2710_8405
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน คือ กาพย์ เพลงบอก แปดบท และกลอนหนังตะลุง ในส่วนของเนื้อหา สาระก็เช่นเดียวกันล้วนมีสาระสำคัญที่สะท้อนความเป็นภาคใต้แทบทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของการใช้คำประพันธ์ และเนื้อหาสาระ ของกวี / ผู้ประพันธ์ /ผู้แต่ง วรรณกรรมทักษิณที่เข้าสู่ยุคการพิมพ์ส่วนใหญ่ใช้คำ ประพันธ์ประเภทกลอนแปด อีกทั้งเนื้อหาสาระก็ขยายตัวกว้างขวางขึ้น กว่าเดิมเป็นอันมาก ๏ วันอังคารที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ. ดร.นววรรณ พันธุเมธา ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง คำว่า มิ่ง และขวัญ ความโดยสรุปว่า คำว่า มิ่ง และ ขวัญ เป็นคำที่ใช้กันมานานใน ภาษาไทยและมีใช้ทั่วไปในภาษาตระกูลไทอื่นๆ อีกหลายภาษา หากเปรียบ เทียบความหมายของคำทั้งสองจะรู้ความหมายของคำว่า ขวัญ ดีกว่าคำ ว่า มิ่ง แต่พอจะกล่าวได้ว่าทั้ง มิ่ง และ ขวัญ เกี่ยวข้องกับระบบความ เชื่อของคนตระกูลไท เราเชื่อว่า มิ่ง และ ขวัญ มีอยู่ในคนและสิ่งต่าง ๆ ขวัญเป็นพลังชีวิต ถ้าขวัญหนีออกจากร่าง เจ้าของขวัญก็จะมีอันเป็น เช่น เจ็บป่วยหรือถึงกับสิ้นชีวิต ต้องมีพิธีเรียกขวัญให้กลับมายังร่างเจ้าของ และผูกมัดไว้ไม่ให้หนีหายไปอีก ส่วน มิ่ง สันนิษฐานว่าแสดงชะตาชีวิตของ เจ้าของ มิ่งคนแสดงชะตาชีวิตของคน มิ่งเมืองแสดงชะตาชีวิตของเมือง ทั้ง มิ่ง และ ขวัญ กลายความหมายไป ปัจจุบัน ๒ คำนี้ใช้ในความหมาย เหมือนกันได้ คือหมายถึง สิริมงคล ศ. ดร.พรสรรค์ วัฒนางกูร ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง พรถัง ซำจั๋งฉบับตะวันตก การเดินทางสู่ตะวันออก (Die Morgenland fahrt) ของแฮร์มันน์ เฮสเซอ-การค้นหาตัวตนในแง่พระพุทธศาสนา ความโดยสรุป ว่า การเดินทางสู่ตะวันออก (Die Morgenland fahrt) ของแฮร์มันน์ เฮสเซอ เป็นนวนิยายประเภทเรื่องเล่า กล่าวถึงการเดินทางในห้วงคำนึง ของตัวเอกในเรื่องซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้เล่าเรื่อง การเดินทางเป็น กระบวนการภายในจิตใจเพื่อค้นหาตนเองของผู้ประพันธ์โดยผ่านตัวเอก ของเรื่องคือ H.H. กระบวนการค้นหาตนเองนี้สามารถตีความมีนัยทาง พระพุทธศาสนาที่สำคัญ สามารถเทียบกับการเดินทางสู่ตะวันตกของพระถัง ซัมจั๋งจากประเทศจีนสู่อินเดียซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองจีน ให้แง่คิด เชิงเปรียบเทียบด้วย การเดินทางของพระถังซัมจั๋งกับการเดินทางของ H.H. มี วัตถุประสงค์ที่คล้ายกันคือการแสวงหา “ของพิเศษล้ำค่า” จะแตกต่างกัน ก็ตรงที่สาระและนัยของการเดินทาง กล่าวคือ การเดินทางมุ่งสู่ตะวันตก ของพระถังซัมจั๋งมีเป้าหมายทางพระพุทธศาสนาชัดเจน ส่วนการเดินทางใน จินตนาการด้านจิตวิญญาณของ H.H. เต็มไปด้วยการผจญภัยในห้วงเวลา อันไม่จำกัดของหลายร้อยศตวรรษ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่เปิดเผยการ ค้นหาตัวตนของผู้เล่าเรื่อง การเดินทางสู่ตะวันออกของเฮสเซอเสนอหลักการที่เป็นรากฐานของ ยุคโรแมนติก นั่นคือ แก่นเรื่องเป็นการเดินทางและการค้นหา เป็นความ พยายามที่จะเสนอเรื่องราวที่นำเสนอไม่ได้ ความพยายามที่จะระลึกถึงสิ่ง ที่ไม่อาจเอ่ยถึง และการทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ เป็นการบรรยาย สภาพของการแสวงหาที่ไม่มีวันรู้จบของความรู้ที่ไม่มีวันสมบูรณ์ การเดิน ทางเชิงสัญลักษณ์นี้แสดงถึงคุณสมบัติเด่นคือการเดินทางที่ไม่มีจริงและ การแสวงหาตัวตนที่มีอยู่ในความคิดในสมอง ในจินตนาการ นั่นก็คือการ เดินทางดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่อาจเป็นจริงหรือไม่อาจเกิดขึ้นได้เลยในความ เป็นจริง วิธีการที่จะบรรลุถึงเป้าหมายแห่งการรู้จักตนเองโดยมีสติรู้เท่า ทันปัจจุบันที่ง่ายที่สุดก็โดยการวิปัสสนากรรมฐานที่แต่ละคนจะเข้าถึงหรือ มีประสบการณ์ได้เพียงเฉพาะตนซึ่งผู้อื่นไม่สามารถมีส่วนร่วมรับรู้ถึง ประสบการณ์นั้นได้เลย ความหมายของ “หนทางของแต่ละบุคคล” ในแง่ พระพุทธศาสนาก็คือการรู้จักตนเองของมนุษย์แต่ละคน นับเป็นประสบการณ์ ส่วนตัวที่ผู้อื่นมิอาจรับรู้ด้วยได้ ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการมีสติรู้เท่าทันปัจจุบันและรู้จักตนเองจะทำให้ บุคคลผู้นั้นรู้จักทุกสิ่งในธรรมชาติตามความเป็นจริง มิใช่ตามสมมุติ อันจะ นำไปสู่การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง นำไปสู่การตัดสินใจ ที่ถูกต้อง กอปรด้วยปัญญาซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงตนและดำรง ชีวิตอยู่ในโลกได้อย่างดี มีความสุขและใช้ชีวิตอย่างมีศีลธรรม และเมื่อ บุคคลผู้นั้นปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็อาจเป็นหนทางนำไปสู่นิพพาน พ้นจาก การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏได้ ๏ วันอังคารที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ นายมติ ตั้งพานิช ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง สถาปัตยกรรมอวกาศ ความโดยสรุปว่า สถาปัตยกรรมอวกาศคือสถาปัตยกรรมที่อยู่ในอวกาศ โลก เป็นที่อยู่อาศัยและที่ปฏิบัติงานของมนุษย์ในอวกาศ พัฒนามาจาก ยานอวกาศ เป็นสถาปัตยกรรมที่โคจรอยู่รอบโลก ปัจจุบันมีรูปลักษณะ คล้ายยานอวกาศ และกำลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาให้มีรูปร่าง ลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ดาวดวงอื่น หรือการเดิน ทางที่ยาวไกลต่อไป ซึ่งคือบริเวณในอวกาศหรือจักรวาลที่ไกลออกไป โดย อาศัยข้อมูลจากการสำรวจและวิเคราะห์ที่ได้จากอุปกรณ์และยานสำรวจ อวกาศต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละแห่งจะมีผลต่อรูปร่างและลักษณะของ สถาปัตยกรรมที่จะต้องแตกต่างกันไป รูปแบบสถาปัตยกรรมอวกาศใน ปัจจุบันจึงยังเป็นเพียงรูปแบบที่โคจรอยู่ในบริเวณอวกาศรอบโลกเท่านั้น ศ.ไขแสง ศุขะวัฒนะ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ฟลาเมงโก-จิต วิญญาณแห่งอันดาลูเซีย ความโดยสรุปว่า ฟลาเมงโก (flamenco) หมาย ถึงเพลงขับร้องและระบำของชาวยิปซีซึ่งมีเชื้อสายดั้งเดิมจากอินเดีย เป็น พวกเร่ร่อน ส่วนใหญ่อยู่ในสเปน ลีลาระบำเลียนแบบท่านกกระเรียน มี ต้นกำเนิดมาจากเมืองกรานาดาในแคว้นอันดาลูเซียที่อยู่ตอนใต้ของสเปน ฟลาเมงโกมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ el cante หมายถึงเพลงขับร้อง บรรยายเรื่องราวจากตำนานหรือนิทาน และบทประพันธ์ที่ชมความงาม ของสถานที่ ส่วน baile หมายถึงระบำ มีทั้งผู้เต้นคนเดียวหรือผู้เต้นคู่ ชาย-หญิง นักเต้นรำหญิงจะใช้กรับสเปน (castanets) เคาะจังหวะ โดยที่ มือซ้ายถือ macho มือขวาถือ hembra ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าและให้จังหวะถี่ กว่า macho ส่วนนักเต้นรำชายจะเรียกร้องความสนใจด้วยการปรบมือ (palmada) พร้อมกับใช้ส้นรองเท้ากระแทกพื้น (stamping) หรือกระแทก พื้นไม่แรงอย่างถี่ ๆ (tapping) อาการทั้งสองนี้เรียกว่า zapa teado เพื่อ เพิ่มความคึกคักเร้าใจให้มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญซึ่งขาดเสียไม่ได้คือ มีการ เดี่ยวกีตาร์ (el toque) ประกอบการบรรเลงด้วย Spanish guitar เล่นใน ลีลาที่ตื่นเต้น เร้าใจ หรือสุดโศกสะเทือนอารมณ์ เมืองที่มีการแสดงฟลาเมงโกขนานแท้ เช่น กอร์โดบา กรานาดา เซ- บิญา ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์ชื่อ Museo del Baile Flamenco ๏ วันอังคารที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ นายจุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่องประติมากรรม ปูนปั้นสมัยสุโขทัย ความโดยสรุปว่า ประติมากรรมปูนปั้นสมัยสุโขทัย เป็นมรดกทางศิลปกรรมของชาติและเป็นประจักษ์พยานได้อย่างดีว่า ชาวสยามในโบราณมิได้เป็นเผ่าพันธุ์ที่ไร้อารยธรรม แหล่งสำคัญที่ พบงาน ได้แก่ เมืองสุโขทัย เมืองกำแพงเพชร เมืองศรีสัชนาลัย เมือง เพชรบูรณ์ งานประติมากรรมปูนปั้นเป็นภาพสะท้อนความรู้ ความคิด ความ สามารถ ความชำนาญในฝีมือของช่างอย่างดียิ่ง และทำให้ทราบได้ว่าชาว สุโขทัยมีสุนทรียภาพในงานประติมากรรมเพียงใด ที่ปรากฏในปูชนียสถาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=