2711_9139

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน - การปรับความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในสาระสำคัญของปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและความสามารถ ด้านการสอน สามารถให้ผู้เรียนนำหลักการคิดไปดำเนินการคิดการกระทำ ต่าง ๆ ใช้วิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดมโนทัศน์ นำวิธีสอนแบบนิรนัยและ อุปนัยมาใช้ สอนให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการ และฝึกให้ผู้เรียนดำเนินการ คิดตามลำดับขั้นตอน โดยได้รับแรงเสริมและข้อมูลป้อนกลับที่เหมาะสม จนกระทั่งสามารถทำได้จนชำนาญ - การพัฒนาครูทั้งนอกสถานศึกษา โดยการจัดการประชุม การ จัดการอบรมระยะสั้น การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดกลุ่ม อภิปราย การเสวนา แสวงหา จัดทำ พัฒนาเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ นวัตกรรมต่าง ๆ ที่สามารถอำนวยความสะดวกแก่ครูในการ เตรียมการสอน และการพัฒนาครูในสถานศึกษา โดยจัดให้ครูได้แลก เปลี่ยนประสบการณ์ความรู้และความคิดเห็นเป็นระยะ ๆ มีการถอดบท เรียน จัดการความรู้ ศึกษาทดลอง สร้างนวัตกรรม ทำวิจัย มีผู้ให้คำ ปรึกษาแนะนำ ให้การนิเทศอย่างสม่ำเสมอ จัดให้มีครูพี่เลี้ยงคอยให้ความ ช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด การให้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติกับตัวแบบที่ดี รวมทั้ง การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ๏ วันพุธที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ. ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ภาคีสมาชิก บรรยายวิชาการ เรื่อง แนวคิดจิตวิทยาในการจัดการความขัดแย้งในใจและสร้างสันติสุข ความโดยสรุปว่า โลกยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงมากทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในยุคสารสนเทศ การ สื่อสารด้านภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความขัดแย้งจาก ความไม่เข้าใจกันรุนแรงมากขึ้น ซึ่งสาเหตุใหญ่มาจากการสื่อสารกันไม่ เข้าใจ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ความขัดแย้งระหว่างบุคคล และ ความขัดแย้งในตนเอง ความขัดแย้งระหว่างบุคคล เกิดจากความต้องการบรรลุวัตถุประสงค์ การไม่ยอมรับความแตกต่าง ทรัพยากรที่มีอยู่ไม่เพียงพอสำหรับการแบ่ง ปัน และความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ระแวง และไม่เชื่อถือ วิธีแก้ไข ต้องเริ่มจากการแก้ไขความขัดแย้งภายในตนเอง ส่วนความขัดแย้ง ภายในตนเอง มี ๔ ชนิด คือ (๑) รักพี่เสียดายน้อง เกิดขึ้นเมื่อบุคคลอยาก ได้ของทั้ง ๒ สิ่ง แต่ต้องเลือกเพียงสิ่งเดียว (๒) หนีเสือปะจระเข้ เป็น ความขัดแย้งในตนที่เกิดขึ้นเพราะไม่อยากได้ทั้ง ๒ สิ่ง (๓) เกลียดตัวกินไข่ เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากอยากได้สิ่งหนึ่งแต่ไม่ชอบในสิ่งที่เกี่ยวพันกัน และ (๔) สองฝักสองฝ่าย เป็นความขัดแย้งที่อยากได้และไม่อยากได้สิ่ง หนึ่งในขณะเดียวกัน และเมื่อมีการจัดการความขัดแย้ง ผลที่ตามมา คือ มีผู้ชนะและมีผู้แพ้ ทำให้ความขัดแย้งยังไม่หมดไป เพราะความขัดแย้งยัง คงอยู่ในส่วนลึกของผู้แพ้ ดังนั้น วิธีการแก้ไขต่าง ๆ ดังกล่าวจึงทำได้โดย ต่างคนได้เพียงบางส่วน ไม่มีผู้ชนะและผู้แพ้ และชนะทั้ง ๒ ฝ่าย โดยหัน หน้ามาผจญปัญหาและหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน ทำให้ทั้ง ๒ ฝ่ายได้สิ่งที่ตน ต้องการและทำให้เป็นผู้ชนะทั้ง ๒ ฝ่าย แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างบุคคล ในทางรัฐศาสตร์ สามารถทำได้โดยการหาเป้าหมายที่มีผลประโยชน์ต่อส่วนรวมของทั้ง ๒ ฝ่าย เสนอผู้บังคับบัญชาระดับสูง จัดองค์กรใหม่ โดยแยกย้ายคู่พิพาท หรือใช้ระบบผู้แทนแต่ละฝ่ายเจรจาข้อขัดแย้ง และหาคนกลางไกล่เกลี่ย ซึ่งคนกลางต้องเป็นคนที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในความขัดแย้ง และต้องเป็น ผู้ที่ได้รับการยอมรับและความไว้วางใจของผู้ขัดแย้งทั้ง ๒ ฝ่าย การจัดการความขัดแย้งและสันติวิธีสามารถกระทำได้ หากบุคคล แต่ละบุคคลมีการเปิดเผยจริงใจ เห็นใจผู้อื่น สนับสนุนซึ่งกันและกัน มี เจตคติทางบวกต่อตนเองและผู้อื่น ยอมรับผู้อื่นเท่าเทียมกับตน ไม่เอา