2713_2353
3 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๗ เดือนตุลาคม ๒๕๕๕ สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.เดือน คำดี ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง นวังคสัตถุศาสน์ : คาถาและอภินิหาร ความโดยสรุปว่า นวังคสัตถุศาสน์ คือ ลักษณะ รูปแบบคำสอนของพระพุทธเจ้า ๙ ประเภท ได้แก่ ๑) สุตตะ หมายถึง เรื่องที่นำมาผูกร้อยกรองเข้าด้วยกัน ในสมัยพุทธกาล กฎ หลัก หรือ ข้อธรรมะสั้น ๆ ที่สมบูรณ์ในตัว โดยหมายเฉพาะถึง กฎปาฏิโมกข์ ๒) เคยยะ หมายถึง คำสอนที่อยู่ในรูปร้อยแก้วและร้อยกรองในเรื่อง เดียวกัน ๓) เวยยากรณะ หมายถึง ลักษณะคำสอนที่เป็นคำตอบ ถือเป็นคุณสมบัติที่พระสาวกผู้ทำหน้าที่ในการสอนต้องมี มีทั้งการตอบ ปัญหาโดยตรง การตอบด้วยวิธีการวิเคราะห์และจำแนกหลักธรรม อย่างละเอียด การตอบด้วยการถามปัญหาย้อนกลับ และการไม่ตอบ คำถามเพราะคำถามคำตอบไม่เป็นประโยชน์แก่การดับทุกข์ ๔) คาถา หมายถึง คำสอนที่ประพันธ์อยู่ในรูปร้อยกรอง ๕) อุทาน หมายถึง ระเบียบพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งอุทานเป็นพระดำรัสด้วย กำลังโสมนัสญาณ เรียกว่า พุทธอุทาน ๖) อิติวุตตกะ หมายถึง คำสอน ของพระพุทธเจ้าซึ่งพระสาวกหรือบุคคลอื่นยกขึ้นอ้างคำต่อคำ ๗) ชาดก หมายถึง เรื่องเก่าที่มีมาก่อนพุทธกาล อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์สมัยโบราณก่อนสมัยพุทธกาล นิทานพื้นบ้าน หรือนิทาน เทียบสุภาษิต ชาดกทั้งหมดมี ๕๔๗ เรื่อง แต่ละเรื่องนั้นจะมีคาถา ภาษิต และคติธรรมสอนใจ ๘) อัพภูตธรรม หมายถึง คำสอนหรือเรื่อง น่าอัศจรรย์ใจ ๓ ประเภท คือ ธรรมที่เป็นสัจจะความจริง เรื่องของ พระโพธิสัตว์ และคุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคล ๙) เวทัลละ หมายถึง พระสูตรแบบถามตอบให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่ง ๆ ขึ้นไป คาถา คือ คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง มีการบังคับจำนวนคำ ที่เรียกว่า ฉันทลักษณ์ แยกเป็นตอน บังคับเสียงให้ใช้ได้ตามที่กำหนด และบังคับสัมผัสติดต่อกันไปตลอดจนจบความ ซึ่งต้องวางรูปวรรณยุกต์ และสระให้ถูกที่ ส่วนอภินิหารคาถา คือ การใช้ข้อความที่ผูกขึ้น จากเนื้อความในพระสูตรหรือบทสวดมนต์เป็นคำย่นย่อที่เรียกว่า หัวใจ หรือ คาถา โดยการสวด การเจริญ หรือการอธิษฐาน เพื่อให้เกิด ปาฏิหาริย์ มี ๓ ประเภท คือ อิทธิปาฏิหาริย์ คือการแสดงฤทธิ์ได้โดย ประการต่าง ๆ อาเทศนาปาฏิหาริย์ คือการกำหนดทายใจของผู้อื่นได้ และอนุสาสนียปาฏิหาริย์ คือคำสอนที่เป็นจริงสอนให้ผู้สู่พระศาสนา ให้เห็นจริงและนำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง การแสดงอภินิหารในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงแสดงด้วย พระองค์เอง ต่อมาจึงทรงอนุญาตให้พระสาวกบางรูป เช่น พระ โมคคัลลานะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้ แต่ล้วนแสดงในเหตุการณ์คับขัน เพื่อปราบมานะกล้าแข็งของพราหมณ์ หรือเพื่อกลับมิจฉาทิฏฐิให้ เป็นสัมมาทิฏฐิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเผยแผ่พระศาสนาด้วยสั่งสอน ธรรมให้บุคคลมีศรัทธา บำเพ็ญธรรมรักษาศีล สำรวมอินทรีย์ มีสติ สัมปชัญญะ สันโดษ เจริญฌาน และบรรลุอภิญญาทั้ง ๖ ประการ • วันพุธที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ.ไชยยศ เหมะรัชตะ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง คุณธรรมและ จริยธรรมของนักกฎหมาย ความโดยสรุปว่า ในสภาวการณ์บ้านเมือง ที่อยู่ในภาวะวิกฤติด้านต่าง ๆ นั้น ทำให้ได้คิดว่าความทุกข์ต่าง ๆ ที่แต่ละคนเผชิญอยู่นั้นล้วนมาจากวิบากกรรมของแต่ละคนและของ ส่วนรวม กฎแห่งกรรมผนวกกับหลักในทางโลก ก็ต้องยึดหลัก ประชาธิปไตย คือ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ โดยมีหลัก ธรรมะเป็นใหญ่ และหลักทศพิธราชธรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ พระมหากษัตริย์หรือผู้ปกครองบ้านเมืองใช้ในการปกครองแผ่นดิน นักกฎหมายก็สามารถจะยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพ กฎหมายได้เป็นอย่างดี เพราะนักกฎหมายเป็นผู้ที่ใช้วิชาชีพกฎหมาย เป็นเครื่องมือ และกลไกในการคุ้มครองสิทธิและความยุติธรรมให้แก่ สังคมและประเทศชาติ สิ่งสำคัญที่นักกฎหมายพึงยึดถือ คือ การใช้ กฎหมายเป็นเครื่องมือภายใต้หลักคุณธรรม จริยธรรม โดยใช้ปัญญา พิจารณาด้วยความบริสุทธิ์ใจ เป็นไปโดยชอบธรรมและด้วยความดีงาม เป็นสำคัญ นอกจากนี้ การบังคับใช้กฎหมายสำหรับนักกฎหมายยังต้อง คำนึงถึงจริยธรรม บทบาทของนักกฎหมายอีกหน้าที่หนึ่ง ก็คือ อาจารย์สอนกฎหมายทำหน้าที่อบรมสั่งสอนให้ความรู้แก่ผู้ศึกษา กฎหมาย ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ยึดหลักเมตตาธรรม ไม่มีอคติต่อศิษย์ และให้อภัยเมื่อศิษย์ผิดพลาด ต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและ สม่ำเสมอ พยายามค้นคว้าวิชาการใหม่ ๆ และการวิจัยอยู่เสมอ อุทิศ กายและใจให้แก่การสอน โดยมุ่งหวังให้ศิษย์มีความรู้ควบคู่ไปกับการ ปลูกฝังให้ศิษย์มีจิตสำนึกที่ดี มีความยุติธรรมในอันที่จะเสียสละและรับ ใช้สังคม อีกทั้งต้องมีสติ คือความระลึกรู้ รู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ต้อง น้อมนำหลักธรรมแห่งความพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นอยู่เสมอ คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาให้ดีขึ้น มากขึ้น ในทางที่ดี ที่ชอบ อีกประการหนึ่ง คือ ญาณ ประกอบด้วย สัญชาตญาณ ซึ่ง หมายถึง ความรู้ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดของมนุษย์และสัตว์ เช่น สัญชาตญาณของความเป็นแม่ สัญชาตญาณเพื่อการอยู่รอด ปรีชาญาณ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=