2711_9139

ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ 7 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๕ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๕ ครูส ตำบลกุฎีจีน มีจ่าหน้าว่า “คำสอนคริสตัง พิมพ์ขึ้นในวันซังตาครูส ณ บางกอก” ในสมัยรัตนโกสินทร์ แบบปกหนังสือของ ๔ เล่มแรกคือ ๑. พรหม วิหารกถา (พ.ศ. ๒๔๖๘) ๒. เรื่องนะโม (พ.ศ. ๒๔๗๐) ๓. สอนนายและ นาง (พ.ศ. ๒๔๗๔) ๔. จกฺกกถา (พ.ศ. ๒๔๖๗) มีลายไทยเป็นกรอบส่วน น้อย แต่มีชื่อและเรื่องเป็นตัวอักษรบนพื้นที่ที่มากกว่า อีก ๔ เล่มคือ ๑. The Vajrañâ na – NATIONAL LIBRARY [พ.ศ. ๒๔๖๗ (ค.ศ. ๑๙๒๔)] ๒. เรียงความมังคลัตถทีปนี – ภาค ๓ ตอน ๒ ๓. A new guide ๑ to BANGKOK (มีภาพเจดีย์วัดอรุณราชวราราม) ๔. Bangkok Siam (หนังสือของ Royal State Railways of Siam) มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลาย ไทยและเป็นกรอบด้วย ตัวอักษรชื่อ และเรื่องบนพื้นที่ส่วนน้อยกว่า ลักษณะของลายไทยเป็นองค์ประกอบใหญ่ (composition) ประกอบไป ด้วยส่วนประกอบ (elements) เป็นรายละเอียดซึ่งถูกนำมาจัดเรียงหรือ ประกอบกันเข้าเป็นองค์ประกอบรวม การจำแนกลักษณะของปกนี้เป็น ความคิดของผู้บรรยายเอง เลขของปีพุทธศักราชท้ายหนังสือแสดงถึงสมัย ของศิลปะรัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น (ระหว่างรัชกาลที่ ๔-๖) ส่วนปกที่ได้รับการ ออกแบบเป็นพิเศษ ๕ เล่มคือ ๑. โวหารกรมสวัสดี ๒. ปลุกใจเสือป่า ๓. ทำเนียบนาม ภาค ๑ ๔. ประชุมโคลงกวี จารึกวัดพระเชตุพน ๕. ศัพท์ไทย เล่ม ๒ ๏  วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง คำศัพท์ที่มี ความหมายเกี่ยวกับกริยาอาการในภาษาไทยถิ่นใต้ (อำเภอเมืองสงขลา) ความโดยสรุปว่า คำศัพท์ที่มีความหมายเกี่ยวกับกิริยาอาการในภาษาไทย ถิ่นใต้ (อำเภอเมืองสงขลา) ที่รวบรวมมาเสนอในครั้งนี้ รวมเป็นคำกริยา ทั้งสิ้นจำนวน ๑๕๗ คำ เป็นคำที่ทำหน้าที่เป็นคำกริยาอกรรม (กอ.) ๙๑ คำ และคำที่มีหน้าที่เป็นคำกริยาสกรรม (กส.) ๖๖ คำ คำศัพท์แต่ละคำได้ นำมาแสดงการออกเสียงภาษาไทยถิ่นสงขลา ด้วยสัทอักษรสากล บอก ชนิดของหมวดคำ และความหมายในภาษาไทยกรุงเทพ พร้อมตัวอย่าง ข้อสังเกต เมื่อศึกษาลักษณะเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นสงขลาที่ เกิดขึ้นกับคำศัพท์ที่เขียนด้วยอักษร ๓ หมู่แต่ละหมู่แล้ว จะเห็นได้ชัดเจน ว่าการเรียกชื่ออักษรเป็น ๓ อย่างว่า อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ คงเนื่องมาจากการออกเสียงสูงต่ำของวรรณยุกต์ในคำศัพท์ที่เขียนด้วย อักษรนั้น ๆ ดังนี้ เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นสงขลามีอยู่ ๗ หน่วยเสียง คือ ๑. วรรณยุกต์สูง-ขึ้น คือเสียงสูง-เลื่อนขึ้น เกิดในคำที่ขึ้นต้นด้วย อักษรสูง เช่น kha: 1 “ขา, ข่า” khat 1 “ขัด” ๒. วรรณยุกต์สูง-ตก คือเสียงสูง-เลื่อนลง เกิดในคำที่ขึ้นต้นด้วย อักษรสูง เช่น kha: 2 “ข้า” kha:t 2 “ขาด” ๓. วรรณยุกต์กลาง-ระดับ คือเสียงกลางระดับ เกิดในคำที่ขึ้นต้นด้วย อักษรกลาง เช่น ka:w 3 “เก้า” ka:p 3 “กาบ” ๔. วรรณยุกต์กลาง-ต่ำ-ขึ้น คือเสียงต่ำ-เลื่อนขึ้น เกิดในคำที่ขึ้นต้น ด้วยอักษรกลาง เช่น kaw 4 “เกา, เก่า” kat 4 “กัด” ๕. วรรณยุกต์กลาง-ระดับ-ตก คือเสียงกลางระดับ-เลื่อนลง เกิดใน คำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรต่ำ เช่น kha: 5 “คา” ๖. วรรณยุกต์ต่ำ-ระดับ คือเสียงต่ำ-ระดับ เกิดในคำที่ขึ้นต้นด้วย อักษรต่ำ เช่น kha: 6 “ค่า” kha:t 6 “คาด” ๗. วรรณยุกต์ต่ำ-ตก คือเสียงต่ำ-เลื่อนลง เกิดในคำที่ขึ้นต้นด้วย อักษรต่ำ เช่น kha: 7 “ค้า” khat 7 “คัด” จะสังเกตได้ว่าชื่ออักษรแต่ละหมู่ในภาษาไทยกรุงเทพจะตรงกับ ลักษณะเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นสงขลา ยกเว้นวรรณยุกต์ที่ ๕ ซึ่ง เป็นเสียงกลาง-ระดับ-ตกในภาษาไทยถิ่นสงขลา แต่เขียนด้วยอักษรต่ำ เช่น ค ลักษณะเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยกรุงเทพแบ่งออกเป็น ๕ หน่วยเสียง คือ ๑. สูง-ตก (โท) เช่น ข้า ก้า ค่า วรรณยุกต์เสียงสูง แต่เกิดกับคำที่ ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะทั้งอักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ ๒. สูง-ระดับ (ตรี) เช่น ค้า วรรณยุกต์เสียงสูงแต่เกิดกับคำที่ขึ้นต้น ด้วยพยัญชนะอักษรต่ำ ๓. กลาง-ระดับ (สามัญ) เช่น กา คา วรรณยุกต์เสียงกลาง แต่เกิด กับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะทั้งอักษรกลางและอักษรต่ำ ๔. ต่ำ-ระดับ (เอก) เช่น ก่า ข่า วรรณยุกต์เสียงต่ำ แต่เกิดกับคำที่ ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะทั้งอักษรสูงและอักษรกลาง ๕. ต่ำ-ขึ้น (จัตวา) เช่น ขา วรรณยุกต์เสียงต่ำ แต่เกิดกับคำที่ขึ้นต้น ด้วยพยัญชนะอักษรสูง เมื่อเปรียบเทียบคำศัพท์เดียวกันที่ใช้ในภาษาสงขลากับที่ใช้ในภาษาไทย กรุงเทพ จะเห็นความแตกต่างของเสียงวรรณยุกต์กับชื่ออักษรอย่าง ชัดเจนในภาษาไทยกรุงเทพ แต่ในภาษาไทยถิ่นสงขลาจะสอดคล้องกันเป็น ส่วนใหญ่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ชื่ออักษร ๓ หมู่นี้แต่เดิมคงจะเป็นลักษณะ เดียวกับลักษณะหน่วยเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นสงขลา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=