2710_8405
5 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๔ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ หาค่า Nusselt number และแฟกเตอร์ความเสียดทานแบบสองสถานะ (two-phase friction factor) ด้วย และยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยนี้ยังนำ เสนอแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อศึกษาสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความ ร้อนและความดันลดภายใต้การเดือดของ HFC-134a ผ่านท่อที่มีร่อง เกลียว ซึ่งพบว่า ผลของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มีความน่าเชื่อถือ เมื่อเทียบกับผลการทดลอง ซึ่งค่าผลต่างโดยเฉลี่ยของสัมประสิทธิ์การ ถ่ายเทความร้อน และความดันลดระหว่างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และข้อมูลการทดลองอยู่ในช่วงร้อยละ ๑๐ และ ๑๕ ตามลำดับ ๏ วันพุธที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร. สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง วิวัฒนาการของ ผึ้ง ความโดยสรุปว่า วิวัฒนาการของแมลงสังคมนั้นดำเนินมานานไม่ต่ำ กว่า ๓๐๐ ล้านปี โดยเฉพาะพวกปลวก จัดเป็นพวกที่มีระบบสังคมแท้ มี บรรพบุรุษที่มีวิวัฒนาการร่วมกับบรรพบุรุษของแมลงสาบป่า แมลงเหล่านี้ อยู่ในกลุ่มพวกแมลงชั้นต่ำ แต่พวกไฮมีนอพเทรา ซึ่งจัดเป็นพวกที่มีระบบ สังคมแท้ในกลุ่มพวกแมลงชั้นสูง โดยเฉพาะพวกบรรพบุรุษผึ้งมี วิวัฒนาการเพียง ๘๐ ล้านปีเท่านั้น ผึ้งในสกุลเอปิสจัดเป็นแมลงที่มีวิวัฒนาการสูงสุด เนื่องจากเป็น แมลงสังคมชั้นสูง มีการแบ่งวรรณะต่าง ๆ ตามหน้าที่การทำงาน ผึ้งใน สกุลเอปิสมีวิวัฒนาการสืบเนื่องกันมาไม่ต่ำกว่า ๓๐ ล้านปีจากหลักฐานที่ พบซากฟอสซิล ของผึ้ง Apis javana (Ederlein) ปรากฏอยู่ในมหายุค ซีโนโซอิก (Cenozoic Era) ซึ่งเป็นฟอสซิลของผึ้งและรวงรังที่พบครั้งแรก ในประเทศมาเลเซีย ผึ้งในสกุลเอปิส คือ พวกผึ้งที่ผลิตน้ำผึ้ง (honey) มีอยู่ ๙ ชนิด ได้แก่ Apis florea, Apis andreniformis, Apis laboriosa, Apis dorsata, Apis cerana, Apis nigrocincta, Apis koschavnikovi, Apis nuluensis และ Apis mellifera จากการพบหลักฐานดังกล่าว นัก วิทยาศาสตร์เชื่อว่า ผึ้งในสกุลเอปิส มีกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ โดยเฉพาะเป็นถิ่นกำเนิดของผึ้งเอปิสทั้ง ๘ ชนิด และเป็นผึ้งพื้นเมืองที่ สำคัญในภูมิภาคจนทุกวันนี้ การแพร่กระจายของผึ้งสกุลเอปิสทำให้มี กำเนิดผึ้งพันธุ์ Apis mellifera ขึ้นในทวีปแอฟริกาในปลายยุคเทอร์เชียรี (Tertiary Period) (Culliney, ๑๙๘๓) อย่างไรก็ตาม มีผู้พบผึ้งในสกุล