เปรียบผู้อื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกและพฤติกรรมของบุคคลในสังคม สำนักวิทยาศาสตร์ ๏ วันพุธที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร. มนุวดี หังสพฤกษ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง การสอบ เทียบมาตรฐานข้อมูลทางสมุทรศาสตร์เคมี ความโดยสรุปว่า การตอบ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ทางด้านสมุทรศาสตร์เคมี ต้องการข้อมูลจำนวน มากครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ของมหาสมุทร และต้องอาศัยความร่วมมือ ระหว่างประเทศในการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่าง ดังนั้นการจะนำมา เปรียบเทียบกัน ต้องแน่ใจว่าข้อมูลทุกอย่างที่ได้มาอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน คณะกรรมาธิการสมุทรศาสตร์ระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Oceanographic Commission; IOC) แห่งองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization; UNESCO) ได้มอบหมายงาน เตรียมสารมาตรฐานทางสมุทรศาสตร์เคมีให้กับคณะกรรมาธิการ วิทยาศาสตร์ด้านการวิจัยมหาสมุทร (Scientific Committee on Oceanic Research; SCOR) ซึ่งได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการใน เรื่องนี้ขึ้นหลายคณะ ปัจจุบันมีสารมาตรฐานจำนวนมากที่ผ่านการรับรององค์ประกอบโดย ละเอียด ซึ่งห้องปฏิบัติการต่าง ๆ สามารถจัดหามาใช้ในการสอบเทียบ คุณภาพการวิเคราะห์ทางเคมี เพื่อให้ข้อมูลที่ได้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน และสามารถใช้เปรียบเทียบกันได้ทั่วโลก ๏ วันพุธที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การระบาดของ โรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย ความโดยสรุปว่า โรคมือ เท้า ปาก เกิด จากไวรัสในกลุ่ม “เอนเทอโรไวรัส” ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว ไวรัสใน กลุ่มนี้ตัวที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก ได้แก่ คอกซากี และ เอนเทอโร ไวรัส ๗๑ โรคมือ เท้า ปาก มักเป็นในเด็กที่อายุต่ำกว่า ๕ ปี โดยมีอาการ แผลร้อนใน เป็นจำนวนมากในปาก ที่เพดาน ลิ้น และตุ่มน้ำใสที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในรายที่เป็นมากจะพบตุ่มน้ำใสเกิดขึ้นบริเวณข้อศอก ข้อเข่า และ ก้น ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง ในรายที่รุนแรงไวรัสจะเข้าไป ทำให้เกิดการอักเสบของสมองและกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดภาวะสมอง อักเสบ การหายใจล้มเหลว จนเสียชีวิตได้โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีอายุ น้อยกว่า ๓ ปี สำหรับเชื้อเอนเทอโรไวรัส ๗๑ อัตราการเสียชีวิตในเด็กที่ มีอายุน้อยกว่า ๑ ปี พบได้ในอัตราส่วน ๑ ต่อหลักร้อย แต่เมื่ออายุมาก กว่า ๑ ปี อัตราการเสียชีวิตจะลดน้อยลงเป็น ๑ ต่อหลักพันของผู้ป่วย การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย มักจะเกิดในฤดูฝน ช่วงเปิดเทอมแรกของทุกปี จากการศึกษาใน พ.ศ. ๒๕๕๑ สาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส ๗๑ สายพันธุ์ C4 และการศึกษาใน พ.ศ. ๒๕๕๒ เริ่มมีการพบคอกซากี A16 ร่วมกับเอนเทอโรไวรัส ๗๑ สำหรับ การศึกษาในประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๔ พบการระบาดของเชื้อ คอกซากี A16 และเอนเทอโรไวรัส ๗๑ สายพันธุ์ B5 และในปีนี้ ตั้งแต่ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๕ พบการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก อย่างกว้าง ขวาง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสคอกซากี A6 ประมาณร้อยละ ๘๐ ส่วน น้อยร้อยละ ๒๐ เกิดจากเอนเทอโรไวรัส ๗๑ สายพันธุ์ B5 สำหรับการ ระบาดในเวียดนาม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ทำให้เด็กเสียชีวิตกว่า ๕๐๐ คน เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส ๗๑ สายพันธุ์ C4 และในปีนี้ที่พบการระบาด ในเขมร และทำให้เด็กเสียชีวิตกว่า ๗๐ คน เข้าใจว่าน่าจะเป็นสายพันธุ์ เดียวกับเวียดนาม สำหรับประเทศไทยที่มีการระบาดอย่างกว้างขวาง เข้าใจว่าเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ที่ระบาดเป็นคอกซากี A6 และจากการตรวจ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=