2711_9139
5 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๕ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๕ ระบบภูมิคุ้มกันของประชากรไทยพบว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๕ ปี ส่วนใหญ่ ร้อยละ ๖๐ ยังไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อเอนเทอโรไวรัส ๗๑ สายพันธุ์ B5 และผู้ใหญ่ที่อายุเกิน ๑๒ ปีประมาณร้อยละ ๙๐ จะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อ เอนเทอโรไวรัส ๗๑ สายพันธุ์ B5 แล้ว ทำให้โรคนี้ส่วนใหญ่พบในเด็กเล็ก ที่มีอายุต่ำกว่า ๕ ปี พบในผู้ใหญ่น้อยมาก เนื่องจากไวรัสนี้สามารถขับถ่ายออกมาทางน้ำลาย สารคัดหลั่ง ตุ่ม น้ำที่ฝ่ามือ และอุจจาระ การติดต่อจึงเกิดได้โดยการสัมผัส และรับ ประทานอาหาร น้ำดื่ม ที่ปนเปื้อนเชื้อโรคดังกล่าว ดังนั้นการป้องกันที่ดี ที่สุดคือ การดูแลสุขอนามัย รักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้ สิ่งของร่วมกัน รับประทานอาหารที่สุก สะอาด ในปัจจุบันไม่มีวัคซีนและ ยาต้านไวรัสในการรักษา โรคส่วนใหญ่จะหายได้เอง โดยใช้เวลาประมาณ ๓-๕ วัน สำหรับการขับถ่ายเชื้อโรคออกจากร่างกายจะใช้เวลาถึง ๑ สัปดาห์ ดังนั้นผู้ป่วยทุกรายไม่ควรไปโรงเรียน ให้หยุดพักรักษาที่บ้าน ประมาณ ๑ สัปดาห์เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และเมื่อมีการ ระบาดในโรงเรียน ควรปิดโรงเรียนเพื่อลดการระบาดของโรค ๏ วันพุธที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ. นพ.กฤษณ์ จาฏามระ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง Searching for the ideal ความโดยสรุปว่า The management of breast cancer has long been a source of controversy, especially the treatment of local disease. Changes in our understanding of the biology of breast carcinoma, the early detection of tumour and the increasing emphasis on systemic therapy have radically changed our approach to the local treatment of breast cancer during the past 10 years. The diagnosis of breast cancer, not long ago, entailed automatic removal of the breast. This practice, only recently, was challenged by breast preservation surgery. This latter procedure, again, has undergone continual modification to improve the surgical outcomes as well as cosmesis. Under the umbrella of breast conservation, popular surgical approaches to treat the disease may involve simple wide excision of the malignant tumour but other attempts such as the use of myocutaneous flaps have been practiced with more confidence. At the Queen Sirikit Centre for Breast Cancer we favour another approach. Patients with breast preservation is treated initially with wide surgical excision of the tumour and local breast reconstruction using the rest of the local breast tissue. This involves moving breast tissue to fill the gap left behind following the surgical wide excision. This procedure alone in the majority of patients, gives very satisfactory results. In a small number of patients defects can be further improved. We have, recently, chosen the use of assisted free fat graft which further improves the final cosmetic outcomes with minimum morbidity to patients. สำนักศิลปกรรม ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ นายชนก สาคริก ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การบรรเลงพิณไร้ สาย ความโดยสรุปว่า เครื่องดนตรีในตระกูลพิณ หมายถึง เครื่องดนตรีที่มี สายขึง ใช้วัสดุหรือนิ้วดีดหรือสีให้เกิดเสียงโดยมีกล่องขยายเสียงอยู่ในตัว เช่น จะเข้ กระจับปี่ ซึง ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ แต่ด้วยความเจริญ ก้าวหน้าทางวิทยาการสมัยใหม่ที่รุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้เกิด เครื่องดนตรีหรือพิณชนิดใหม่ที่นักดนตรีสามารถบรรเลงเป็นเพลงได้โดย ไม่มีสายให้สัมผัสจับต้องเลยแม้แต่สายเดียว เรียกได้ว่าเป็น “พิณที่ไร้ สาย” พิณที่กล่าวถึงนี้มีชื่อว่า “เทอเรอมิน” (Therermin) ตั้งชื่อตามชื่อ ของผู้ประดิษฐ์คิดค้น คือ “ลีออง เทอเรอมิน” นักฟิสิกส์ชาวรัสเซีย พิณ เทอเรอมินใช้หลักการสร้างสนามไฟฟ้าในบริเวณกลางอากาศที่กำหนดไว้ เมื่อใช้มือโบกเข้าไปในบริเวณดังกล่าวเครื่องจะสร้างเป็นสัญญาณเสียง ดนตรีขึ้น โดยบริเวณหนึ่งเป็นระดับเสียงตัวโน้ต อีกบริเวณหนึ่งเป็นการ ควบคุมความดังของเสียงดนตรี ดังนั้นนักดนตรีจึงสามารถบรรเลงพิณ ชนิดนี้ได้โดยไม่ต้องมีสายที่จะต้องสัมผัสเลย จึงน่าจะเรียกพิณชนิดนี้ว่า “พิณไร้สาย” รศ. ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง นวัตกรรม ในการแต่งโคลงของสุนทรภู่ ความโดยสรุปว่า มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์ ว่าสุนทรภู่แต่งโคลงเพียงเรื่องเดียว เป็นโคลงสี่สุภาพจำนวน ๔๖๒ บทอยู่ ในเรื่องนิราศสุพรรณซึ่งตั้งใจแต่งให้เป็นเสมือนแผนที่การเดินทางจากวัด เทพธิดารามในกรุงเทพฯ ไปยังบ้านยางสองพี่น้องในเขตอำเภอสามชุก ของจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเสาะแสวงหาแร่ปรอทที่เชื่อว่าจะแปรธาตุเป็น ทองคำได้ ในครั้งนั้นไปทางน้ำโดยใช้เรือแจวซึ่งติดใบ โดยมีบุตรของ สุนทรภู่ บุตรบุญธรรม และลูกศิษย์ติดตามไปด้วยหลายคน เมื่อไปถึงศาล เจ้าสองพี่น้องจึงได้เก็บเรือซ่อนไว้แล้วขึ้นบกเดินเท้าต่อไปจนถึงถ้ำและ พระเจดีย์กลางป่าปู่เจ้าเขาโพรง เท่าที่ผ่านมาผลงานกลอนและกาพย์ ของสุนทรภู่ได้รับคำชื่นชมจากผู้อ่าน แต่โคลงกลับถูกตำหนิมาก เช่น ตำหนิว่าสุนทรภู่นำสัมผัสสระมาใช้แต่งโคลง ทำให้โคลงมีลีลาไม่กระชับ หนักแน่น แต่งเล่าเรื่องไปเรื่อย ๆ โดยไม่แสดงอารมณ์ทุกข์โศกอย่างเข้ม ข้นเหมือนโคลงนิราศของกวีโบราณ บางคนถึงกับกล่าวว่าสุนทรภู่ไม่น่าจะ แต่งโคลงเพราะแต่งแล้วทำลายชื่อเสียงด้านการประพันธ์ของตนเอง คำ ตำหนิเหล่านี้ทำให้ผู้บรรยายสนใจศึกษาโคลงของสุนทรภู่เพื่อพิสูจน์ว่า สุนทรภู่แต่งโคลงได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร และได้สร้างนวัตกรรมไว้ในโคลง บ้างหรือไม่ เพราะเมื่อสุนทรภู่แต่งกลอนและกาพย์ก็สร้างรูปแบบคำประ พันธ์พิเศษอันเป็นเอกลักษณ์ของตน การศึกษาครั้งนี้มี ๕ หัวข้อ ได้แก่ ข้อบังคับการแต่งโคลงสี่สุภาพของสุนทรภู่ การจำแนกประเภทโคลงของ สุนทรภู่ นวัตกรรมในโคลงสุนทรภู่ อิทธิพลของโคลงสุนทรภู่ และความ สำเร็จในการแต่งโคลงของสุนทรภู่โดยเน้นเฉพาะเรื่องโคลงกลบท ผลการศึกษาพบว่าสุนทรภู่สร้างนวัตกรรมรูปแบบโคลงขึ้นใหม่ ได้แก่ ๑. รูปแบบโคลงสี่สุภาพที่มีลักษณะเฉพาะแบบโคลงสุนทรภู่ซึ่งบังคับ ให้มีสัมผัสในเพิ่มขึ้น ๓ แห่งในโคลงแต่ละบทซึ่งมักมี ๓๒ คำในบทและมี คำสร้อยท้ายบาทที่สาม และยังเสริมความไพเราะโดยเพิ่มสัมผัสข้ามวรรค ในบาท โคลงสุนทรภู่มีสัมผัสข้ามวรรคอย่างน้อย ๑ บาทเสมอ สุนทรภู่ ชอบแต่งโคลงที่มีสัมผัสข้ามวรรคครบทั้ง ๔ บาทมากที่สุด ทั้งยังชอบใช้คำ หลายพยางค์ ทำให้ต้องอ่านรวบคำแต่ก็ทำให้ได้เสียงคำที่ไพเราะ ๒. โคลงกลบท ๒ ชนิดที่สร้างสรรค์ใหม่ ได้แก่ กลบทซ้อนดอก และ กลบทงูตวัดหาง (ไม่นับโคลงกลบทงูกระหวัดหางซึ่งคล้ายกับกลบทงูกระ หวัดหางของกวีโบราณ เพียงแต่ไม่มีสัมผัสระหว่างบาท) ๓. โคลงกลบทเดี่ยวที่มีสัมผัสใน ๓ แห่ง ทำให้มีลักษณะต่างไปจาก โคลงกลบทชื่อเดียวกันของกวีอื่น ๔. โคลงกลบทผสม ๒ ชนิดในโคลงบทเดียวกัน สุนทรภู่ได้สร้างสรรค์ ขึ้น ๗ ชนิด นอกจากนี้ พบว่าโคลงของสุนทรภู่มีอิทธิพลต่อกวีสมัยหลัง มีผู้แต่ง โคลงตามแบบสุนทรภู่โดยใช้สัมผัสสระในการแต่งโคลงมากขึ้น และนำ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=