2710_8405
7 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๔ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ และศาสนสถาน มีหลายประเภท ดังนี้ - งานประติมากรรมประเภทพระพุทธปฏิมากร ได้แก่ พระพุทธ- ปฏิมากรประจำระเบียง พระพุทธปฏิมากรยืนขนาดสูงใหญ่ พระพุทธ- ปฏิมากร ๔ อิริยาบถหรือ ๔ ปาง พระพุทธปฏิมากรประจำซุ้มคูหา พระพุทธปฏิมากรพรรณนาเรื่อง - งานประติมากรรมประเภทภาพเทวดา อมนุษย์ - งานประติมากรรมประเภทภาพสัตว์ เช่น ภาพช้างในลักษณะต่าง ๆ ภาพสัตว์หิมพานต์ - งานประติมากรรมประเภทลวดลาย ได้แก่ ลวดลายแบบพันธุ์ พฤกษา ลวดลายแบบประดิษฐ์หรือลวดลายแบบเชิงประดิษฐ์ - งานประติมากรรมประเภทสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสถาปัตยกรรม เช่น แบบลวดบัว ศ. ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง แนวคิดเรื่อง ความแตกต่างทางวัฒนธรรมในนวนิยายของบุญเหลือ ความโดยสรุปว่า นอกจากหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ จะเป็นนักวิชาการที่มี คุณูปการสำคัญอย่างยิ่งทางการศึกษา ภาษา วรรณคดี และวรรณคดี วิจารณ์แล้ว ยังเป็นนักประพันธ์ที่มีผลงานโดดเด่นและหลากหลายประเภท อีกด้วย นวนิยาย ๓ เรื่อง คือ สะใภ้แหม่ม สุรัตนารี และ ดร. ลูกทุ่ง ซึ่ง แต่งโดยใช้นามปากกาว่า “บุญเหลือ” สะท้อนภาพสังคมและวัฒนธรรม ไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๕–๒๕๑๖ ได้อย่างน่าสนใจ สะใภ้ แหม่ม นำเสนอแนวคิดความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรม ไทยและวัฒนธรรมตะวันตก จากเนื้อหาเรื่องราวของผู้ชายไทยที่แต่งงาน กับผู้หญิงชาวอังกฤษ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่นำเสนอมีหลาย ประการ เช่น การพักอาศัย การเชิญแขกในงานเลี้ยง ภาษาในการ สื่อสาร อารมณ์ขัน การเห็นว่าฝรั่งสู้คนไทยไม่ได้ การเห็นว่าคนไทยบาง คนไม่ใส่ใจปัญหาของบ้านเมือง และการที่ผู้ชายไม่รับผิดชอบต่อ ครอบครัว นอกใจภรรยาหรือมีเมียน้อย นวนิยายเรื่อง สุรัตนารี เป็นนวนิยายแนวจินตนิมิต (fantasy) ที่นำ เสนอประเด็นของสตรีนิยมอย่างน่าสนใจ เพราะผู้หญิงและผู้ชายในประ เทศสุรัตซึ่งเป็นดินแดนในจินตนาการมีบทบาทหน้าที่กลับกัน ผู้หญิงเป็น ผู้นำครอบครัว ทำงานนอกบ้าน มีตำแหน่งสูงในการบริหารทั้งทาง ราชการและทางการเมือง เป็นเจ้าของที่ดิน และมีสิทธิ์อิสระในทุกเรื่อง ส่วนผู้ชายเป็นฝ่ายเลี้ยงลูกอยู่กับบ้านและดูแลครอบครัว ผู้ชายสุรัตส่วน มากมีบุคลิกอ่อนโยนกว่าผู้หญิง กล่าวได้ว่าในสังคมสุรัต ผู้หญิงเป็นผู้นำ ผู้ชายเป็นผู้ตาม แต่ประเทศสุรัตไม่ใช่สังคมปิด มีความเจริญก้าวหน้าใน ระดับประเทศที่เจริญแล้ว ผู้ชายสุรัตที่ไปศึกษาในต่างประเทศมีความคิด อยากให้ประเทศสุรัตมีวัฒนธรรมเช่นเดียวกับโลกภายนอก จึงพยายาม เรียกร้องสิทธิของบุรุษให้เท่าเทียมสตรี นวนิยายเรื่องสุรัตนารีจึงเป็นภาพ แตกต่างของวัฒนธรรมชาย-หญิงในโลกอุดมคติกับโลกแห่งความเป็นจริง และมีนัยแห่งการประชดเสียดสีสังคมที่แท้จริงแล้วผู้ชายเป็นผู้นำ อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้นใน สังคมโลกและสังคมไทย แนวคิดที่ “บุญเหลือ” นำเสนอไว้ในนวนิยาย เรื่องนี้ซึ่งดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ กลับมีความเป็นไปได้มากขึ้น นวนิยายเรื่อง ดร. ลูกทุ่ง นำเสนอแนวคิดความแตกต่างระหว่าง วัฒนธรรมชาวกรุงกับวัฒนธรรมชาวบ้าน มีประเด็นความขัดแย้งระดับ ลึกในเรื่องความคิดที่มีต่อสังคมว่าควรคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัวหรือ ประโยชน์ส่วนรวม โดยผู้เขียนนำเสนอผ่านตัวละครเอกฝ่ายชายและตัว ละครเอกฝ่ายหญิงซึ่งเป็นคู่สามีภรรยา ตัวละครเอกฝ่ายชายมีพื้นเพจาก ชาวชนบท เป็นคนเก่ง เฉลียวฉลาด เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลจบการ ศึกษาจากต่างประเทศ ส่วนตัวละครเอกฝ่ายหญิงมีเชื้อสายจากตระกูล ขุนนางหลังจากทำงานรับราชการไประยะหนึ่ง ตัวละครฝ่ายชายมีความ คิดจะหาเงินใช้ทุนแล้วลาออกจากราชการมาทำงานเอกชนซึ่งได้เงินเดือน มากกว่า ตัวละครเอกฝ่ายหญิงไม่เห็นด้วยเพราะเห็นว่าสามีของเธอเป็น ผู้มีโอกาสดีที่ได้รับทุนการศึกษาซึ่งมาจากเงินภาษีของราษฎร จึงควรทำ ราชการเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่มากกว่าจะคิดตั้งเนื้อ ตั้งตัวโดยทำงานที่ได้เงินเดือนมาก ๆ แม้ตัวละครฝ่ายหญิงจะไม่ได้มีฐานะ ร่ำรวยนัก มีพ่อพิการ แม่และเธอต้องทำงานเลี้ยงครอบครัว แต่ความ เต็มสมบูรณ์ในด้านชาติตระกูลเกียรติยศ ทำให้เธอมีจิตใจที่มั่นคงและ คำนึงถึงสังคมส่วนรวม ส่วนตัวละครฝ่ายชายที่ได้รับโอกาสเติมเต็มส่วน ที่พร่องในชีวิต ในด้านการศึกษา การทำงาน เกียรติยศในสังคม แต่ก็ อาจมีจิตใจหวั่นไหวว่อกแว่ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับคนที่สูงกว่า รวย กว่า สบายกว่า จึงเกิดความคิดเห็นแก่ตัวในบางโอกาส นอกจากนี้ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมชาวกรุงกับชาวบ้านยังปรากฏในเรื่องค่านิยม ความเคยชินในการปฏิบัติตัว ฯลฯ ที่นำเสนอผ่านเรื่องราวของญาติจาก ชนบทที่เข้ามาพักอาศัยในเมืองหลวง นวนิยายทั้ง ๓ เรื่องของหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ เป็น นวนิยายที่ฉายภาพสังคมและวัฒนธรรมจากประสบการณ์ของผู้เขียน เป็นความรู้ทางมนุษยวิทยาสังคมเชิงประจักษ์ที่เป็นข้อมูลแก่คนรุ่นหลัง นวนิยายของ “บุญเหลือ” จึงเป็นนวนิยายที่มีสาระความคิด แต่อ่านสนุก เพราะผู้เขียนมีความสามารถในการเพิ่มรสวรรณศิลป์ได้อย่างพอเหมาะ แม้ว่าปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ผู้เขียนนำเสนอไว้ในนวนิยาย ๓ เรื่องนี้หลายอย่างพ้นสมัย หรือคลี่คลายไปแล้วเพราะความ เปลี่ยนแปลงของสังคม แต่ทางแก้ไขปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรม โดยการที่ต่างฝ่ายต่างต้องเข้าใจ เรียนรู้ และปรับตัวเข้าหากัน เป็น ทางออกที่ยังทันสมัยและใช้การได้ตลอดไป ใน พ.ศ. ๒๕๕๕ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ เป็นบุคคลสำคัญของโลก เนื่องในโอกาสวันครบรอบ ๑๐๐ ปี ชาตกาล ในฐานะเป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วัฒนธรรม ภาษา และวรรณคดี การส่งเสริมสถานภาพสตรี และการส่งเสริมสันติภาพ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=