2712_6485

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน มนุษย์ จึงน่าจะคล้ายกับ arts ซึ่งรวมทั้ง social sciences ใน ประเทศไทย มนุษยศาสตร์มักจะเป็นศัพท์ที่ใช้แทนอักษรศาสตร์ liberal arts ได้รวม ๓ กลุ่มสาขาวิชาหลัก ได้แก่ humanities, social sciences และ natural sciences การสอนกลุ่มวิชา liberal arts ในมหาวิทยาลัยใหญ่หลายแห่งในสหรัฐอเมริกาเป็น หน้าที่ของวิทยาลัย arts & sciences เช่น มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์, วิสคอนซิน และวิทยาลัย letters & sciences เช่น UC Berkeley จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยมีคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็เคยสอน liberal arts คำว่า ศิลปะวิทยาศาสตร์ น่าจะสื่อความหมายของ liberal arts ให้แก่นักเรียนและผู้ปกครองส่วนมากได้ดีกว่าศิลปศาสตร์ ถ้า นักศึกษาได้เรียน liberal arts ใน ๒ ปีแรก ก็จะเลือกเรียนและ เรียนสาขาวิชาเฉพาะทางใน ๒ ปีหลังได้ดีขึ้น โดยเฉพาะสาขาวิชา ประเภท multidisciplinary และ interdisciplinary และก็สามารถ เรียนสาขาวิชาด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ได้ด้วย ซึ่งมี ตัวอย่างใน liberal arts colleges และ colleges of arts & sciences ของสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน สถาบันอุดมศึกษาในประเทศหลายแห่ง ยังให้นักศึกษา ในระดับปริญญาตรีทั้งสถาบันเรียนกลุ่มวิชา liberal arts ด้วยกันใน ปีแรก เช่น สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตรซึ่งมีคณะศิลปศาสตร์ สภามหา วิทยาลัยเอเชียนได้มีมติให้คณะศิลปศาสตร์รับผิดชอบในการจัดสอน liberal arts ให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชาเรียนใน ๓ ภาคการศึกษาแรกร่วมกัน ๕๔ หน่วยกิต โดยให้เรียนอักษรศาสตร์ ๑๘ หน่วยกิต สังคมศาสตร์ ๑๕ หน่วยกิต วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ๑๒ หน่วยกิต และกลุ่มวิชาเลือก ๙ หน่วยกิต แผนในระยะยาวจะ ให้นักศึกษาเรียน ๔ ภาคการศึกษาแรกร่วมกัน ในปัจจุบันและอนาคต ที่สภาพของสังคม เศรษฐกิจ และสิ่ง แวดล้อมทั้งทางกายภาพและวัฒนธรรม มีความยุ่งยากและความ ซับซ้อนมากขึ้น บัณฑิตจำเป็นต้องอาศัยความรู้พื้นฐานที่กว้างของ liberal arts ในการแก้ไขปัญหาและทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน ตัวอย่างปัญหาที่เกิดในประเทศไทย เช่น การจัดการทรัพยากรน้ำ เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมากในสังคมที่แตกต่างกัน เช่น เกษตรกรรม ป่าไม้ เมือง ชุมชน อุตสาหกรรม ถ้าผู้ที่รับผิดชอบใน การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย มีความรู้พื้นฐานทางศิลปะ วิทยาศาสตร์ ก็จะสามารถบูรณาการข้อมูลที่หลากหลายมาใช้ใน การบริหารจัดการอุทกภัยทั้งจากน้ำฝนและน้ำทะเลให้ดีขึ้นได้ สำนักศิลปกรรม ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ม้าใน นาฏกรรมไทย ความโดยสรุปว่า ม้า ในพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ กล่าวว่า “ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์กีบเดี่ยว รูปร่างสูงใหญ่ ขายาว หางเป็นพู่ มีแผงคอยาว