2713_2353

5 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๗ เดือนตุลาคม ๒๕๕๕ หนังสือต้องห้าม แต่การคลี่คลายทางการเมืองหลัง พ.ศ. ๒๕๒๑ ทำให้ “แม่” สำนวนแปลของจิตร ภูมิศักดิ์ ทั้ง ๒ ภาค ได้รับการพิมพ์เผยแพร่ ในปลาย พ.ศ. ๒๕๒๑ และเป็นสำนวนที่นิยมอ่านกันทั้งจัดพิมพ์ซ้ำ หลายครั้งจนถึงปัจจุบัน รศ.วุฒิชัย มูลศิลป์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จตรวจราชการหัวเมือง (พ.ศ. ๒๔๓๕–๒๔๕๘) ความโดยสรุปว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงพยายามดำเนินการให้หัวเมืองและประเทศราชรวมอยู่ ในราชอาณาจักรสยามตั้งแต่ต้นรัชสมัย โดยส่งข้าหลวงต่างพระองค์ไป แก้ไขปัญหาหรือประจำในหัวเมืองหลายแห่ง อีกทั้งมีการรวมเมืองเข้า เป็นแบบมณฑล แต่ก็ยังไม่เป็นระบบเดียวกันทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากในการปกครองหัวเมืองเกิดขึ้น ใน พ.ศ. ๒๔๓๗ เมื่อมีการ “ปันน่าที่” ให้กระทรวงมหาดไทยปกครอง หัวเมืองทั้งหมด ยกเว้นเมืองรายรอบพระนคร และมีการตั้งมณฑล เทศาภิบาลอย่างเป็นระบบ หัวเมืองทั้งหมดถูกรวมอำนาจเข้าสู่ ศูนย์กลาง มีการดำเนินการที่สำคัญหลายอย่าง ทั้งการส่งข้าหลวง เทศาภิบาลไปประจำที่มณฑลเทศาภิบาล และการตรวจราชการ เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีความสำคัญหลายประการ เช่น ทำให้เกิด แนวความคิดใหม่ในการปกครอง คือ เป็นการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข เปลี่ยนให้เจ้าเมืองมีเงินเดือนประจำ ต่อมา เมื่อมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ และข้อบังคับการปกครองหัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) ซึ่งเป็นการจัดระเบียบการปกครองหัวเมือง ในพระราชอาณาจักรให้เป็นแบบแผนเดียวกัน ตั้งแต่หมู่บ้านในระดับ ล่างสุด สูงขึ้นมาเป็นตำบล อำเภอ และเมือง (ต่อมาเรียกเป็นจังหวัด) และกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ทุกระดับไว้ อย่างชัดเจน การตรวจราชการก็มีความสำคัญมากขึ้น ตั้งแต่กรมหมื่นดำรงราชานุภาพทรงรับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวง มหาดไทย ก็ได้เสด็จตรวจราชการหัวเมืองเรื่อยมา โดยเฉพาะ พ.ศ. ๒๔๔๑ หลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติและข้อบังคับการปกครอง หัวเมือง ทรงออกตรวจราชการเป็นเวลาหลายเดือน ส่วนหนึ่งเพื่อ ประชุมชี้แจงระเบียบใหม่ในการปกครอง แก้ไขปัญหาในการปกครอง จากผู้มีอำนาจและผลประโยชน์ เป็นการช่วยผ่อนคลายการต่อต้าน จึงนับได้ว่าการตรวจราชการมีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิธีการ ปกครองจนเป็นผลสำเร็จ ทั้งการรวมเมืองทั้งหลายเข้าในพระราช- อาณาเขต และช่วยรักษาเอกราชของชาติ ด้วยเหตุนี้การตรวจ ราชการจึงเป็นส่วนสำคัญของระบบราชการไทย ดังจะเห็นได้จากการมี ตำแหน่ง “ผู้ตรวจราชการ” ในกรม กระทรวงต่าง ๆ ต่อมาจนถึงปัจจุบัน สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ.