2711_9139
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน โคลงของสุนทรภู่ที่มีลักษณะคล้ายกลอนไปแต่งเป็นโคลงกลอนหรือกลอน โคลง ผู้บรรยายมีความเห็นว่าการแต่งโคลงเพิ่มเกียรติคุณด้านการแต่งคำ ประพันธ์ให้แก่สุนทรภู่ ไม่ใช่ทำลาย และโคลงนิราศของสุนทรภู่เน้นเล่า เรื่องการเดินทาง ไม่ได้เน้นแสดงอารมณ์โศกเศร้า นอกจากนี้สุนทรภู่ยัง ฉลาดในการเลือกชนิดโคลงกลบทให้เหมาะแก่การนำเสนอเนื้อหา คือ ใช้ กลบทซึ่งมีกลวิธีการแต่งซับซ้อนพรรณนาเฉพาะเรื่องหรือเฉพาะจุด และ ใช้กลบทซึ่งมีความซับซ้อนน้อยเดินเรื่องนิราศ ทำให้ประสบความสำเร็จใน การแต่งโคลงกลบทอย่างน่ายกย่อง ๏ วันอังคารที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง การ์โล ริโกลี ผู้ ประสานจิตรกรรมไทยกับจิตรกรรมตะวันตก ความโดยสรุปว่า ช่วง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ สำคัญของศิลปะในประเทศไทย สมัยรัชกาลที่ ๕ การพัฒนาประเทศทาง ศิลปะตามแบบอย่างของประเทศตะวันตกในยุโรป ได้กระทำอย่างจริงจัง ดังนั้นในรัชกาลนี้จึงว่าจ้างศิลปิน สถาปนิก วิศวกร จากยุโรปเข้ามา ทำงานให้กับราชสำนักสยามเป็นจำนวนมาก ศิลปินชาวตะวันตกที่มี บทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของจิตรกรรมไทยคือ นาย การ์โล ริโกลี (Carlo Rigoli: ๑๘๘๓-๑๙๖๒) จิตรกรชาวอิตาลี ซึ่งเดินทาง เข้ามาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ผลงานสำคัญ เช่น จิตรกรรมสีปูนแห้งที่วังบางขุน พรหม จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดราชาธิวาส กรุงเทพฯ จิตรกรรมปูน แห้งพระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหลายองค์ ส่วนมากเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ที่มี พื้นหลังทึบแสงและเงาแบบประเพณีนิยมของตะวันตก นายการ์โล ริโกลี ได้ทำงานหลายอย่างร่วมกับ สมเด็จพระเจ้าบรม- วงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็น “นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม” ผลงานจิตรกรรมที่สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงทำร่วม กับนายการ์โล ริโกลี เป็นงานจิตรกรรมแนวใหม่ที่ผสมผสานกันระหว่างรูป แบบของจิตรกรรมตะวันตกกับแบบประเพณีไทย โดยนำภาพไทยหรือลาย เส้นแบบประเพณีไทยมาระบายสีตามหลักจิตรกรรมตะวันตก โดยระบาย ให้มีของแสงและเงา หลักทัศนมิติ ทำให้มองเห็นภาพเป็นสามมิติ การสร้างงานจิตรกรรมฝาผนังแบบตะวันตกนั้น ขรัวอินโข่ง จิตรกร เอกสมัยรัชกาลที่ ๔ เคยวาดไว้ที่ผนังพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เขต พระนคร และฝาผนังพระอุโบสถวัดบรมนิวาส เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถทั้ง ๒ หลัง ขรัวอินโข่งเปลี่ยนรูปแบบ ศิลปะและเนื้อหา ให้ต่างไปจากประเพณีนิยมที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งเป็นภาพ ระบายสีเรียบ ๆ ปิดทองคำเปลว ตัดเส้นให้เป็นรูปต่าง ๆ และนิยมจัดองค์ ประกอบศิลป์นิยมเรียงกันไปตามเนื้อเรื่องจากผนังด้านล่างขึ้นไปยังผนัง ด้านบน การสร้างภาพให้มีระยะใกล้และไกลด้วยระบบเส้นขนาน ไม่ใช้ หลักทัศนมิติแบบตะวันตก ภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่งเป็นแบบ เหมือนจริง (realistic) ใช้ค่าต่างของแสงเงา (Chiaroscuro) มีระยะใกล้ไกล ตามหลักทัศนมิติแบบตะวันตก และเปลี่ยนจากเรื่องพุทธประวัติชาดกต่าง ๆ มาเป็นภาพปริศนาธรรมและประเพณีไทย การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาและรูป แบบจิตรกรรมฝาผนังของขรัวอินโข่งเป็นจุดเริ่มต้นของจิตรกรรมสมัยใหม่ หรือจิตรกรรมแบบตะวันตกในประเทศไทย จิตรกรรมของสกุลช่างขรัวอินโข่งมีรูปแบบเป็นตะวันตกแต่เนื้อหา เป็นไทย ต่างจากจิตรกรรมที่เกิดจากการร่วมมือกันระหว่างสมเด็จฯ เจ้า ฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์กับนายการ์โล ริโกลี ที่เนื้อหาเป็นไทยแต่ รูปแบบเป็นตะวันตกและไทยผสมกันคือ ตัวภาพเป็นไทย เนื้อหาเป็นไทย แต่ระบายสีตามหลักจิตรกรรมตะวันตก