2713_2353

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน author provided lessons of learning to implicate the tie-in between science and art by letting the child’s active involvement in science learning through art activities. for instances, making stained glass windows for the light study, the construction of a collage with the items collected during activity on a field trip. and playground drawing of animal under study. สำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ.เดชา บุญค้ำ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง พระพุทธเจ้าหลวง กับต้นไม้และงานภูมิทัศน์ : พระราชหัตถเลขาโปรดเกล้าฯ พระ ราชทานเจ้าพระยาวรวงศ์พิพัฒน์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๔๕๓ ความโดยสรุปว่า การศึกษาภูมิหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวหรือพระปิยมหาราช ทำให้ทราบว่าทรงโปรดต้นไม้ เป็นอย่างยิ่ง เอาพระราชหฤทัยใส่จนถึงรายละเอียดอยู่ตลอดเวลา ทั้งการเลือกชนิดของต้นไม้ที่จะลงปลูกตามที่ต่าง ๆ ทรงรู้จักต้นไม้ มากมายหลายชนิดรวมทั้งเทคนิคในการปลูกและการดูแลรักษา ทรงตรวจงานด้วยพระองค์เองบ่อยครั้ง ทรงให้ความสำคัญแก่การ ปลูกต้นไม้ถนนเป็นอันมาก หากเมื่อเทียบกับงานภูมิทัศน์ในปัจจุบัน กล่าวได้ว่าพระองค์ทรงตระหนักรู้ในงานก่อสร้างภูมิทัศน์อย่างดียิ่ง นอกจากนี้ ยังทรงมีความเป็นนักออกแบบภูมิทัศน์อยู่มาก มีสาย พระเนตรทั้งด้านศิลปะ โดยเฉพาะเอกภาพและความกลมกลืน ด้าน การใช้สอยและด้านเทคนิคปลูกพืชพรรณ และการก่อสร้างซึ่งมิใช่ จำกัดเฉพาะงานสร้างสวนเท่านั้น ยังรวมงานด้านภูมิทัศน์เมืองอีกด้วย ซึ่งสนพระราชหฤทัยดูแลมาตลอดพระชนมชีพ ผู้บรรยายได้เรียกร้องให้ทุก ๆ เมืองในประเทศไทยได้ให้ ความสำคัญกับต้นไม้ถนน เพื่อเป็นการเจริญรอยตามพระยุคลบาท ควรปลูกด้วยความรัก ปลูกอย่างมีศิลปะและปลูกอย่างถูกต้องตาม หลักวิชา ซึ่งเป็นการบรรเทาภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจากภาวะ โลกร้อนที่กำลังคุกคามมวลมนุษย์รุนแรงขึ้น เพราะต้นไม้เมืองช่วยลด ปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองและสามารถเก็บกักคาร์บอน ไดออกไซด์ได้ดีและยั่งยืนที่สุด ทั้งยังทำให้เมืองน่าอยู่มากขึ้นอีกด้วย รศ.มาลิทัต พรหมทัตตเวที ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ศัพท์ ที่ว่าด้วยอาหารการกิน ความโดยสรุปว่า ในบรรดาปัจจัย ๔ ที่จำเป็น สำหรับชีวิตมนุษย์คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษา โรคนั้น จะเห็นได้ว่าสิ่งที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรกคือ อาหาร เพราะ ถ้าขาดอาหารร่างกายมนุษย์จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ในขณะที่อีก ๓ ปัจจัย มีความสำคัญรองลงไป เพราะถึงไม่มีเสื้อผ้าใส่ ไม่มีบ้าน ไม่มี ยารักษาโรค มนุษย์ก็ยังมีชีวิตรอดได้ ดังนั้น ศัพท์ในภาษาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกินจึงมีมากมาย ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น ศัพท์ที่ หมายถึงอาหาร ศัพท์ที่แปลว่ากินอาหาร ศัพท์เกี่ยวกับสถานที่ประกอบ หรือเตรียมอาหาร ศัพท์เกี่ยวกับสถานที่รับประทานอาหาร ศัพท์ ที่หมายถึงที่ขายอาหาร ศัพท์ที่หมายถึงมื้ออาหาร และศัพท์ที่เกี่ยวกับ ภาชนะและเครื่องใช้ในการรับประทานอาหาร • วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ.อัศนีย์ ชูอรุณ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “ศัพท์ศิลปะสากล ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน” ความโดยสรุปว่า ใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ มีศัพท์ศิลปะสากล รวมอยู่ด้วยจำนวนมาก ศัพท์เหล่านี้บางศัพท์มีความหมายไม่ตรงกับ ศัพท์ศิลปะสากลใน พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๑) เมื่อพบศัพท์ที่ พจนานุกรมทั้ง ๒ เล่ม ให้ความหมายแตกต่างกัน ก็ศึกษาเปรียบเทียบ กับเอกสารอื่น คือ The Harper Collins Dictionary of Art Term & Technique ของราล์ฟ เมเยอร์ Oxford Concise Dictionary of Art Terms ของไมเคิล คลาร์ก The Thames & Hudson Dictionary of Art Terms ของเอดวาร์ด ลูซี-สมิท และ Encyclopedia Americana ศัพท์ในพจนานุกรมฯ ที่พบว่ามีบทนิยาม ไม่ตรงกับความหมายของศัพท์ศิลปะสากลได้แก่คำ ประติมากรรม สีฝุ่น ศิลปะประยุกต์ ภาพหุ่นนิ่ง และโมเสก คำ ประติมากรรม ในพจนานุกรมฯ มีบทนิยามว่า “ศิลปะสาขา หนึ่งในจำพวกวิจิตรศิลป์เกี่ยวกับการแกะสลักไม้ หินอ่อน โลหะ เป็นต้น ให้เป็นรูปหรือลวดลายต่าง ๆ” ส่วนในพจนานุกรมศัพท์ศิลปะฯ คำ ประติมากรรม บัญญัติจากคำ sculpture และให้ความหมายว่า “งานศิลปกรรมที่สร้างเป็นรูปทรง ๓ มิติ โดยวิธีการแกะสลัก การปั้น หรือการผสมผเส” ซึ่งสอดคล้องกับเมเยอร์ ที่ให้ความหมายคำ sculpture ว่า “การสร้างผลงานรูปแบบ ๓ มิติ โดยการแกะสลัก (carving) การปั้น (modeling) หรือการประกอบชิ้นส่วน (assembly)” และได้อธิบายความหมายของการแกะสลักว่า “การขุด หรือแกะวัสดุส่วนที่ไม่ต้องการออกไป” โลหะจึงไม่ใช้ในงานแกะสลัก เพราะเป็นวัสดุแข็งที่แกะส่วนที่ไม่ต้องการออกไปได้ยาก ดังนั้น บทนิยามคำ ประติมากรรม ในพจนานุกรมฯ ควรปรับปรุงเป็น “น. ศิลปะสาขาหนึ่งในจำพวกวิจิตรศิลป์เกี่ยวกับการแกะสลักไม้ หินอ่อน เป็นต้น ให้เป็นรูปหรือลวดลายต่าง ๆ” คำ สีฝุ่น ในพจนานุกรมฯ มีบทนิยามว่า “สีสำหรับระบายชนิดหนึ่ง ทำขึ้นจากผงสีซึ่งมีลักษณะละเอียด เนื้อสีค่อนข้างข้น” บทนิยามนี้ ไม่ได้บอกว่าต้องผสมผงสีกับสิ่งใดจึงทำให้มีเนื้อสีค่อนข้างข้นเพื่อใช้ เป็นสีสำหรับระบาย ส่วนในพจนานุกรมศัพท์ศิลปะฯ คำ สีฝุ่น บัญญัติ จากคำ tempera มีความหมายว่า “ผงสีซึ่งผสมกับอิมัลชัน” ไม่ใช่เป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=