2711_9139
8 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ ๑๘๖/๒๕๕๐ ไปรษณีย์ดุสิต ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เพื่อเผยแพร่งานวิชาการ ข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถาน จัดทำโดย บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริการวิชาการ ราชบัณฑิตยสถาน นางสาวบุญธรรม กรานทอง พิมพ์ที่ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด ๓๐๗ ซอยลาดพร้าว ๘๗ วังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ โทรสาร ๐ ๒๕๓๙ ๒๕๑๒, ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๙ นางทิพาภรณ์ ธารีเกษ นางสาวพัชนะ บุญประดิษฐ์ นางสาวอารี พลดี นางสาวปิยรัตน์ อินทร์อ่อน นางสาวกระลำภักษ์ แพรกทอง ‰ ¢ ª— ≠ À “ ¿ “ … “ ‰ ∑ ¬ นางกนกวรรณ ทองตะโก นางสาวกุลศิรินทร์ นาคไพจิตร นางพรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ นายอาคม คงทน นายอภิเดช บุญสงค์ ถาม คำว่า มรสุม มีความหมายอะไรบ้าง ตอบ คำว่า มรสุม เป็นคำนาม ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายว่า คราว; คราวลม, คราวพายุ; ลมฝน; ชื่อ พายุใหญ่ที่มีลมแรง และมีฝนตกหนัก, โดยปริยายหมายถึงความยุ่งยาก เดือดร้อนที่เกิดในบางช่วงชีวิต เช่น มรสุมชีวิต ส่วนในทางภูมิศาสตร์ คำว่า มรสุม หรือ ลมมรสุม เป็นศัพท์บัญญัติของ คำว่า monsoon ซึ่งหมายถึง ลมประจำฤดู คำว่า monsoon นี้ เป็นคำที่มาจากภาษาอาหรับ คือคำว่า mausim แปลว่า ฤดูกาล ในครั้งแรก ใช้เรียกลมที่เกิดขึ้นในย่านทะเลอาหรับ ซึ่ง พัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเวลา ๖ เดือน และจากทิศตะวันตก เฉียงใต้เป็นเวลา ๖ เดือน ต่อมาได้นำคำนี้ไปใช้เรียกลมที่พัดเปลี่ยน ทิศทางตามฤดูกาลในรอบปีเช่นนี้อันเนื่องมาจากความแตกต่างของหย่อม ความกดอากาศเหนือภาคพื้นทวีปกับมหาสมุทรที่อยู่ข้างเคียง ตัวอย่างที่ เกิดลมมรสุมที่เห็นเด่นชัด ได้แก่ บริเวณอนุทวีปอินเดีย และภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงฤดูร้อน ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะ พัดพาความชุ่มชื้นจากมหาสมุทรเข้าสู่ แผ่นดิน ทำให้เกิดฝนตก โดย ทั่วไป ส่วนในช่วงฤดูหนาว ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากพื้น แผ่นดินในทวีปจะนำความแห้งแล้งมาให้เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บางพื้นที่ ที่ลมนี้พัดผ่านมหาสมุทรก่อนจะขึ้นสู่แผ่นดินอีกครั้งจึงจะนำฝนมาตกบ้าง นอกจากในทวีปเอเชียที่เกิดลมมรสุมแล้ว ยังมีลมมรสุมเกิดขึ้นในบริเวณ อื่น ๆ แต่มีอาณาเขตเล็กกว่า เช่น บริเวณตอนเหนือของประเทศ ออสเตรเลียบางส่วนของทวีปแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตะวันตก ถาม ศัพท์บัญญัติของคำว่า depression ในทางภูมิศาสตร์ใช้อย่างไรและมี ความหมายว่าอะไร ตอบ คำว่า depression ในทางภูมิศาสตร์ ใช้ศัพท์บัญญัติว่า แอ่ง ซึ่งหมาย ถึง พื้นที่ซึ่งมีผิวหน้าต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียง หรือทับศัพท์เป็น ดีเปรสชัน หมายถึง บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำที่มีลมพัดเวียนเข้าหา ศูนย์กลางคล้ายวงก้นหอยทวนเข็มนาฬิกาสำหรับพายุที่เกิดในซีกโลก เหนือ (ส่วนพายุที่เกิดในซีกโลกใต้ ลมจะพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางตาม เข็มนาฬิกา) บริเวณศูนย์กลางพายุเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำที่สุด พายุดีเปรสชันเป็นพายุที่มีกำลังอ่อน ท้องฟ้าเต็มไปด้วยเมฆชั้นต่ำหนา แน่น มีฝนปานกลางถึงตกหนักและมีบริเวณปกคลุมไม่กว้างขวางนัก ความเร็วลมสูงสุดใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่ถึง ๓๔ นอต หรือ ๖๑ กม. ต่อ ชั่วโมง แต่เมื่อพายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงขึ้นก็จะกลายเป็นพายุโซนร้อน [tropical storm] ซึ่งมีอันตรายรุนแรงขึ้นและเมื่อพายุโซนร้อนทวีกำลัง แรงขึ้นเรื่อย ๆ ต่อไปอีก ก็จะกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น [typhoon] ซึ่งมี อันตรายที่เกิดจากคลื่นลมและฝนรุนแรงมาก นอกจากนี้ยังมีศัพท์บัญญัติของคำว่า depression ในสาขาวิชาอื่นอีก ได้แก่ ศัพท์วิทยาศาสตร์ ใช้ว่า ๑. หย่อมความกดอากาศต่ำ ๒. พายุ ดีเปรสชัน ศัพท์ธรณีวิทยา ใช้ว่า แอ่ง ศัพท์แพทยศาสตร์ ใช้ว่า ๑. แอ่ง, รอยบุ๋ม ๒. การทำหน้าที่ลดลง ๓. ภาวะเศร้าซึม ศัพท์รัฐศาสตร์ ใช้ว่า ภาวะตกต่ำ ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ใช้ว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และศัพท์ ภูมิศาสตร์ ใช้ว่า ๑. แอ่ง ๒. ดีเปรสชัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=