2709_4883
7 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๓ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๕ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ใจเอย พระอภัยมณีตามนางละเวงเข้าไปในกรุงลังกา ก็ได้รับการปรนเปรออย่างดีด้วย เครื่องเสวย เช่น นม เนย ไก่ เป็ด ขนมปัง สุกร ไก่ หมูหัน ตับแพะ ลิ้น แกะ และ ใช้เครื่องใช้ในการเสวย เช่น มีด ตะเกียบ ช้อน ในตอนพระอภัยมณีทำศพท้าวสุทัศน์ เครื่องเสวยที่นางสร้อยสุวรรณ นาง จันทร์สุดา พระธิดาฝาแฝดของพระอภัยมณีกับนางสุวรรณมาลีจัดถวายพระหัส- ไชย เช่น ไก่พะแนง แกงเผ็ด ห่อหมก เป็ด แกงส้ม กุ้งทอดมัน ม้าอ้วน แกงบวน จันลอน ภาชนะที่ใช้ในการเสวยเป็นเครื่องทอง มีส้อมใช้ด้วย ๕. อาหารที่เป็นกับแกล้ม อาหารต้องกินแกล้มกับสุราเมรัย ตอนที่นาง สุวรรณมาลีกับสินสมุทรตกไปอยู่บนเรือโจรสลัดของสุหรั่ง นายโจรคิดจะได้นาง เป็นภรรยาจึงมอมเหล้าสินสมุทรเพื่อให้หลับไปจะได้เกี้ยวนางได้สะดวก เมื่อเจ้า ละมานได้สารนางละเวง ยกทัพมาช่วยเมืองลังการบ ฝ่ายลังกาได้เตรียมจัด กับแกล้มไว้ต้อนรับเป็นอาหารรสจัดประเภทพล่ายำที่ทำจากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ รวม ทั้งเครื่องในที่ไม่ได้ปรุงให้สุก และเครื่องเทศ โดยมีน้ำส้มราดเป็นเครื่องชูรส ส่วน เครื่องใช้ในการกินมีทั้งส้อม มีด ๖. อาหารหวานและขนม ของหวานที่นางสุวรรณมาลีจัดให้สินสมุทรกิน นอกจากผลไม้แล้วก็ยังมีขนมโก๋ พระโยคีนำสุดสาครไปเลี้ยง เนรมิตเครื่องนอน และเห่กล่อมให้หลับและในบทกล่อมมีคำว่า ขนมแชงม้า ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญอาหารคาวหวานสมัยรัชกาลที่ ๕ และเป็นผู้แต่งตำรา อาหารชื่อ แม่ครัวหัวป่าก์ สนใจติดตามเรื่องราวของขนมแชงมา และบันทึกไว้มี ใจความสำคัญส่วนหนึ่งว่า “ขนมนี้เป็นของโบราณ... อุบาสิกาเนย วัดอมรินทร์ บอกว่า ขนมแชงมา เป็นขนมโบราณ ทำมาเพื่อจะเลี้ยงคนที่อยู่ในบ้าน จึงได้ ตักออกมาดู หม้อหนึ่งเป็น ขนมไข่เต่า อีกหม้อเป็น ขนมปลากริม โบราณใช้ ผสมกัน ๒ อย่าง จึงเรียกว่า ขนมแชงมา...” ๗. อาหารคนเจ็บ เมื่อพระอภัยมณีถูกนางละเวงทำเสน่ห์และอยู่ที่เมือง ลังกากับนาง ศรีสุวรรณกับสินสมุทรรู้ข่าวเข้าไปหา พระอภัยมณีแกล้งทำเป็นไม่ สบาย หมอมารักษา และได้เสวยอาหารที่บำรุงร่างกายเป็นข้าวตัง รังนก นมเนย วุ้น