เอปิสที่ต่างไปจากผึ้งทั้ง ๙ ชนิดอีกในแถบหมู่เกาะในประเทศฟิลิปปินส์ และในอินเดียตอนใต้จนถึงประเทศศรีลังกา แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่าง แพร่หลายเท่าผึ้งทั้ง ๙ ชนิด นอกจากนั้นยังมีผึ้งในสกุลเอปิสอีกหลายชนิด ที่พบเป็นฟอสซิล และสูญพันธุ์ไปแล้ว (Oldroyd and Wongsiri, ๒๐๐๖) จากรายงานวิจัยทางอนุกรมวิธาน (Wongsiri, ๒๐๑๐) ในการประชุมวิชา การ International Congress of the Study of Social Insect ใน ประเทศเดนมาร์ก พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้ยืนยันการพบผึ้งในทวีปเอเชียอีก ๒ ชนิด คือ ผึ้งโพรงอินเดียตอนใต้ Apis indica และผึ้งหลวงของฟิลิปปินส์ Apis breviligula ที่แตกต่างจากผึ้งทั้ง ๙ ชนิดที่กล่าวมาแล้ว นอกจาก นั้นยังมีรายงานว่า A. mellifera yementica อาจเป็นบรรพบุรุษของ A. mellifera ในทวีปแอฟริกาอีกด้วย เนื่องจากมีวิวัฒนาการใกล้เคียงกับ A. cerena สำนักศิลปกรรม ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง นาฏยทฤษฎี ความโดยสรุปว่า นาฏยทฤษฎี หมายถึง หลักคิดและหลักปฏิบัติของสาขา วิชานาฏกรรม เพื่อเป็นแนวทางสร้างสรรค์ความงามและความสำเร็จของ การแสดง โดยข้อมูลคือการปฏิบัติของนาฏกรรมที่สั่งสมมานานทั้งข้อดี และข้อเสีย มาวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยนักคิดแล้วจารึกไว้เป็นตำรา สำหรับผู้มุ่งศึกษาด้านนาฏยศาสตร์สืบมา นาฏยทฤษฎีที่นิยมนำมาศึกษา ๔ ทฤษฎี คือ ๑. โพเอติกา ของ อริสโตเติล กรีก ๒. นาฏยศาสตร์ ของ ภรตมุนี อินเดีย ๓. ฟูจิคาเด็ง ของ โมโตกิโย ซิอามิ ญี่ปุ่น ๔. สตานิ- สลาฟสกีซิสเต็ม ของ คอนสแตนติน เซเกเยวิช สตานิสลาฟสกี รัสเซีย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายทฤษฎีที่ผู้ศึกษาด้านนาฏยศิลป์ต้องเรียนรู้เพื่อนำ มาใช้ในการสร้างสรรค์การแสดงให้สำเร็จ ได้แก่ ทฤษฎีดุริยางคศิลป์ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ทฤษฎีจลนศิลป์ ทฤษฎีนิเทศศิลป์ และเพื่อให้ผู้ศึกษา ประกอบกิจการทางนาฏกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้ ศึกษาก็ต้องมีความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับงานนาฏกรรม ได้แก่ ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ การสร้าง หลักสูตรสาขาวิชานาฏยศาสตร์ แบ่งกลุ่มวิชาออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ กลุ่มวิชาบรรยาย กลุ่มวิชาปฏิบัติบรรยาย และ ปฏิบัติบรรยาย สร้างสรรค์ กลุ่มวิชาบรรยาย มีเนื้อหาหลัก ๑๐ วิชาคือ นาฏยประวัติ (History) นาฏยวิจัย (Research) นาฏยรังสรรค์ (Design) นาฏยธุรกร- รม (Management) นาฏยประดิษฐ์ (Choreography) นาฏยวรรณกรรม (Literature) นาฏยดุริยางค์ (Music) การแสดงและการกำกับการแสดง ละคร (Acting and Directing) นาฏยทฤษฎี (Theory) กลุ่มวิชาปฏิบัติ บรรยาย มีเนื้อหาหลัก ๓ กลุ่มวิชาคือ นาฏยกรรมแบบประเพณี นาฏย- กรรมแบบสร้างสรรค์ จากวิชาต่าง ๆ ที่กล่าวมาในเบื้องต้น แสดงให้เห็น ว่าการศึกษาด้านนาฏยศิลป์ต้องมีเนื้อหาของวิชาสาขาต่าง ๆ อย่างมาก เพื่อให้ผู้ศึกษาได้นำไปประกอบอาชีพนาฏยกรรมสาขาต่าง ๆ ได้สำเร็จผล ตามที่ตนถนัดและสนใจ ศ.ชวน เพชรแก้ว ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง กวี /นักประพันธ์ วรรณกรรมทักษิณ : จากภิกษุอินท์ ถึง ทอง หนองถ้วย ความโดยสรุปว่า ในวงการศึกษาวรรณกรรมภาคใต้ได้มีผู้สนใจศึกษาเรื่องราวของกวี /ผู้ประ- พันธ์ /ผู้แต่งวรรณกรรมมาเป็นเวลายาวนานมากกว่า ๓ ทศวรรษ กวี /ผู้ ประพันธ์ /ผู้แต่ง ที่ศึกษารวบรวมไว้จำนวน ๑๙ ท่าน มี ๑๒ ท่าน คือ พระ ภิกษุอินท์ พระยาตรัง พระครูวินัยธร ชูปราชญ์ นายเรืองนาใน หมื่น สนิท สุขปราชญ์ พระสมุห์หนู พระรัตนธัชมุนี (ม่วง) พระปลัดเลี่ยม อาส- โย เพลงบอก ปานบอด เพลงบอก เนตร ชลารัตน์ (ยกเว้นพระภิกษุอินท์) ล้วนถือกำเนิดที่เมืองนครศรีธรรมราชทั้งสิ้น จำนวน ๕ ท่าน คือ พระครู วิจารณ์ศีลคุณ (ชู) เสือ ชำนาญภักดี แดงนักปราชญ์ พระธรรมโมลี ติ- สฺสโร (เกตุ ธรรมรัชชะ) และทอง หนองถ้วย เป็นชาวเมืองสงขลา กับอีก ๒ ท่าน คือ พระเทพรัตนกวี (เกตุ แสงหิรัญ) เป็นชาวเมืองสุราษฎร์ธานี และกราย พัฒน์จันทร์ เป็นชาวเมืองกระบี่ กวี /ผู้ประพันธ์ /ผู้แต่ง ทั้ง ๑๙ ท่านที่นำเสนอประวัติและผลงาน ตามที่สืบค้นมาได้นั้น หากพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องและได้รับอิทธิพล จากราชสำนัก รวมทั้งอิทธิพลจากวรรณกรรมภาคกลาง มีอยู่ ๑๐ ท่าน ได้แก่ พระภิกษุอินท์ พระยาตรัง หมื่นสนิท พระสมุห์หนู พระปลัดเลี่ยม อาสโย แดงนักปราชญ์ พระธรรมโมลี ติสฺสโร (เกตุ ธรรมรัชชะ) พระ เทพรัตนกวี (เกตุ แสงหิรัญ) กราย พัฒน์จันทร์ และทอง หนองถ้วย ส่วนพระครูวินัยธร ชูปราชญ์ นายเรืองนาใน สุขปราชญ์ พระครูวิจารณ์ ศีลคุณ (ชู) พระรัตนธัชมุนี (ม่วง) เสือ ชำนาญภักดี ปานบอด เนตร ชลารัตน์ ล้วนเป็นกวี /ผู้ประพันธ์ /ผู้แต่ง พื้นบ้านที่ได้รับอิทธิพลจากราช- สำนักและวรรณกรรมภาคกลางน้อย ในบรรดา กวี /ผู้ประพันธ์ /ผู้แต่ง วรรณกรรมทักษิณเกือบทั้งหมด เป็นชาวบ้านที่ได้รับการศึกษาจากบ้านและวัดเป็นรากฐานสำคัญ จึงไม่ แปลกที่บุคคลเหล่านี้ได้สร้างสรรค์งานโดยใช้ฉันทลักษณ์ซึ่งนิยมในภาคใต้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=