2712_6485
2 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน พลเมืองที่มีคุณภาพในระบอบประชาธิปไตย จะสามารถเลือก นักการเมืองที่ดีเข้าไปใช้อำนาจบริหารปกครองประเทศ ให้ประเทศ เจริญรุ่งเรืองและประชาชนมีความอยู่ดีกินดีได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ยากจน ไร้การศึกษา และเป็นคนเห็นแก่ผล ประโยชน์ส่วนตนแล้วอาจทำให้นักการเมืองที่ไม่ดีเข้าไปมีอำนาจ โดยมักจะอ้างว่าตนได้อำนาจมาจากประชาชน จนอาจจะทำให้ รัฐบาลเป็นรัฐบาลเผด็จการหรือเป็นทรราชได้ ถ้ารัฐบาลบริหารประเทศโดยใช้นโยบายประชานิยมเป็นหลัก ไม่ทำการปฏิรูประบบภาษีอากรควบคู่กันไป จะทำให้เกิดปัญหาการ ขาดดุลทางการคลัง และหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ในที่สุดจะเกิดปัญหา วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศชาติเสียหายและประชาชน เดือดร้อน ในขณะเดียวกัน ถ้าหากธุรกิจเอกชนขาดความโปร่งใส ในการประกอบธุรกิจโดยที่สถาบันการเงินและธุรกิจขนาดใหญ่เอา รัดเอาเปรียบประชาชนจนทำให้เกิดความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ เช่น เกิดวิกฤตการณ์ทางด้านการเงิน และรัฐบาลก็ไม่สามารถแก้ปัญหา อย่างตรงไปตรงมาได้ ก็จะยิ่งทำให้ปัญหาของประเทศวิกฤติมากยิ่ง ขึ้น ทำให้ยากต่อการแก้ไข และถ้ารัฐบาลใช้จ่ายแบบประชานิยม มากเกินไป ไม่สัมพันธ์กับการจัดเก็บภาษีอากรแล้ว ในที่สุดก็จะต้อง เกิดปัญหาวิกฤตการณ์ทางการคลังและทางเศรษฐกิจ เช่น ใน ประเทศกรีซ สเปน อิตาลี ไอร์แลนด์ โปตุเกส ความมั่นคงของรัฐบาลจะเกิดจากการบริหารงานทางเศรษฐกิจ การเมืองอย่างมีประสิทธิภาพของรัฐบาล เริ่มต้นจากการได้อำนาจ รัฐมาด้วยความชอบธรรมทางการเมืองและได้บริหารงานอย่างมี ประสิทธิภาพทำให้ประชาชนพอใจ มีความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจ คือต้องทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตในอัตราที่สูง ทำให้ องค์กรทางเศรษฐกิจสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะ เดียวกัน รัฐบาลจะต้องป้องกันมิให้เกิดการใช้อำนาจทางการเมืองที่ ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทุจริต คอร์รัปชันของนักการเมือง ในด้านการใช้จ่ายและการเก็บภาษี รวมถึงการกู้ยืมของรัฐบาล รัฐบาลต้องพิจารณาถึงดุลยภาพทางการคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะ สม ทำให้เศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศสามารถเจริญเติบโตใน อัตราที่สูงและประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี การใช้นโยบาย ประชานิยมต่าง ๆ จึงต้องพิจารณาถึงการขาดดุลทางการคลังใน อัตราที่เหมาะสม การใช้จ่ายต่าง ๆ ของรัฐบาลจะต้องพิจารณาถึง การจัดเก็บภาษีและการหารายได้ของรัฐบาลประกอบด้วย ๏ วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.ไผทชิต เอกจริยกร ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง จุดตัด ทางรถไฟ ความโดยสรุปว่า จุดตัดทางรถไฟในปัจจุบันแบ่งเป็น ๔ ประเภท คือ จุดตัดทางรถไฟแบบต่างระดับ จุดตัดทางรถไฟแบบมี เครื่องกั้น จุดตัดทางรถไฟแบบควบคุมด้วยเครื่องหมายจราจร และ จุดตัดทางรถไฟที่เป็นทางลักผ่าน ค่าเฉลี่ยของการเกิดอุบัติเหตุ บริเวณจุดตัดทางรถไฟพบว่า เกิดขึ้นบริเวณจุดตัดทางรถไฟประเภท ทางลักผ่าน และจุดตัดทางรถไฟที่ควบคุมด้วยเครื่องหมายจราจรไม่ ครบถ้วน ไม่ได้มาตรฐาน หรืออยู่ในสภาพชำรุด จุดตัดทางรถไฟมี ความลาดชัน สภาพผิวจราจรชำรุด มีสิ่งปลูกสร้าง พุ่มไม้หรือหญ้า สูงบริเวณข้างทางรถไฟ ไม่มีไฟฟ้าและแสงสว่าง ทำให้ระยะ การมองเห็นรถไฟมีไม่เพียงพอ หรือผู้ขับขี่มีพฤติกรรมขับฝ่า เครื่องกั้น การลดอุบัติเหตุที่เกิดในบริเวณจุดตัดทางรถไฟทำได้โดยใช้ หลักการทางด้านวิศวกรรม ติดตั้งอุปกรณ์และเครื่องหมาย ก่อสร้าง ทางตัดผ่านต่างระดับ ควบคุมผู้ขับขี่ยานพาหนะ ให้ความรู้ความ เข้าใจแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ส่งเสริมวินัย จราจร ปิดจุดลักผ่านหรือปิดจุดตัดรถไฟที่ไม่จำเป็น การปิดกั้นจุด ตัดทางรถไฟเพื่อให้รถไฟผ่านควรใช้เวลาที่น้อยที่สุดเพื่อให้ผู้ขับขี่มี ความอดทนและไม่ฝ่าฝืนเครื่องกั้น การจัดทำจุดตัดผ่านทางรถไฟ แต่ละจุดต้องสำรวจและวางแผนถึงพื้นที่และความจำเป็น การรถไฟ แห่งประเทศไทยและหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นต้องร่วม มือกันหาแนวทางการแก้ไข และจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจน ติดตั้งสัญญาณเตือนแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะให้ครบถ้วนและได้ มาตรฐาน จัดทำทางลอดหรือทางต่างระดับในจุดตัดทางรถไฟที่ สำคัญให้ครบ เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุและปัญหาจราจร ซึ่งรัฐบาล ควรให้ความสำคัญเพราะเป็นความปลอดภัยของประชาชน นอกจากนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยควรจัดทำทะเบียนประวัติ ของจุดตัดรถไฟต่าง ๆ เพื่อใช้ในการบริหารความปลอดภัย และจัด ลำดับความสำคัญของจุดตัดรถไฟ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและให้ ทราบถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ใน ทะเบียนประวัติจุดตัดทางรถไฟควรระบุถึงจำนวนขบวนรถไฟและ ปริมาณรถยนต์ที่ผ่าน ความเร็วของรถยนต์และรถไฟที่วิ่งผ่าน ลักษณะทางเรขาคณิตในการมองเห็น สิ่งที่บดบังสายตา การ ควบคุมจุดตัดทางรถไฟและเครื่องหมายจราจรที่ใช้บริเวณนั้น และ จุดตัดทางรถไฟที่มีการลักลอบตัดถนนผ่าน ควรปิดบางจุดตัดที่มี อันตรายหรือจุดตัดที่ไม่มีความจำเป็นลง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด อุบัติเหตุอีก รศ. ดร.ชาย โพธิสิตา ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ชนบท ไทยในวิถีทุนนิยม ความโดยสรุปว่า ในช่วงเวลาประมาณ ๑๕๐ ปีที่ ผ่านมา ชนบทไทยเปลี่ยนผ่านจากชุมชนที่ทำการผลิตแบบพอยังชีพ เพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก ไปสู่การผลิตเพื่อตอบสนองความ ต้องการของตลาดภายใต้วิถีทุนนิยม พลังที่ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงนี้เริ่มจากภายนอก แล้วค่อย ๆ แผ่ขยายไปสู่ชนบทที่ อยู่ห่างไกล ครัวเรือนในชนบทซึ่งเป็นหน่วยการผลิตขั้นพื้นฐาน ทางการเกษตรได้เข้าสู่การเป็นเกษตรทุนนิยมอย่างเต็มตัว ใช้ ต้นทุนการผลิตสูงและใช้เทคโนโลยีมาก บรรษัทธุรกิจการเกษตรทั้ง ในประเทศและบริษัทข้ามชาติเข้ามามีบทบาท และบางครั้งก็กลาย เป็นคู่แข่งสำหรับผู้ผลิตรายเล็กคือครัวเรือนเกษตรกรในชนบท เกษตรทุนนิยมในชนบทจึงเชื่อมโยงกับทุนนิยมเสรีในระดับสากล ทำให้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในระดับสากลด้วย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีส่วนทำให้ครัวเรือนเกษตรกรและ แรงงานในภาคเกษตรลดลง เนื่องจากในปัจจุบันเป็นการผลิตที่ใช้ ทุนสูง และมีความเสี่ยงสูง แต่ให้ผลตอบแทนต่ำและไม่แน่นอน เกษตรกรจำนวนมากจึงหันไปหารายได้จากแหล่งอื่น เช่น ไปทำงาน ในเมือง บางส่วนเลิกทำการเกษตร ระบบทุนนิยมเสรีทำให้เกิดการกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน และส่งผลให้ครัวเรือนเกษตรกรจำนวนมากสูญเสียที่ดินอันเป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=