น้ำองุ่น ตอนที่นางเสาวคนธ์หนีการอภิเษกและปลอมเป็นฤๅษีใช้ชื่อพระอัคนี นางไม่ สบาย เป็นลมและไอทุกวัน กินยาอะไรก็ไม่หาย พี่เลี้ยงปรึกษากันว่าเมื่ออายุครบ ๒๕ ปี พระราหูเสวยอายุ จึงควรลาสิกขาบทและทำพิธีสะเดาะเคราะห์ นางจึงทำ ตามและได้กินอาหารบำรุง เช่น นมเนย อาการจึงดีขึ้น ๘. อาหารในงานเลี้ยง ในตอนอภิเษกหัสไชย เผ่าพงศ์วงศ์กษัตริย์ทั้งสี่เมือง คือ ผลึก ลังกา รมจักร และการะเวก มารวมตัวกันที่เมืองลังกาเพื่อร่วมอวยพรใน พิธีแต่งงานระหว่างพระหัสไชยกับนางสร้อยสุวรรณ นางจันทร์สุดา และสุดสาคร กับนางเสาวคนธ์ มีอาหารแบบนานาชาติเพราะแขกที่มาร่วมงานมีหลายชาติ ศาสนา ฝ่ายลังการับหน้าที่ทำอาหารแขก อาหารไทย และอาหารฝรั่ง ส่วนคน ทำครัวหลวงชาวจีนจากเมืองรมจักรทำอาหารจีน อาหารแขกมีเนื้อแพะผัดน้ำมัน แกงมัสมั่น แกงไก่บ้าน ปลาแห้ง แตงโม อาจาดผักดองเป็นเครื่องเคียง ข้าวบุหรี่ ซึ่งอาจได้ชื่อมาจากคำภาษาเปอร์เซีย “kabuli” ซึ่งมาจากชื่อ Kabul เมืองหลวง ของประเทศอัฟกานิสถาน คนไทยเรียก ข้าวคอบูรี หรือ ข้าวบุหรี่ ลุตี่ หรือ ลุด ตี่ กินคู่กับหน้าแกงไก่ แต่ถ้ากินเป็นขนมหรือของว่างจะเรียกว่า “แป้งกลอก” หรือ “ขนมกลอก” มีทั้งไส้หวานและไส้เค็ม อาหารไทยมี ต้มส้ม นกซึ่งนำมาคั่วหรือปิ้ง ยำมะม่วง ด้วงโสน แกงปลา ไหล แกงเทโพ ฉู่ฉี่ อาหารจีนจากเมืองรมจักรเป็นพวกต้มจืดเครื่องในอย่างตับเหล็กหรือม้าม ทำเป็นเกาเหลาคือไม่ใส่เส้น เป็ด ไก่ ที่ถอดกระดูกแล้วนำไปทอด ม้าอ้วน แกง ร้อนวุ้นเส้น หมี่คือเส้นหมี่ มีหมูเค็มด้วย เหล้าอาหนี น้ำชัยบาน ก็คือเครื่องดื่มใน การมีชัย นอกจากอาหารคาวแล้วยังมีของหวาน มีขนมนมเนยด้วย ที่น่าสนใจคือ ทหารการะเวก “เมาบรั่น” ซึ่งน่าจะหมายถึง “บรั่นดี” ๙. อาหารที่เป็นเครื่องเซ่นสังเวย เมื่อสำเภาของท้าวสิลราชหลงออกนอก ทาง จึงต้องทำพิธีถามทางจากปู่เจ้า โดยจัดบายศรี อาหารดิบ เช่น เป็ด ไก่ กุ้ง ปลา แพะ แกะเชือด และสุราเป็นของเซ่นไหว้ ซึ่งปู่เจ้าก็มาเข้าเจ้าขรัวนายและ บอกทางให้ ๑๐. อาหารชนป่าเถื่อน ทูตเมืองลังกานำสารของนางละเวงวัณฬาเดินเรือ ไปยังเมืองละมานเพื่อขอให้มาช่วยรบผลึก ชาวเมืองละมานเป็นพวกทมิฬ ฟัน เสี้ยมเหมือนมนุษย์กินคน กินแต่เนื้อสัตว์ตั้งแต่นก ปลา ไปถึงช้าง ม้า โดยเฉพาะ เนื้อที่เชือดสด ๆ คลุกเลือดจิ้มน้ำส้มน้ำปลา ส่วนชาวเมืองวาหุโลมก็เป็นเผ่าทมิฬ เช่นกัน แต่กินสัตว์ปีกเช่น เป็ด ไก่ และ นก โดยเฉพาะไข่ของมัน ๑๑. อาหารของอมนุษย์ อมนุษย์ใน พระอภัยมณี มีหลายหลาก เช่น นางผี เสื้อสมุทรกินสัตว์น้ำในทะเลเป็นอาหาร ม้านิลมังกรของสุดสาครจัดเป็นสัตว์ ประเภท omnivorous คือกินทุกอย่างที่ขวางหน้าไม่ว่าพืชหรือสัตว์ ย่องตอด ทหารเอกของนางละเวง เป็นผีดิบ จับสัตว์ในป่ากินเป็นอาหาร ผีดิบในเมืองของ ท้าวปักกา กินมนุษย์เป็นอาหาร คำว่า ใจ เป็นคำนาม มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ หลายอย่าง อาทิ สิ่งที่ทำหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด เช่น ใจก็คิดว่าอย่างนั้น, หัวใจ เช่น ใจเต้น, ลมหายใจ เช่น กลั้นใจ อึดใจ หายใจ, ความรู้สึกนึกคิด เช่น ใจคด ใจซื่อ นอกจากนี้ยังหมายถึง จุดสำคัญของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ใจมือ หรือหมายถึง บริเวณที่ถือว่าเป็นจุดสำคัญของสถานที่ เช่น ใจบ้านใจเมือง ด้วย พจนานุกรมฯ ได้เก็บคำที่มี ใจ ประกอบอยู่ทั้งข้างหน้าและข้างหลังไว้หลายคำ โดยมีความหายแตกต่างกันไป จึงขอยกคำเหล่านั้นมาเป็นตัวอย่างดังนี้ ใจใหญ่ใจโต หมายถึง มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เกินฐานะ ใจหายใจคว่ำ หมายถึง ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ใจเสีย หมายถึง มีใจไม่ดีเพราะกลัวหรือวิตกกังวล, หมดกำลังใจ ใจเสาะ หมายถึง มีใจขี้กลัวหรือร้องไห้ง่าย, มีใจอ่อนแอ ใจสูง หมายถึง มีใจที่อบรมมาดี, มีใจใฝ่ในทางดี ใจเร็ว หมายถึง ตกลงใจอย่างรวดเร็วโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบ ใจเย็น หมายถึง ใจหนักแน่นไม่ฉุนเฉียว, ไม่รีบร้อน ใจยักษ์ หมายถึง มีใจดุร้าย, มีใจอำมหิต, บางทีก็ใช้คู่กับ ใจมาร เป็น ใจยักษ์ใจมาร ใจมา หมายถึง มีหวังขึ้น เช่น ใจมาเป็นกอง ใจมาเป็นกระบุง ใจแป้ว หมายถึง มีใจห่อเหี่ยว ใจปลาซิว หมายถึง มีใจไม่อดทน ใจแตก หมายถึง ประพฤติไปตามที่ตนนิยมทางที่ผิดหรือนอกโอวาทจนเคยตัว ใจเดียว หมายถึง ไม่หลายใจ, มีความรักและซื่อตรงในบุคคลเดียวหรือสิ่งเดียวไม่เปลี่ยนแปลง ใจเดียวกัน หมายถึง มีความรู้สึกนึกคิดตรงกัน ใจโต หมายถึง มีใจกว้างเกินประมาณ, มักใช้เข้าคู่กับ หน้าใหญ่ เป็นหน้าใหญ่ใจโต นางสาวอารี พลดี นักวรรณศิลป์ชำนาญการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=