2712_6485

ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ 7 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖ เดือนกันยายน ๒๕๕๕ เน้นการรำทำบทให้กระฉับกระเฉง เน้นจังหวะให้เข้ากับเพลง นอกจากนี้ยังมีการใช้น้ำเสียงอย่างม้า การเจรจาสื่อสารที่จะต้อง แสดงออกเพื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจ และเกิดความสนุกสนานโดยเน้น เสียงสูง เสียงต่ำ ให้เป็นจังหวะโดยเฉพาะตัวนางแก้วหน้าม้าที่มี ท่าทีกระโดกกระเดกเหมือนสำนวนไทยที่ว่าท่าทางอย่างกับม้าดีด กะโหลก ๏ วันอังคารที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ. ดร.จินตนา ดำรงค์เลิศ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ขบวนการกรรมกรและสหภาพแรงงานในฝรั่งเศสจากอดีตถึงปัจจุบัน ความโดยสรุปว่า บทความนี้เป็นการศึกษาภูมิหลัง นวนิยายของ เอมีล โซลา (Emile Zola) ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของ กรรมกรเหมืองแร่ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เป็นวรรณกรรมแนว ธรรมชาตินิยม (naturalism) ซึ่งนักเขียนได้ค้นคว้าและบันทึกข้อมูล จริงแล้วนำไปสร้างสรรค์วรรณกรรม ประวัติศาสตร์เรื่องแรงงานเป็นเรื่องของความขมขื่น ความ ทุกข์ยาก และการต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีและสิทธิ นักปราชญ์สมัยโบราณ แสดงถึงทัศนคติด้านลบต่อแรงงาน ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ นักปราชญ์และนักเขียนมีทัศนคติที่ดีต่อแรงงาน ในวรรณกรรมเรื่อง Candide วอลแตร์ (Voltaire) กล่าวไว้ว่า การทำงานทำให้เราหลุด พ้นจากสิ่งเลวร้าย ๓ ประการ อันได้แก่ ความเบื่อ ความชั่ว และ ความยากจน รูโซ (Rousseau) เสนอความคิดว่ามนุษย์จำเป็นต้อง ทำงาน การทำงานถือเป็นหน้าที่ของมนุษย์ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ แรงงานได้รับการยกย่องว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อา แล็กซ็องดร์ เดอ ลาบอร์ด (Alexandre de Laborde) เขียนไว้ว่า แรงงานเป็นผู้สร้างทรัพย์สมบัติ ความมั่งคั่งทั้งปวง และเป็นแหล่ง กำเนิดของอุตสาหกรรม “สหภาพ” เป็นองค์กรซึ่งกลุ่มบุคคลมารวมตัวกันเพื่อพิทักษ์ผล ประโยชน์ของกลุ่มบุคคลที่มีอาชีพเดียวกัน ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ในประเทศฝรั่งเศสมีสำนักงานสหภาพ (chambre syndicale) ซึ่ง เป็นการรวมกลุ่มของสหกรณ์ กฎหมายชาเปอลีเย (Chapelier) ซึ่ง ออกบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๗๙๑ (พ.ศ. ๒๓๓๔) กำหนด ว่า กลุ่มบุคคลในทุกสาขาอาชีพห้ามก่อตั้งสหภาพ ห้ามแต่งตั้ง ประธานหรือเลขาธิการสหภาพ ห้ามออกกฎระเบียบใด ๆ โดยอ้าง ว่าเพื่อจุดประสงค์ในการพิทักษ์ผลประโยชน์ของกลุ่มอาชีพตน ต่อ มาในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เกิดความคิดที่แพร่หลายในประเทศ ฝรั่งเศสว่าระบบเศรษฐกิจที่ดีที่สุด ได้แก่ ระบบที่ให้เสรีภาพแก่ บุคคลอย่างสมบูรณ์ในการเลือกประกอบกิจกรรมและทำสัญญา ใน ตอนต้นสมัยสาธารณรัฐที่ ๓ จึงปรากฏผู้นำกรรมกรที่เข้มแข็งคือ ฌูล แกด (Jules Guesde) และพรูดง (Proudhon) พรูดงได้ หยิบยกปัญหาทางสภาพสังคมของผู้ใช้แรงงานขึ้นมาอภิปราย เขา เชื่อว่าการให้เสรีภาพต่อผู้ใช้แรงงานจะไม่ทำให้ระบอบทุนนิยมล่ม สลาย พรูดง กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองทางการเมืองไม่ สามารถเปลี่ยนสภาพความยากไร้ของผู้ใช้แรงงานได้ การเมืองต้อง สัมพันธ์กับสังคมและเศรษฐกิจ สหภาพแรงงานในฝรั่งเศส อาจแยกออกเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพวกหัวรุนแรงและปฏิวัติ กลุ่มนิยมมากซ์ แกด และเลนิน (Lenin) กลุ่มปฏิรูป และกลุ่มคริสเตียน สหภาพแรงงานที่สำคัญ ของฝรั่งเศส ได้แก่ สหภาพเซเฌเต (Confé dé ration gé né rale du travail) และสหภาพเซแอฟเตเซ (C.F.T.C: Confé dé ration franç aise des travailleurs chré tiens) รูปแบบการต่อสู้ของสหภาพที่สำคัญมี ๒ แนวทาง ได้แก่ การนัดหยุดงาน และการเจรจา สหภาพแรงงาน ของฝรั่งเศสได้รับการช่วยเหลือจากรัฐในรูปของการศึกษาและการ ฝึกอบรม ผลงานที่สำคัญของสหภาพแรงงาน ตัวอย่างเช่น ค.ศ. ๑๙๒๕ (พ.ศ. ๒๔๖๘) เสนอร่างกฎหมายให้มีการจ่ายเงินตอบแทนระหว่าง การลาหยุดพักผ่อน วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ (พ.ศ. ๒๔๘๙) ตรากฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายเฉลี่ยผลประโยชน์จากการประกอบ การ ค.ศ. ๑๙๘๒ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ตรากฎหมายขยายการลาหยุดพัก ผ่อนเป็น ๕ สัปดาห์ต่อปี โดยได้รับเงินตอบแทนและกำหนดเวลา ทำงานเป็น ๓๙ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ค.ศ. ๑๙๙๘ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ตรา กฎหมายกำหนดเวลาทำงานเป็น ๓๕ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ผศ. ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง จารึกภาษาสันสกฤตสมัยพระเจ้ามเหนทรวรรมันแห่งอาณาจักรเจนละ ความโดยสรุปว่า พระเจ้ามเหนทรวรรมันเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักร เจนละในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พระองค์ครองราชย์ต่อจาก พระเจ้าภววรรมันที่ ๑ จากหลักฐานด้านจารึกแสดงว่าอาณาเขต ส่วนหนึ่งของอาณาจักรเจนละอยู่ในภาคตะวันออกและภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้พบจารึกของพระเจ้ามเหน- ทรวรรมันที่มีข้อความคล้ายกัน ๔ หลักคือ จารึกทะเบียนเลขที่ ขก. ๑๕ อบ.๑ อบ.๒ และ อบ.๔ ตามที่ตีพิมพ์ไว้ในจารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ ของกรมศิลปากร เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้พบจารึกสมัยพระเจ้ามเหน- ทรวรรมันที่จังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งใช้เป็นหลักในบทความนี้ จารึก แต่ง โดยใช้ฉันท์ อนุษฺฏุภฺ มีทั้งหมด ๔ โศลก ซึ่งมากกว่าจารึก ๔ หลักที่ กล่าวมาแล้ว ๑ โศลก เนื้อหาของจารึกกล่าวว่า เจ้าชายจิตรเสน เป็นโอรสของศรีวีรวรรมันและเป็นพระนัดดาของจักรพรรดิ (แห่ง อาณาจักรฟูนัน) พระองค์แม้จะเป็นพระอนุชาองค์เล็กที่สุดของ พระเจ้าภววรรมันที่ ๑ (กษัตริย์องค์ที่ ๑ แห่งอาณาจักรเจนละ) แต่ ด้านพระราชอำนาจก็หาได้ยิ่งหย่อนกว่าไม่ พระองค์จึงได้รับการ ราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า ศรีมเหนทรวรรมัน โศลกที่ ๔ ของจารึกบ่งชี้ว่า พระเจ้ามเหนทรวรรมันอาจจะเป็นผู้ที่สถาปนา ศาสนาพราหม์ไศวนิกายขึ้นมาแทนศาสนาพุทธนิกายสรรวาสติกวาท ซึ่งใช้ภาษาสันสกฤตที่มีอยู่ก่อนในดินแดนที่พระองค์มีชัยชนะ อาณาเขตของอาณาจักรเจนละสมัยพระเจ้ามเหนทรวรรมันคงจะ ขยายมาถึงภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=