เช่น ภาพตกแต่งเพดานพระที่นั่ง บรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดราชาธิวาส เป็นจิตรกรรมฝาผนัง แนวใหม่ที่แตกต่างจากจิตรกรรมแบบประเพณีไทย และเป็นต้นแบบของ จิตรกรรมแนวประเพณีสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม แม้นายการ์โล ริโกลี มีบทบาทสำคัญในการผสมผสานงาน จิตรกรรมแบบตะวันตกเข้ากับงานจิตรกรรมไทยดังกล่าวแล้ว แต่งานหลัก ที่ดูเหมือนจะเป็นหน้าที่โดยตรงคือ การวาดภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ภาพเหมือนพระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางในสมัยนั้น เฉพาะงานจิตรกรรมที่น่าจะเป็นฝีมือของนายการ์โล ริโกลี ที่เป็นสมบัติของราชบัณฑิตยสถาน เท่าที่พบได้แก่ พระบรมสาทิส- ลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เต็มพระองค์ (สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาดเท่ากันคือ ๒๓๘x๑๔๐ เซนติเมตร ไม่ปรากฏปีที่วาด สันนิษฐานว่า อาจจะวาดในสมัยรัชกาลที่ ๖) รูปแบบของงานเป็นแบบประเพณีของ ตะวันตก วรรณะสีน้ำตาล ฉากหลังทึบ ให้ความสำคัญกับแสงและเงาที่จับ บนพระพักตร์ ซึ่งเป็นรูปแบบของการเขียนภาพเหมือนบุคคลของยุโรป ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ การใช้สีเป็นแบบแผนตามประเพณีนิยมของ จิตรกรรมยุโรป ใช้แสงเงาตามหลักวิชาการที่เรียกว่า หลักของแสงและ เงา โดยระบายสีให้มีค่าน้ำหนักที่ต่างกันระหว่างพื้นที่รับแสงและพื้นที่ทึบ แสง ใช้ค่าน้ำหนักของสีสีเดียว ไม่มีสีของบรรยากาศและวัตถุใกล้เคียง สะท้อน (reflect) เข้ามาและการรับสี (absorb) ตามหลักวิทยาศาสตร์ ที่ ส่งผลให้เกิดสีที่แพรวพราวตามแนวคิดของลัทธิอิมเพรสชัน (Impressionism) พระบรมสาทิสลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๒ พระองค์ เป็นหลักฐาน สำคัญที่แสดงให้เห็นรูปแบบของจิตรกรรมตะวันตกที่เข้ามาในประเทศ สยามสมัยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ นอกจากพระบรมสาทิสลักษณ์ทั้ง ๒ องค์แล้วยังมีภาพเหมือนบุคคล ของพระบรมวงศานุวงศ์อีกภาพ แต่ไม่ปรากฏนามศิลปิน อาจเป็นฝีมือ จิตรกรชาวยุโรปร่วมสมัยเดียวกัน ได้แก่ พระรูปเหมือนสมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (ขนาดสูง ๗๐ เซนติเมตร) พระรูปเหมือน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (ขนาดสูง ๗๐ เซนติเมตร) พระรูปเหมือนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ (ขนาดสูง ๗๐ เซนติเมตร) พระรูปเหมือนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม พระยาดำรงราชานุภาพ (ขนาดสูง ๗๐ เซนติเมตร) พระสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร รูปแบบโดยรวมของงานจิตรกรรมเหล่านี้มีลักษณะเป็นจิตรกรรม แบบวิชาการของตะวันตกที่การเขียนภาพเหมือนบุคคลมักเขียนพื้นหลัง เข้มและทึบเพื่อเน้นใบหน้าให้เด่น และความสำคัญกับหลักแสงและเงา ตามแบบประเพณีนิยมของจิตรกรรมตะวันตกตั้งแต่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อศิลปินสนใจเรื่องสีในแสงตามหลักวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม นายการ์โล ริโกลี เป็นศิลปินชาวตะวันตกที่สร้างผลงาน ไว้ในประเทศสยามไม่น้อย โดยเฉพาะผลงานจิตรกรรมที่สร้างร่วมกับ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์นั้นเป็นต้นแบบที่ให้อิทธิพล แก่ศิลปินไทยยุคหลังมาจนทุกวันนี้ ผศ. ดร.มาโนช กงกะนันทน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ปกหนังสือ เก่า ความโดยสรุปว่า หน้าปกหนังสือเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ โดยเฉพาะ ความงามบนหน้าปกหนังสือเป็นนิเทศศิลป์ (เลขนศิลป์ของสิ่งพิมพ์) ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี บาทหลวง คาทอลิกชื่อ การ์โนลด์ ได้จัดตั้งโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์หนังสือขึ้นที่วัดซางตา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=