ใช้เป็นพาหนะขับขี่และเทียมรถ” สำหรับชื่อม้านั้นมีมากมายดังนี้ กัณฐัศ, กัณฐัศว์ (ม้า, ม้าตระกูลกัณฐกะ) พาชี พาชินี (ม้าตัวเมีย) มโนมัย (ม้าที่ใช้ขับขี่รวดเร็วได้ดังใจ) วฬวา (ม้าตัวเมีย) สินธพ (ม้า พันธุ์ดีเกิดที่ลุ่มแม่น้ำสินธุ) อาชา อาชาไนย (ม้าที่มีตระกูลดี, ม้าที่ ฝึกหัดมาดี) ดุรค (สัตว์ไปเร็วคือม้า) ดุรงค์ (ม้า, คนขี่ม้า) ดุรงคมี (ม้าตัวเมีย) อัศว อัสดร (ม้าดี) ศิลปะการแสดง ปรากฏเรื่องที่เกี่ยวเนื่องด้วยม้าอยู่หลากหลาย แขนงด้วยกัน ได้แก่ ศิลปกรรม วรรณกรรม ดุริยางคกรรม และ นาฏกรรม ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ดังนี้ ๑. ด้านศิลปกรรม ปรากฏในรูปของการสร้างสรรค์งานด้าน การออกแบบม้าแผง เครื่องแต่งกาย หัวม้า และแส้ม้า ซึ่งใช้สำหรับ ประกอบการแสดง ๒. ด้านวรรณกรรม ปรากฏในเรื่องราวของตัวละคร เป็นม้าอยู่ หลายเรื่องด้วยกัน เช่น ม้านิลพาหุของวิรุญจำบังในโขนเรื่องราม- เกียรติ์ ม้าสีหมอกของขุนแผนในละครเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ม้า นิลมังกรของสุดสาครในละครนอกเรื่องพระอภัยมณี และนางแก้ว หน้าม้าในละครนอกเรื่องแก้วหน้าม้า ๓. ด้านดุริยางคกรรม ปรากฏชื่อเพลงม้ารำ ม้าย่อง ม้าโขยก ม้าวิ่ง และอัศวลีลา เป็นต้น ๔. ด้านนาฏกรรม ปรากฏกระบวนท่ารำเฉพาะที่มีลักษณะของ ม้า เช่น การกระโดด การกระทืบเท้า โขยกเท้า และเสียง นาฏกรรมไทยกล่าวถึงม้าอยู่หลายเรื่องด้วยกัน ได้แก่ รามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุท สุวรรณหงส์ สังข์ทอง ขุนช้างขุนแผน รถเสน ราชาธิราช พระอภัยมณี โกมินทร์ และแก้วหน้าม้า แต่ละ เรื่องก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ทั้งลักษณะของม้า และการนำ ไปใช้ประกอบการแสดง ตลอดจนกระบวนท่ารำต่างๆ ผู้เขียนได้ วิเคราะห์สรุปพอสังเขปดังนี้ ๑. ม้าแผงเป็นพาหนะ อุปกรณ์ประกอบการแสดง ๒. ม้าคนเทียมรถไม่มีบทบาท ๓. ม้าคนเป็นระบำประกอบการแสดง ๔. ม้าคนเป็นพาหนะมีบทบาท ๕. ม้าจริงเป็นพาหนะ ๖. ม้าคนเป็นพาหนะ แต่เป็นม้าลูกผสม ๗. ม้าคนเป็นตัวเอกของเรื่อง ไม่ได้เป็นพาหนะ บทบาทของม้าแต่ละหัวข้อมีปะปนกันอยู่ในนาฏกรรมการแสดง ซึ่งมีจารีตเฉพาะ ปรากฏเป็นรูปแบบของการแสดงโขน ละครใน ละครนอก ละครพันทาง ละครเสภา และละครชาตรีทรงเครื่อง โดยเฉพาะม้าที่มีบทบาทก็จะมีกระบวนท่ารำตามจารีตของการแสดง แต่ละประเภท ม้าแผง ทำด้วยหนังวัวแกะสลักเขียนสีเป็นรูปม้า มีความกว้าง ๑๗ นิ้ว ยาว ๒๓ นิ้ว ข้างตัวแผงม้าใช้ลวดทำเป็นตะขอ เวลาแสดง ใช้ตะขอลวดเกี่ยวที่สายเข็ดขัดข้างลำตัวผู้แสดง ในระหว่างแสดง ผู้แสดงจะทำท่ากระโดดไปมาตามกิริยาของม้าประหนึ่งว่าเป็นเท้าม้า ส่วนท่อนบนก็แสดงกระบวนท่ารำตามบทบาทที่ได้รับ อุปกรณ์อีก อย่างหนึ่งที่ใช้ประกอบการแสดงทั้งม้าแผง และม้าคน คือ แส้ม้า ทำด้วยหวายติดพู่สีแดง ยาวประมาณ ๓๔ นิ้ว ม้าเป็นสัตว์ที่ถูกจินตนาการให้มีความสามารถมากมาย สามารถเหาะเหินได้รวดเร็ว สามารถพูดได้ เป็นเพื่อน เป็นที่ปรึกษา ได้ ในกระบวนท่ารำก็จะมีกิริยาท่าทางของม้าผสมผสาน ดูแข็งแรง น่าเอ็นดูยิ่งนัก มีความเฉลียวฉลาด ช่างเจรจา อุปนิสัยของม้าพอ สรุปได้ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=