (mastics) หรือปูนซีเมนต์อ่อน (grout)” บทนิยามคำ โมเสก ในพจนานุกรมฯ ที่เรียกเครื่องเคลือบดินเผาแผ่นเล็ก ๆ มีสีต่าง ๆ สำหรับปูพื้นหรือบุผนัง จึงเป็นบทนิยามของคำ tesserae ดังนั้น บท นิยามของคำ โมเสก ในพจนานุกรมฯ ควรปรับปรุงเป็น “น. การใช้ เครื่องเคลือบดินเผาสีชิ้นเล็ก ๆ เป็นต้น ฝังประดับเป็นภาพหรือ ลวดลายบนพื้นหรือผนัง. (อ. mosaic)” ศ. ดร.อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง เมื่อออกเสียงคำว่า เพชรบุรี เป็น [เพ็ดชะ/บูรี] ทำไม [บุรี] จึง กลายเป็น [บูรี] ความโดยสรุปว่า ปรกติคำว่า เพชรบุรี จะออกเสียง ว่า [เพ็ดบุรี] แต่มีพวกหลงใหลสมาสจะให้อ่านว่า [เพ็ดชะบุรี] แต่ เมื่อใดที่อ่านแบบสมาส บุรี จะกลายเป็น [บูรี] โดยอัตโนมัติ ครูภาษา ไทยจะไม่ได้ยินเพราะยังถูกครอบงำทางสายตาและสมองว่าเป็น บุรี เหมือนเดิม ครูภาษาไทยมักจะสอนว่าเมื่อนำคำภาษาบาลีสันสกฤต ๒ คำมาประสมกัน (สมาสกัน) เป็นคำคำเดียว ถ้าเสียงสุดท้ายของคำ ไม่มีเสียง [อิ] หรือ [อุ] ก็ให้แทรกเสียง [อะ] เช่น เวช+ กรรม = เวชกรรม [เวดชะกำ] แต่ถ้าเสียงสุดท้ายมีเสียง [อิ] หรือ [อุ] ก็ให้ ออกเสียง [อิ] หรือ [อุ] ด้วย เช่น วุฒิภาวะ [วุดทิพาวะ] เมรุมาศ [เมรุมาด] แต่ครูภาษาไทยไม่เคยบอกว่า ยานพาหนะ, โศกศัลย์ และ คำอื่น ๆ อีกมากที่ไม่ออกเสียงเนื่องแบบสมาสโดยไม่บอกเหตุผล ครูภาษาไทยไม่ใส่ใจเรื่องมาตรา (mora) มุขยัต (prominence) และ จังหวะ (rhythm) ในภาษาไทย การออกเสียง คำว่า เพชรบุรี เป็น [เพ็ดชะบุรี] โดยลงมุขยัตที่ พยางค์ [ชะ] เป็นการเพิ่มมาตราลง ในส่วนหน้าของคำ ฉะนั้น สมองจะสั่งการโดยอัตโนมัติให้เพิ่มมาตรา ในส่วนหลังของคำจาก [อุ] เป็น [อู] เพื่อให้สอดคล้องกับจังหวะในการ ออกเสียง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=