2709_4883
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน นางสุมิตราได้ถ่ายทอดเพลงไทยให้ลูกศิษย์หลายคน แต่ไม่ได้มีการสืบทอด อย่างจริงจังและต่อเนื่อง จนถึง พ.ศ. ๒๕๕๔ สำนักเดี่ยวเปียโนเพลงไทยได้ถือ กำเนิดขึ้นโดย ศ. ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ ซึ่งเป็นศิษย์คนหนึ่งของนางสุมิตรา ผล งานของสำนัก เช่น การจัดคอนเสิร์ตเดี่ยวเปียโนเพลงไทยประจำปี การจัดพิมพ์ โน้ตเพลงชุด “วรรณกรรมเปียโนแห่งกรุงสยาม” การเสวนาทางวิชาการ และการ ประดิษฐ์ทางเดี่ยวเปียโนเพลงไทยสำหรับนักเรียนเปียโนทุกระดับ เพื่อให้การเดี่ยว เปียโนเพลงไทยเป็นแนวทางหนึ่งที่แสดงเอกลักษณ์ของการเรียนการสอน และ การบรรเลงเดี่ยวเปียโนของประเทศไทย เป็นการสืบทอดบทเพลงเดี่ยวเปียโน เพลงไทยให้เป็นสมบัติของชาติตลอดไป ๏ วันอังคารที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ.ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ภาษา วรรณกรรม และวัฒนธรรม ความเชื่อมโยงที่สำคัญและยั่งยืน ความโดยสรุปว่า ลัทธิชาตินิยม ก่อให้เกิดการสร้างประเทศชาติที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน แต่การมีวัฒนธรรมแห่งชาติ ร่วมกันอาจไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาเดียวกันก็ได้ เพราะคนแต่ละท้องถิ่นหรือภูมิภาค อาจใช้ภาษาต่างกันแม้จะมีเชื้อชาติเดียวกัน หรือในทางกลับกัน การใช้ภาษา เดียวกันก็มิได้หมายความว่าต้องเป็นเชื้อชาติเดียวกัน ภาษาเรียนรู้กันได้ คนที่มี ทักษะทางภาษาอาจพูดได้คล่องมากกว่า ๑ ภาษา เช่น พูดได้ถึง ๕ ภาษาขึ้นไป แต่ถ้าผู้นั้นลืมภาษาแม่ ก็ย่อมขาดรากฐานที่จะเจริญเติบโต อาจเป็นคนหลักลอย และไม่มั่นใจในตนเอง ส่วนคนที่พูดภาษาแม่ได้ แม้พูดได้เพียง ๑ หรือ ๒ ภาษา จะสามารถพัฒนาตนเองได้ดีกว่าเพราะเป็นคนมี “ราก” การวิตกว่าการพูดภาษา ต่างกันอาจก่อให้เกิดความแตกแยกนั้น เป็นวิตกจริตที่เกินเหตุ ความแตกแยกอาจ เกิดขึ้นได้เสมอแม้ในหมู่ชนที่พูดภาษาเดียวกัน ดังนั้น ภาษาไม่ใช่เหตุสำคัญของ ความแตกแยก ความไม่ยอมรับรู้และเข้าใจกันต่างหากที่ก่อให้เกิดความแตกแยก ถ้าเรามองว่าภาษาเป็นสื่อสร้างความเข้าใจ ไม่ใช่สื่อสร้างความแตกแยก การส่ง เสริมภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาใด ก็ย่อมเป็นสิ่งถูกต้องและเป็นประโยชน์เสมอ ชาวเบงกอลและรัฐเบงกอลต้องการอนุรักษ์ภาษาของตนให้คงอยู่ เพื่อต้าน กระแสรัฐบาลกลางที่พยายามส่งเสริมภาษาฮินดีให้ขยายการใช้กว้างขวางขึ้น