2710_8405

3 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๔ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ๏ วันพุธที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ. ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การเลือก ตั้งหยั่งเสียงเพื่อคัดผู้สมัครของพรรคเพื่อเข้าชิงชัยในตำแหน่ง ประธานาธิบดี (Primary Election) ความโดยสรุปว่า สหรัฐอเมริกาเป็น รัฐรวม (Composite State) ประกอบด้วยรัฐอิสระที่มีอำนาจอธิปไตยเป็น ของตนเองอย่างสมบูรณ์มารวมเป็นประเทศเดียวกัน ด้วยการแบ่งอำนาจ อธิปไตยบางอย่างให้แก่รัฐบาลกลาง เช่น การตราเงินตรา การประกาศ สงครามและทำสัญญาสันติภาพ การดูแลการค้าระหว่างรัฐ การทหาร ใน รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาไม่มีการบัญญัติเกี่ยวกับพรรคการเมือง (Political Party) ไว้เลย ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของบรรดาผู้ร่างรัฐธรรมนูญ สหรัฐอเมริกาเมื่อ ๒๐๐ กว่าปีมาแล้ว ที่เห็นว่าพรรคการเมืองคือการเล่น พวกกันอย่างเปิดเผย ระบบพรรคการเมืองจะทำให้คนกลุ่มหนึ่งสามารถ เข้าควบคุมรัฐบาลได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งไม่ใช่การปกครองระบอบ ประชาธิปไตย พรรคการเมืองเป็นองค์กรที่ทำกิจกรรมทางการเมือง โดยมี วัตถุประสงค์ที่จะชนะการเลือกตั้ง เพื่อเข้าปกครองประเทศและกำหนด นโยบายสาธารณะ มีกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) ให้การ สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง ระบบพรรคการเมืองของสหรัฐอเมริกาเป็น แบบระบบ ๒ พรรค คือ มีพรรคการเมืองสำคัญเพียง ๒ พรรค ได้แก่ พรรคเดโมแครตและพรรคริพับลิกัน แสดงให้เห็นถึงลักษณะของสังคม อเมริกันที่มักผูกพันตนเองเข้ากับพรรคใดพรรคหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งมี ส่วนคล้ายคลึงกับระบบพรรคการเมืองของอังกฤษ แต่แตกต่างกันในเรื่อง ของวินัยภายในพรรค การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกามิได้ให้สิทธิประชาชน เป็นผู้เลือกตั้งโดยตรง แต่ให้ประชาชนเลือกกลุ่มบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ จากพรรคการเมืองภายในรัฐเพื่อให้ประชาชนเลือกไปทำหน้าที่ลงคะแนน เสียงเลือกตั้ง หรือที่เรียกว่า คณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) ทำ หน้าที่เลือกตั้งประธานาธิบดีโดยอิสระ จำนวนคณะผู้เลือกตั้งทั่วประเทศ กำหนดไว้ ๕๓๘ คน โดยถือเอาฐานของจำนวนประชากรแต่ละรัฐเป็น เกณฑ์ และมีการคำนวณแบ่งสรรกันทุก ๑๐ ปี แต่ละรัฐมีคณะผู้เลือกตั้ง อย่างน้อย ๓ คนขึ้นไป ผู้สมัครที่ชนะคะแนนเสียงประชาชนในรัฐนั้น ๆ จะ ได้คะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งในรัฐนั้นทั้งหมด วิธีการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกาดังกล่าวทำให้เกิดการเลือกตั้งแบบ ไพรมารีซึ่งมีมาเป็นเวลากว่า ๑๐๐ ปีแล้ว แบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ ๔ กลุ่ม คือ ๑) แบบปิด (Closed) ผู้มีสิทธิลงคะแนนได้ต้องเป็นสมาชิกของ พรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ ๒) แบบครึ่งปิดครึ่งเปิด (Semi- closed) ผู้มีสิทธิลงคะแนนต้องแสดงตัวเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ ตนเองต้องการจะหย่อนบัตร ด้วยการไปลงทะเบียนเป็นสมาชิก พรรคการเมืองนั้น ๆ ในวันหย่อนบัตร ๓) แบบเปิด (Open) ผู้มีสิทธิ เลือกตั้งทั่วไปทุกคน มีสิทธิลงคะแนนได้ ๔) แบบครึ่งเปิดครึ่งปิด (Semi- open) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปทุกคน มีสิทธิไปลงคะแนนในวันหย่อนบัตร โดยการขอบัตรลงคะแนนของพรรคการเมืองนั้น ๆ เมื่อไปถึงที่เลือกตั้ง การเลือกตั้งแบบไพรมารีนี้เป็นการคัดสรรผู้เป็นตัวแทนของพรรคการเมือง ไปสมัครเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เป็นการให้ประชาชนมีโอกาส เลือกตัวผู้อาสาสมัครเข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชน ด้วยตัวประชาชน เอง โดยไม่ผ่านพรรคการเมือง ในครึ่งศตวรรษแรก การเลือกตั้งแบบไพรมารีดูจะไม่เป็นผลนัก เพราะนักการเมืองที่มีอิทธิพลของแต่ละรัฐไม่เห็นด้วย เพราะยังนิยมวิธี การเจรจาลับกันเฉพาะกลุ่มเล็ก ๆ มากกว่าจะเปิดโอกาสให้ประชาชนมี ส่วนในการคัดสรรตัวแทนของพรรคเพื่อชิงชัยในตำแหน่งประธานาธิบดี จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๑ สหรัฐอเมริกาเกิดวิกฤติทางการเมืองเรื่องสงคราม เวียดนาม ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีเคนเนดี ประกอบกับกิจการโทรทัศน์ ก้าวหน้ามาก จนสามารถรายงานข่าวสงครามเวียดนามสู่ประชาชนได้มาก ขึ้น จึงเกิดกระแสคัดค้านอย่างรุนแรงจากบรรดาคนรุ่นหนุ่มสาวซึ่งถูก เกณฑ์ไปเป็นทหารในเวียดนาม นับว่าโทรทัศน์อเมริกันสร้างกระแสความ สำคัญของการเลือกตั้งไพรมารีขึ้น นับแต่นั้นมาประธานาธิบดีทุกคนจะ ต้องผ่านการเลือกตั้งไพรมารีมาอย่างโชกโชน ๏ วันพุธที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ นายอนันต์ อนันตกูล ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ภาวะผู้นำใน ภาวะวิกฤติ ความโดยสรุปว่า ภาวะผู้นำ หมายถึง กระบวนการใช้ความ สามารถ อำนาจ อิทธิพล และศิลปะในการจูงใจและโน้มน้าวบุคคลอื่นให้ เกิดแรงบันดาลใจในการปฏิบัติงานร่วมกัน ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ วางไว้ ด้วยความเชื่อถือและไว้วางใจซึ่งกันและกัน ภาวะวิกฤติ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกะทันหันซึ่งกดดันให้องค์การ สับสนและอาจทำลายองค์การที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยความเร่งด่วน และทันต่อสถานการณ์ รูปแบบของวงจรวิกฤติแบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ ระยะเตรียมการ เป็นระยะที่ผู้นำต้องทำให้ประชาชนเข้าใจ และมุ่งถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หลักขององค์การ ยุทธศาสตร์จำเป็น สำหรับความเข้าใจค่านิยมขององค์การ ความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ นำไปสู่การ วางแผนอย่างต่อเนื่อง และต้องเลือกที่จะไม่หลีกเลี่ยงทางเลือกหลัก ระยะที่ ๒ ระยะเร่งด่วน เป็นระยะที่เริ่มจากภาวะวิกฤติที่ปรากฏ ทำให้ภัยคุกคามบรรเทาลง และลดการสูญเสียดุลยภาพในระดับความ ปลอดภัย ผู้นำต้องติดตามข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง ทันสมัย และชี้แจงต่อ สาธารณชนด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเหมาะสม โดยดำเนินการเป็นขั้นตอนตาม แผนการและแนวทางหลักขององค์การที่ประกาศใช้ในภาวะวิกฤติ และ ต้องระมัดระวังการตัดสินใจที่รวดเร็วโดยยึดหลักความเป็นจริง อธิบาย สถานการณ์ขณะเริ่มปฏิบัติการในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายและร่วมแสดง ความเห็นใจต่อผู้ที่ได้รับความเสียหาย เพื่อให้ประชาชนรู้สึกผ่อนคลายและ มีความเสมอภาค ระยะที่ ๓ ระยะการปรับตัว เป็นระยะที่ผู้นำต้องทำให้องค์การมี ความก้าวหน้าในการดำเนินการอย่างรวดเร็ว รู้ถึงสาเหตุภาวะวิกฤติ หลีก เลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำซาก สร้างโอกาสการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา กระบวนการใหม่ ๆ ปรับวัฒนธรรมองค์การ สร้างประโยชน์จากภาวะ วิกฤติที่เกิดขึ้น แสวงหาความสมดุลและดำเนินการอย่างเร่งด่วน ภาวะผู้นำในภาวะวิกฤติต้องมีทักษะสามารถแก้ไขภาวะวิกฤติด้วย คุณลักษณะของผู้นำ มีคุณธรรม ซื่อตรงต่อหน้าที่ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=