2713_2353
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เป็นความรู้จากการเรียนรู้ และมีวิจารณญาณที่ทำให้สามารถแยกแยะ ได้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรถูก อะไรผิด ความสามารถแยกแยะได้นี้ก็ คือ เข้าสู่ ปัญญาญาณ ซึ่งเกิดจากการมีสมาธิที่ดี สามารถนำไปใช้ แก้ปัญหาชีวิต การเล่าเรียน เพื่อให้ประสบความสำเร็จ นักปฏิบัติธรรม เพื่อแสวงหาความหลุดพ้น ก็จะต้องเข้าถึงคำว่า วิปัสสนาญาณ เพื่อไปถึง ซึ่งนิพพาน เมื่อพูดถึง กฎแห่งกรรม แล้วหากพิจารณาในบริบทของ ความเป็นนักกฎหมายไม่ว่าจะอยู่ในวิชากฎหมายใด เช่น เป็นผู้พิพากษา พนักงานอัยการ นิติกร ตำรวจ และไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้กฎหมายทั้ง ทางตรงและทางอ้อม ย่อมมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการรักษา ความสงบเรียบร้อยของสังคมทั้งสิ้น เพราะกฎหมายเป็นเครื่องมือ เป็นกลไกที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดผลในทางบวกหรือทางลบได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า กฎหมายความจริงดีอยู่แล้ว แต่จุดใหญ่ที่สำคัญที่สุดในการธำรง รักษาความยุติธรรมในบ้านเมือง จึงได้แก่การสร้างนักกฎหมายที่ดี ที่จะสามารถวิเคราะห์และใช้กฎหมายได้ตรงตามวัตถุประสงค์ คือ กล้า ที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามความถูกต้องเที่ยงตรง ทั้งตามกฎหมาย และศีลธรรม ดังนั้น นักกฎหมายจึงต้องไตร่ตรองด้วยสติปัญญา ได้แก่ สัญชาติญาณ ปรีชาญาณ วิจารณญาณ และปัญญาญาณ ว่าจะใช้ กฎหมายให้เกิดคุณค่าและประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ • วันพุธที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ.สัญชัย สุวังบุตร ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง MOTHER กำเนิดนวนิยายแนวทางพรรค ความโดยสรุปว่า Mother หรือ “แม่” เป็นนวนิยายการเมืองคลาสสิกของขบวนการปฏิวัติรัสเซียและเป็นงาน ประพันธ์บุกเบิกของงานเขียนสัจนิยมแนวสังคมนิยม (socialist realism) มักซิม กอร์กี ผู้ประพันธ์ เขียนนวนิยายเรื่อง “แม่” ระหว่างครึ่งหลังของ ค.ศ. ๑๙๐๖ ถึงต้น ค.ศ. ๑๙๐๗ ในช่วงที่เขาลี้ภัย อยู่ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และต่อมาตีพิมพ์เผยแพร่เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร Znaine ซึ่งเป็นนิตยสารที่มีคนนิยมอ่านกันมากในรัสเซีย กอร์กีนำข้อเท็จจริงของเหตุการณ์เดินขบวนของกรรมกรรัสเซีย ในวันแรงงาน ค.ศ. ๑๙๐๒ และการเคลื่อนไหวต่อสู้ขององค์การจัดตั้ง พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียที่ซอร์โมโว รวมถึงการ พิจารณาคดีสมาชิกพรรคภายหลังการเดินขบวนถูกปราบมาเป็นเนื้อหา ของนวนิยาย หนังสือเริ่มเรื่องด้วยการบรรยายสภาพชีวิตเขต อุตสาหกรรมซอร์โมโวผ่านชีวิตครอบครัวของเปลาเกยา วลาซอฟ ผู้แม่ซึ่งเป็นตัวละครเอก ชีวิตของนางตกอยู่ใต้แอกการกดขี่ของ ครอบครัว สังคม และจารีตประเพณี ทั้งต้องหวาดผวาสามีขี้เมา ที่จะทำร้ายทุบตีนางตลอดเวลา แม้เปลาเกยาต้องทำงานหนัก เพื่อครอบครัวแต่การที่ปาเวลบุตรชายมีจิตสำนึกทางการเมืองและ สังกัดในพรรคปฏิวัติ ชีวิตของนางจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็น ค่อยไป นางเริ่มเป็นกบฏต่อตนเองและระบบสังคม และต่อมา ก็มีส่วนร่วมเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมือง แม้หนังสือจะจบลง ด้วยความพ่ายแพ้ของคนงานและการปฏิวัติ แต่ผู้อ่านก็ตระหนักว่า ชัยชนะของการปฏิวัติในขั้นสุดท้ายจะต้องเกิดอีกครั้งในวันข้างหน้า อย่างแน่นอน ความสำเร็จของนวนิยายเรื่องนี้อยู่ที่ความสามารถของกอร์กีใน การสร้างความเป็นเอกภาพระหว่างความงามแห่งชีวิตกับความงาม ทางศิลปะ ความกลมกลืนระหว่างอุดมการณ์ทางการเมืองกับ ความเป็นจริงในสังคมที่ดำรงอยู่ เรื่องราวดังกล่าวสะท้อน ผ่านประสบการณ์และพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงในเส้นทางชีวิต ของเปลาเกยา การเรียนรู้ถึงพลังอำนาจของชนชั้นคนงานและ ความเชื่อมั่นในอนาคตทำให้การต่อสู้ของนางเต็มไปด้วยความหวังและ ความฝัน แต่ความพ่ายแพ้ในท้ายที่สุดเป็นผลจากการประสานที่ ไม่ลงตัวระหว่างสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์กับการเคลื่อนไหวปฏิวัติ แต่ในฐานะผู้แทนของชนชั้นผู้ถูกกดขี่ โศกนาฏกรรมของ “แม่” ไม่ได้ สูญเปล่า อย่างน้อยที่สุด “แม่” ได้สะท้อนภาพพลังปฏิวัติที่กำลังเติบโต และพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงของเหล่าสามัญชนผู้เริ่มตื่นจากการ หลับใหลและตระหนักถึงความเป็นนายของตนเอง และบทบาทของ พวกเขาในฐานะผู้ที่จะผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางสังคม หลังการพ่ายแพ้ของการปฏิวัติรัสเซียเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๐๕ รัสเซียระหว่าง ค.ศ. ๑๙๐๖–๑๙๑๔ เป็นช่วงกระแสต่ำของการ เคลื่อนไหวปฏิวัตินวนิยายเรื่อง “แม่” จึงเป็นเครื่องมือจัดตั้งทางการ เมืองและความคิดเพื่อปลุกเร้าให้ความหวังและกำลังใจแก่กรรมกรและ ผู้ปฏิบัติงานพรรคในการจะยืนหยัดเฝ้ารอการต่อสู้ครั้งใหม่ นวนิยาย เรื่องนี้ยังสอดคล้องกับแนวความคิดของเลนินที่เน้นว่า วรรณกรรม ต้องเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจร่วมกันของชนชั้นแรงงาน และเป็นอาวุธ ทางวัฒนธรรมในสงครามชนชั้น ในเวลาต่อมา “แม่” จึงถือเป็น งานต้นแบบของวรรณกรรมพรรคเพราะมีความเป็นเอกภาพระหว่าง เนื้อหาการเมืองกับรูปแบบทางศิลปะปฏิวัติที่สมบูรณ์ ทั้งให้การศึกษา เรื่องสังคมนิยมและชี้ให้เห็นพัฒนาการที่ก้าวหน้าของสังคมตามทิศทาง การปฏิวัติ รวมถึงสะท้อนภาพที่ควรจะเป็นจริงของสังคมคอมมิวนิสต์ และบทบาทการชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์ ตลอดจนตัวละครเอกเป็น ผู้ใช้แรงงาน ใน ค.ศ. ๑๙๓๔ กอร์กีจึงได้รับยกย่องจากสหภาพนักเขียน โซเวียตให้เป็นบิดาของวรรณกรรมสัจนิยมแนวสังคมนิยม เพราะ “แม่” เป็นงานประพันธ์บุกเบิกเรื่องแรกของวรรณกรรมประเภทนี้ซึ่ง เป็นหลักนโยบายทางศิลปวรรณกรรมของโลกคอมมิวนิสต์ที่สหภาพ โซเวียตคิดสร้างขึ้น ในสังคมไทย “แม่” เป็นวรรณกรรมสังคมนิยม ที่นิยมอ่านกันมากในกลุ่มปัญญาชนระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๙ โดย ศรีบูรพาแปลภาคแรก และวิริยาภาแปลภาคที่ ๒ และต่อมาถือเป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=