2711_9139

3 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๕ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๕ สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ๏ วันพุธที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.มนัส สุวรรณ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง มหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ : มุมมองของนักภูมิศาสตร์ ความโดยสรุปว่า สภาพการณ์และ สถานการณ์ของโลกในปัจจุบันมีวิกฤตการณ์หลาย ๆ อย่างที่ทำให้ ประชาชนในทุกประเทศต้องวิตกกังวล ทั้งวิกฤตการณ์ทางการเมืองซึ่ง ได้แก่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ภาวะถดถอยและความไม่มั่นคงทาง เศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก และวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิด จากการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโลก พิบัติภัยทางธรรมชาติ ทั้ง อุทกภัย แผ่นดินไหว ไฟป่า และภัยแล้ง สภาพการณ์ของมหาอุทกภัย ๒๕๕๔ ได้สะท้อนให้เห็นข้อโต้แย้งทั้งใน เชิงความคิดและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องอยู่หลายประการ ได้แก่ การ บริหารจัดการน้ำ การขาดข้อมูลที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ การขาด ประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ในมุมมองทาง ภูมิศาสตร์สามารถวิเคราะห์และอธิบายได้ว่า มหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ที่ผ่าน มามีสาเหตุมาจาก ๒ กลุ่มปัจจัยคือ ปัจจัยทางธรรมชาติ และปัจจัยที่ มนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งในด้านปัจจัยทางธรรมชาติมีสาเหตุจาก (๑) มี พายุหมุนผ่านเข้ามาในประเทศไทย ๕ ลูก ได้แก่ พายุไหหม่า พายุนกเตน พายุไหถาง พายุเนสาด และพายุนาลแก (๒) มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยโดย รวมสูงกว่าปริมาณการระเหยของน้ำ ส่งผลให้มีปริมาณน้ำเหลือหรือน้ำ ส่วนเกินมาก (๓) ความคดเคี้ยวของลำน้ำซึ่งมีผลโดยตรงต่อความคล่อง ตัวในการระบายน้ำ และ (๔) ความตื้นเขินของลำน้ำทำให้ความสามารถใน การรองรับน้ำและการไหลของน้ำลดลง ส่วนปัจจัยที่มนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญ ได้แก่ การตัดไม้ทำลายป่า การใช้ที่ดินผิดประเภท การสร้างทำนบหรือพนังกั้นน้ำ และการดึงเอาน้ำ ใต้ดินมาใช้มากเกินไปทำให้แผ่นดินทรุดตัว ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์จะทำหน้าที่ เป็นตัวชะลอการไหลบ่าของน้ำไม่ให้มีความรุนแรง การสร้างทำนบหรือ พนังกั้นน้ำปิดกั้นน้ำไม่ให้เข้าท่วมจังหวัดหนึ่งหรือชุมชนหนึ่ง ทำให้น้ำไหล ไปท่วมจังหวัดอื่นหรือชุมชนอื่น การดึงเอาน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ประโยชน์ และ การสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างอันเนื่องมาจากการขยายตัวของความเป็น เมือง ทำให้แผ่นดินทรุดตัว บทวิเคราะห์มหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ในมุมมองของนักภูมิศาสตร์แยก ออกเป็น ๓ ส่วนตามมิติด้านเวลาของเหตุการณ์ คือ (๑) ก่อนเกิดพิบัติภัย หน่วยงานที่มีหน้าที่ให้ข้อมูลคือ กรมอุตุนิยมวิทยาไม่สามารถล่วงรู้ได้อย่าง ถูกต้องแม่นยำและไม่สามารถแจ้งเตือนให้ประชาชนได้ทราบอย่างทัน ท่วงที คนไทยที่อาศัยอยู่ในชนบทจะไม่มีความจริงจัง ไม่วิตกกังวล หรือไม่ เดือดร้อนมากนักกับอุบัติภัยธรรมชาติ ด้วยความคิดที่ว่าเป็นเรื่องของ ธรรมชาติ (๒) ระหว่างเกิดพิบัติภัย การดำเนินงานที่ขาดเอกภาพ ขาด การประสานงานระหว่างกัน ความสับสนในการให้ข้อมูลของรัฐบาล และ (๓) หลังเกิดพิบัติภัย ผู้รับผิดชอบมิได้คิดหามาตรการหรือวิธีการใด ๆ ใน การป้องกันดูแล การไม่เลือกหรือไม่ตัดสินใจทำประกันภัย การกระตุ้น เตือนให้ประชาชนมีความตระหนักในพิบัติภัยทางธรรมชาติ การส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการปลูกป่าและการฟื้นฟูสภาพป่า การขุดลอกคูคลอง ลำน้ำ และเส้นทางระบายน้ำต้องกระทำโดยเร่งด่วน งดการส่งเสริมและ สนับสนุนกิจกรรมใด ๆ ที่เป็นการใช้ที่ดินผิดประเภทตามหลักการจัดความ เหมาะสมของที่ดิน ควรเน้นการจัดหาพื้นที่แก้มลิง หรือพื้นที่รองรับน้ำ ขนาดเล็กถึงขนาดกลางให้กระจายอย่างทั่วถึง รวมทั้งการสร้างเส้นทาง ระบายน้ำเพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวด้วย ๏ วันพุธที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ. ดร.