2712_6485
3 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖ เดือนกันยายน ๒๕๕๕ ปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เกษตรกรจึงเป็นกลุ่มประชากรที่ยากจนที่สุด ในบรรดากลุ่มอาชีพทั้งหมด ปัจจุบัน องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนบางส่วนเริ่มตระหนัก ถึงปัญหาและเสนอทางออกในรูปของการปฏิรูปที่ดินและปรับตัวใน การผลิต มุ่งลดความเสี่ยง ลดการพึ่งตลาด และมุ่งทำการผลิตที่ ปลอดภัย ทั้งแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็มุ่งลด การทำลายสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศด้วย สำนักวิทยาศาสตร์ ๏ วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.อมรเรศ ภูมิรัตน ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง งานวิจัย วิทยาศาสตร์พื้นฐานในประเทศไทย...ยังถูกละเลยเช่นเดิม...” ความโดยสรุปว่า เป็นที่ทราบกันดีว่างานวิจัยและพัฒนาทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญยิ่งต่อการเกิดนวัตกรรม และส่งผลต่อเนื่องถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนของ ประเทศ อย่างไรก็ดี ในการก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่ การสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูง มีความจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องมีการสนับสนุนงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์พื้น ฐาน ที่ผ่านมาในอดีตประเทศไทยไม่ได้เห็นความสำคัญในการ สนับสนุนงานวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานมากเท่าที่ควร เป็นผลให้ผล งานวิชาการที่สร้างองค์ความรู้ใหม่มีน้อยมาก ดังปรากฏว่าในปี ๒๕๕๓ ผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติของไทยมีประมาณ ๙,๕๐๐ เรื่อง ในขณะที่ในปีเดียวกันประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหราช อาณาจักรมีถึง ๑๒๔,๐๐๐ เรื่อง และหากเปรียบเทียบกับประเทศ เพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซียพบว่ามีการตีพิมพ์ถึง ๑๓,๐๐๐ เรื่อง ทั้ง ๆ ที่ประชากรและจำนวนนักวิจัยของประเทศมาเลเซียมี น้อยกว่าประเทศไทยมาก ซึ่งหากคำนวณผลงานตีพิมพ์ต่อปีต่อนัก วิจัยแล้วประเทศมาเลเซียจะมี ๐.๙๒ เรื่อง ในขณะที่ประเทศไทยมี เพียง ๐.๒๒ เรื่อง ทั้งนี้ ราชบัณฑิตยสถาน (สำนักวิทยาศาสตร์) อาจพิจารณา ความเป็นไปได้ในการส่งเสริมสนับสนุนและผลักดันให้มีการวิจัย วิทยาศาสตร์พื้นฐานในประเทศไทยให้มากขึ้น เช่น อาจมีการผลัก ดันเชิงสังคมเพื่อสร้างความตระหนักในสังคมไทยถึงความสำคัญของ การวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์ไทย ทุ่มเทให้กับงานวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานมากขึ้น เป็นต้น ๏ วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง อย่าเป็น เหยื่อการลงพิมพ์ในวารสารที่ไม่ได้มาตรฐาน ความโดยสรุปว่า นโยบายของมหาวิทยาลัยแหลายแห่ง ต้องการเพิ่มจำนวนผลงาน วิจัยในวารสารทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งนักศึกษาหลังปริญญา (ปริญญามหาบัณฑิต, ดุษฎีบัณฑิต) จะจบหลักสูตรได้ต้องมีผลงานตี พิมพ์ในวารสารที่มีกรรมการตรวจสอบ (peer review) เมื่อเป็นดังนี้ จึงได้มีสำนักพิมพ์จำนวนมากรับลงพิมพ์ในวารสาร โดยอ้างว่ามี กรรมการตรวจสอบประกอบกับการมีสำนักพิมพ์อ้างว่าเป็น open access จะเป็นสำนักพิมพ์ที่เปิดให้ทุกคนมีสิทธิ์ถึงวารสารได้ โดย ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ใช่ของสำนักพิมพ์ และ บทความนี้จะอยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-journal โดยจะไม่มี hard copy บทความผลงานวิจัยจะอยู่ใน web หรือ internet access เท่านั้น การมีสำนักพิมพ์เป็น electronic access หรือ open access เป็นของดี ต้นทุนต่ำ ทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลนั้น โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ใด ๆ สำหรับผู้ใช้ข้อมูลทำให้ลงพิมพ์เผยแพร่ได้เร็ว และเป็นที่ ต้องการของสมาชิกโดยทั่วไป วารสารดังกล่าวจึงมีจำนวนมาก ดำเนินการแบบยุติธรรม ดำเนินการนโยบายดังกล่าว เช่น วารสาร ในกลุ่ม PLoS (Public Library of Science) เช่น PLoS One, PLoS Pathogen เป็นต้น วารสารดังกล่าวเป็นที่ยอมรับนิยมอย่าง แพร่หลายและค่าใช้จ่ายในการลงพิมพ์ผู้รับผิดชอบเป็นเจ้าของ บทความ จึงมีการเก็บค่าใช้จ่ายจากเจ้าของบทความงานวิจัย ประมาณตั้งแต่ ๕๐๐-๒๐๐๐ เหรียญสหรัฐ และงานวิจัยต่าง ๆ ก็ สามารถตั้งงบเป็นค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่ได้จากเจ้าของทุน ในขณะเดียวกันมีสำนักพิมพ์จำนวนมากได้เห็นโอกาสในการ ดำเนินธุรกิจในวิธีการดังกล่าว โดยสำนักพิมพ์จะตั้งชื่อวารสารให้ เป็นที่ติดตาต้องใจของนักวิจัย วารสารดังกล่าวมักจะขึ้นต้นด้วย American Journal of …, British Journal of Medicine …, European Journal of …, International Journal of …, Advance… โดยที่บางแห่งจะใช้ชื่อล้อกับวารสารที่มีชื่อให้แตกต่าง เพียงเล็กน้อย เช่นเติม S เข้าไปในชื่อวารสารให้แตกต่างจากวาร สารเดิมที่ไม่มี S บางสำนักพิมพ์จะมีวารสารจำนวนมากครบทุก สาขาวิชา หรือมากกว่า ๓๐๐ วารสาร ซึ่งความเป็นจริง รักษา คุณภาพของวารสาร และวารสารดังกล่าวก็จะเก็บค่าลงวารสาร (page charge) โดยใช้คำว่าค่าดำเนินการ (process) และหลีก เลี่ยงคำว่า page charge บางสำนักพิมพ์ที่มีวารสารที่มีมาตรฐาน ใน ISI อยู่เพียงเล็กน้อยแต่มีวารสารจำนวนมากอยู่นอกมาตรฐาน ISI ค่าลงพิมพ์จะแตกต่างกันตั้งแต่ ๔๐๐ เหรียญสหรัฐ จนถึงมาก กว่า ๑,๐๐๐ เหรียญสหรัฐและมีนโยบายที่เรียกว่า “จ่ายตรง ลงแน่” ในวารสารจำนวนมากเหล่านี้ มีนักวิจัยจากประเทศกำลังพัฒนารวม ทั้งประเทศไทยไปลงเผยแพร่ในวารสารเหล่านี้จำนวนมาก นับ เป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมาก การมีวารสารในลักษณะต้นทุนต่ำ และ open access จำนวน มาก จึงได้เกิดมีขบวนการที่เรียกว่า “ฮั้วอ้างอิง” หรือ “citation cartel” โดยที่สำนักพิมพ์มีวารสารหลายวารสารก็อาจจะทำให้เกิด การอ้างอิง ปลอม หรือ สร้างขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนการ อ้างอิง วารสารให้มีผลต่อ impact factor จากผลดังกล่าวทำให้ใน ปี ๒๐๑๒ ISI ได้พบขบวนการดังกล่าว และได้ถอดถอนวารสาร จำนวน ๕๑ วารสารออกจาก ISI เช่น วารสาร Cell transplantation, The Scientific World Journal, Medical Science Monitor ถึงเวลาแล้วที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะต้องมาทบทวนดู บทความวิจัยของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยและไม่สนับสนุนการลง พิมพ์ในวารสารที่ไม่ได้มาตรฐานสากล เพื่อไม่ให้เป็นเหยื่อในการลง พิมพ์ในวารสารที่ไม่เหมาะสม ๏ วันพุธที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ.เกียรติคุณ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิต บรรยาย เรื่อง Liberal Arts/Arts & Sciences Studies ความโดยสรุปว่า Arts โดยทั่วไปหมายถึงองค์ความรู้ที่ครอบคลุมสาขาวิชาต่าง ๆ มิใช่วิทยาศาสตร์ humanities เป็นกลุ่มวิชาที่เกี่ยวกับความเป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=