2709_4883
8 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ ๑๘๖/๒๕๕๐ ไปรษณีย์ดุสิต ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เพื่อเผยแพร่งานวิชาการ ข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถาน จัดทำโดย บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริการวิชาการ ราชบัณฑิตยสถาน นางสาวบุญธรรม กรานทอง พิมพ์ที่ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด ๓๐๗ ซอยลาดพร้าว ๘๗ วังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ โทรสาร ๐ ๒๕๓๙ ๒๕๑๒, ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๙ นางทิพาภรณ์ ธารีเกษ นางสาวพัชนะ บุญประดิษฐ์ นางสาวอารี พลดี นางสาวปิยรัตน์ อินทร์อ่อน นางสาวกระลำภักษ์ แพรกทอง ‰ ¢ ª— ≠ À “ ¿ “ … “ ‰ ∑ ¬ นางกนกวรรณ ทองตะโก นางสาวกุลศิรินทร์ นาคไพจิตร นางพรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ นายอาคม คงทน นายอภิเดช บุญสงค์ ถาม คำว่า ยกฟ้อง มีความหมายอย่างไร ตอบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความ หมายคำว่า ยกฟ้อง ว่า เป็นคำกริยา ในทางกฎหมาย หมายถึง พิพากษาให้คดีตกไป โดยไม่บังคับให้เป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์ ถาม คำว่า สภาผู้แทนราษฎร กับ วุฒิสภา มีความหมายและมีที่มา อย่างไร ตอบ ขออธิบายความหมายของคำว่า สภา ก่อน ซึ่งเป็นคำนาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความ หมายไว้ว่า องค์การหรือสถานที่ประชุม เช่น สภาผู้แทนราษฎร สภาสตรีแห่งชาติ สภามหาวิทยาลัย วุฒิสภา คำว่า สภาผู้แทนราษฎร เป็นการนำคำว่า “สภา” กับ “ผู้ แทนราษฎร” มารวมกันโดยคำว่า สภา มีความหมายตามที่ได้ อธิบายไปแล้ว และคำว่า ผู้แทนราษฎร หมายถึง บุคคลที่ได้ รับเลือกตั้งจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ทำหน้าที่นิติบัญญัติ ในสภา ดังนั้น สภาผู้แทนราษฎร จึงหมายถึง สภานิติบัญญัติ สภาหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับวุฒิสภาแล้วประกอบเป็นรัฐสภา ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สภาผู้ แทนราษฎรประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวน ๕๐๐ คน ซึ่งมาจาก การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น จำนวน ๑๐๐ คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือก ตั้ง จำนวน ๔๐๐ คน ส่วนอำนาจและหน้าที่ของสภาผู้แทน ราษฎรคือ มีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ และมีอำนาจควบคุมการบริหาร ราชการแผ่นดินตามระบบการปกครองแบบรัฐสภา ส่วนที่มาของคำ สภาผู้แทนราษฎรนั้น เป็นคำที่นำมาใช้ทางกฎหมายอย่างเป็นทางการ ครั้งแรกในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ และในอดีตคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลง การปกครอง หรือที่เรียกตัวเองว่า คณะราษฎร [ราด] เคยใช้อำนาจ จากสภาผู้แทนราษฎรเป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบใหม่ในการ ปกครองประเทศด้วย โดยมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ณ ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่ง อนันตสมาคม และในครั้งนั้นที่ประชุมมีมติตั้งให้หลวงประดิษฐมนู ธรรมดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จากนั้นจึงถือวันดัง กล่าวเป็นวันสถาปนาสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการสภา ผู้แทนราษฎรด้วย ส่วนคำว่า วุฒิสภา ในทางกฎหมาย คำนี้หมายถึง สภา นิติบัญญัติอีกสภาหนึ่ง นอกเหนือจากสภาผู้แทนราษฎรซึ่งประกอบ กันเป็นรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเรียกว่า วุฒิสมาชิก มาจากการเลือกตั้งของ ราษฎรจำนวน ๒๐๐ คน ตามวิธีแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยใช้เขตจังหวัด เป็นเขตเลือกตั้ง วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่ รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=