2710_8405
8 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ ๑๘๖/๒๕๕๐ ไปรษณีย์ดุสิต ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เพื่อเผยแพร่งานวิชาการ ข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถาน จัดทำโดย บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริการวิชาการ ราชบัณฑิตยสถาน นางสาวบุญธรรม กรานทอง พิมพ์ที่ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด ๓๐๗ ซอยลาดพร้าว ๘๗ วังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ โทรสาร ๐ ๒๕๓๙ ๒๕๑๒, ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๙ นางทิพาภรณ์ ธารีเกษ นางสาวพัชนะ บุญประดิษฐ์ นางสาวอารี พลดี นางสาวปิยรัตน์ อินทร์อ่อน นางสาวกระลำภักษ์ แพรกทอง ‰ ¢ ª— ≠ À “ ¿ “ … “ ‰ ∑ ¬ นางกนกวรรณ ทองตะโก นางสาวกุลศิรินทร์ นาคไพจิตร นางพรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ นายอาคม คงทน นายอภิเดช บุญสงค์ ถาม คำว่า ความรู้ และ องค์ความรู้ มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร ตอบ พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ อักษร A-L ฉบับราชบัณฑิตสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๑ ระบุไว้ว่า ความรู้ ตรงกับคำภาษา อังกฤษว่า knowledge หมายถึง สาระ ข้อมูล แนวคิด หลักการ ที่บุคคลรวบรวมได้จากประสบการณ์ในวิถีชีวิต ความรู้เป็นผลที่ เกิดขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สังคม และเทคโนโลยี บุคคลเรียนรู้จากประสบการณ์ การศึกษา อบรม การรับถ่ายทอดทางวัฒนธรรมการรับรู้ การคิด และการฝึกปฏิบัติ จนสามารถสรุปสาระความรู้และนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือพัฒนา ไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ส่วนคำว่า องค์ความรู้ เป็นศัพท์บัญญัติของคำว่า body of knowledge หมายถึง ความรู้ที่ประกอบด้วยมโนทัศน์หลัก โครงสร้างและช่องทางที่จะเข้าถึงความรู้ ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมี ส่วนในกระบวนการต่อไปนี้ ๑. กระบวนการรวบรวม ค้นคว้าอย่าง ลึกซึ้งและมีส่วนร่วม ๒. กระบวนการทดลองปฏิบัติวิเคราะห์ และ สรุปสาระ ๓. กระบวนการเกิดแนวคิด เนื้อหา และแนวทาง พัฒนา เรียกว่า ความรู้ และ ๔. กระบวนการสังเคราะห์ แนวคิด เนื้อหา แนวทาง บูรณาการมาเป็นองค์รวม เรียกว่า องค์ความรู้ เป็นความรู้ในระดับสูงขึ้น ถาม คำว่า KM ย่อมาจากคำว่าอะไรและมีความหมายอย่างไร ตอบ ในพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ อักษร A-L ฉบับราชบัณฑิต สถาน พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๓ ระบุว่า คำ knowledge management หรือย่อว่า KM หมายถึง กระบวนการความรู้ ของบุคคล และองค์กรเพื่อสร้างคุณภาพและประสิทธิภาพโดย การรวมกลุ่มกัน กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมคิดร่วมทำ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ของสมาชิกผสมผสานกับความรู้จากแหล่ง ข้อมูลทั่วไป มีการกำหนดเป้าหมาย วิธีการปฏิบัติ การทดลอง การตรวจสอบ การสังเคราะห์และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ในระดับบุคล การร่วมกระบวนการจัดการความรู้ ช่วยส่ง เสริมสร้างความตระหนักคุณค่า และความสามารถที่เป็นความรู้ ฝังลึกอยู่ภายในตน เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและการปฏิบัติงาน จนประสบความสำเร็จ ในระดับองค์กร กระบวนการจัดการความรู้ เน้นการเรียนรู้ เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกัน สมาชิกขององค์กรต่างเสริมพลังกันฉัน กัลยาณมิตร ทำให้องค์กรมีความเข้มแข็งและผลงานก้าวหน้า สอดคล้องกับวิสัยทัศน์เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning organization)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=