กิตติคุณ อรุณ ชัยเสรี ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ปทุมรัตน์ เจดีย์ศรีอารยวงศ์ (งานตกแต่งภายใน) ความโดยสรุปว่า ภายใน เจดีย์ตกแต่งเป็น “ธรรมเจดีย์” บรรจุพระธรรมคำสั่งสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธประวัติ เป็นคำบรรยายประกอบ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ๒๓ ปาง พร้อมทั้งภาพเขียนแสดงสถานที่ สำคัญ ๆ ของสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ถัดลงมาเป็นรูปเหมือนของ พระอริยสงฆ์ที่มรณภาพแล้ว ๒๐ รูป ทั้งหมดมิได้มีการออกแบบ ไว้ก่อน เป็นการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกให้กับโครงสร้าง ฉะนั้น ต้องระวัง เป็นพิเศษเรื่องการเลือกใช้วัสดุ เช่น ภาพเขียนสถานที่ในพุทธประวัติ ใช้วาดบนผ้าใบติดบนแผ่นแข็งที่ทนทาน แต่มีน้ำหนักเบา พระธรรม ทั้งหมดจารึกบนแผ่นกระจกซึ่งเบากว่าหินอ่อน จะใช้แผ่นหินเฉพาะที่มี พื้นที่น้อย ๆ เท่านั้น สำหรับบานหน้าต่างและประตู ใช้กรุด้วย แผ่นภาพทำด้วยอะลูมิเนียมดุนลาย ซึ่งมีน้ำหนักเบามาก ส่วนที่ยากที่สุดได้แก่ โดมตรงกลางเจดีย์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓.๕๐ เมตร ทำด้วย stained glass โครงสร้างทำด้วยท่อเหล็กกล้า ไม่เป็นสนิมอย่างบาง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๒ มิลลิเมตร ดัดโค้ง ให้เข้ากับภาพที่เขียนบนกระจก น้ำหนักกระจกและโครงสร้างรวมแล้ว ประมาณ ๒๐๐ กิโลกรัม ไม่ได้ออกแบบให้รับแรงยกจากลม จึงใช้วิธี ป้องกันมิให้เกิดแรงดันใต้โดม โดยทำช่องระบายลมที่ฐานโดยรอบ และ ตรงกึ่งกลาง ส่วนตัวกระจกต้องตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ยึดด้วยรางตะกั่วเพื่อ ให้ประกอบโค้งเป็นรูปโดมได้ สำหรับตัวกระจกสี เมื่อผ่านการเขียน ลวดลายแล้ว จึงเข้าเตาอบที่อุณหภูมิสูง ๕๐๐-๗๐๐ องศาเซลเซียส เป็นเวลา ๘ ชั่วโมง เพื่อให้สีติดแน่นทนทาน ส่วนอุณหภูมิที่ใช้จริง ขึ้นอยู่กับสีว่าเป็นสีอะไร เหลือง แดง น้ำเงิน หรืออื่น ๆ ถ้ามีหลายสี อาจต้องอบหลายครั้ง การเคลื่อนย้าย ประกอบและติดตั้ง ค่อนข้าง ยุ่งยาก เพราะกระทำในที่แคบ ๆ ในเจดีย์ซึ่งเสร็จหมดแล้ว จึงใช้ได้ อย่างเดียว คือ แรงคน ปัญหาต่าง ๆ ที่คิดว่าอาจเกิดขึ้นได้ ต้องคิดไว้ ล่วงหน้าอย่างรอบคอบ เนื่องจากสถานที่ผลิตกับสถานที่ประกอบโดม อยู่ห่างกันประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร หากมีสิ่งผิดพลาดเล็กน้อย อาจต้องกลับไปทำใหม่ที่กรุงเทพฯ ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง • วันพุธที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร. นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต ร่วมกับ ผศ. ดร.เลิศศิริร์ บวรกิตติ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร บรรยายเรื่อง Art and Science ความโดยสรุปว่า This is an edited translation of the chapter 8th in Frances Anderson’s book entitled “Art-centered Education and Therapy for Children with Disabilities”. In that article the

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=