ทิศนา แขมมณี ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การขับเคลื่อน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาในการ จัดการเรียนรู้ ความโดยสรุปว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็น ปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำรัสชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี ซึ่ง เป็นทั้งหลักคิดและหลักปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของ ประชาชนทุกระดับ รวมไปถึงระดับรัฐหน่วยงานต่าง ๆ สามารถนำ ปรัชญานี้ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารและพัฒนาประเทศได้อย่างกว้าง ขวาง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจ กฎหมาย สังคม การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ ในทางการศึกษา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนับเป็นเรื่องที่ เกี่ยวข้องโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งระบุ จุดหมายที่จะพัฒนาเด็ก เยาวชน และพลเมืองของประเทศให้เป็นผู้มีคุณ- ธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย และปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ รวมทั้งได้ระบุคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่จำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นแก่ ผู้เรียนในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ๙ ประการ ได้แก่ การมีความ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ ทั้งยังระบุ สมรรถนะสำคัญที่ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนาความสามารถทั้งในด้านการ สื่อสาร การคิดแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี แต่ยังมี สถานศึกษาอีกเป็นจำนวนมากที่ประสบปัญหาในการพัฒนา เนื่องจากครู ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ สาระสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการพัฒนาผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สมบูรณ์ ต้องมี การสอนหลักคิดและฝึกทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียนให้มากพอ ครูจึง ควรเลือกวิธีสอนที่ใช้กระบวนการต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ดังกล่าวได้ ซึ่งมีหลายวิธี และได้ยกมากล่าว ๒ วิธีคือ ๑. วิธีสอน แบบนิรนัย เป็นการสอนจากหลักการไปสู่ตัวอย่างย่อย ๆ โดยครูให้ความรู้ ความเข้าใจในสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ซึ่งอาจเป็นทฤษฎี หลัก การ กฎ ข้อสรุป ข้อความรู้ แล้วจึงให้ตัวอย่างหลาย ๆ ตัวอย่างในการนำ ทฤษฎี หลักการ กฎไปใช้ และ ๒. วิธีสอนแบบอุปนัย เป็นวิธีที่ช่วยให้ ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับวิธีสอน แบบนิรนัย คือเป็นการสอนจากตัวอย่างไปหาหลักการ โดยครูจัดเตรียม ตัวอย่างที่หลากหลายจำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นสถานการณ์ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ ความคิด ข้อมูล ที่มีหลักการหรือแนวคิดที่ต้องการสอนแฝง อยู่ ให้ผู้เรียนได้ศึกษา วิเคราะห์ จนสามารถจับหลักการและสรุปได้ด้วย ตัวเอง จากการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของการจัดการเรียนรู้ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงบนฐานของศาสตร์ทางการสอน มีข้อเสนอแนะแนว ทางในการให้ความช่วยเหลือครู ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=