เป็นที่น่าสังเกตว่า ขณะที่ชาวเบงกอลได้รับการสนับสนุนให้จัดการประชุมที่ เป็นการส่งเสริมภาษาเบงกอลี ชาวอินเดียกลุ่มหนึ่งที่จัดการประชุมรามายณะ นานาชาติเป็นประจำทุกปี ก็ได้รับการสนับสนุนทางการเงินและอื่น ๆ ให้จัดการ ประชุมดังกล่าวเช่นกัน เพราะเป็นการประชุมที่เน้นเรื่องรามจริตมานัส ซึ่งเป็น เรื่องพระรามที่เล่าเป็นภาษาฮินดีโบราณ เมื่อนำมาศึกษาร่วมกับวัฒนธรรมฮินดู ก็ เป็นการส่งเสริมทั้งภาษาฮินดีและวัฒนธรรมฮินดูให้มั่นคงยั่งยืน และแผ่กระจาย ไปทั่วอินเดียตลอดจนต่างประเทศ รศ.มาลิทัต พรหมทัตตเวที ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง อาหารการกินใน พระอภัยมณี ความโดยสรุปว่า สุนทรภู่ บรรยายเรื่องอาหารการกินไว้ในเรื่อง พระอภัยมณี มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้ ๑. อาหารหลัก อาหารหลักของท้าวสิลราช เจ้าเมืองผลึก พระบิดาของนาง สุวรรณมาลี ที่ใช้ในตอนเดินทางทางทะเล ได้แก่ ข้าวสาร เกลือ น้ำตาล น้ำจืด ส่วนที่เกาะแก้วพิศดาร มีอาหารหลัก เช่น ข้าวโพด ข้าวเจ้า ข้าวฟ่าง ข้าวเหนียว อาหารที่ใช้เป็นเสบียงในเรือของโจรสลัดชาวอังกฤษชื่อสุหรั่ง เช่น หมาก มะพร้าว แพะ แกะ กินได้ทั้งเนื้อและนม ๒. อาหารว่างหรือของกินเล่น ตอนที่นางสุวรรณมาลีจะไปเที่ยวทะเล มี นางสนมติดตามไป ต่างก็เอาของกินติดไปด้วยเผื่อหิว เช่น ส้มจีน เปลือกส้มโอแช่ อิ่ม ทับทิม พลับ ๓. อาหารนักบวช พระฤๅษีที่เกาะแก้วพิศดารฉันแต่ผลไม้ พระอภัยมณีและ สินสมุทรตอนบวชเป็นฤๅษีฉันผลไม้หรือเผือกมันที่ได้จากในป่า รวมทั้งน้ำผึ้งจาก ธรรมชาติ ตอนท้ายเรื่องเมื่อครั้งที่พระอภัยมณีจะออกบวช นางสุวรรณมาลีและ นางละเวงวัณฬาได้รับอนุญาตให้ตามไปบวชเป็นชีด้วย นางฝรั่งทั้งสามคือรำ ภาสะหรี ยุพาผกา และสุลาลีวันตามไปปรนนิบัตินางละเวงด้วยสำนึกในพระคุณที่ นางได้ชุบเลี้ยงมา โดยคอยหาผลไม้เผือกมันมาให้สามกษัตริย์ฉัน ๔. อาหารที่เป็นเครื่องเสวย เนื่องจากสินสมุทรไม่เคยกินเนื้อสัตว์ กินแต่ ผลไม้เป็นประจำ ตอนที่อยู่บนเรือนางสุวรรณมาลีจึงต้องหาของเสวยมาป้อนให้ สินสมุทรลองชิม ส่วนกับข้าวมีไก่พะแนงกับแกงต้มยำเป็นอาหารรสจัด เมื่อครั้งที่ พระบรมราชูปถัมภ์ ได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ หอพระพุทธรูป ที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ ศ.ประภาศน์ อวยชัย อดีตอธิการบดีและคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคนแรกที่ได้ดำริว่ามหาวิทยาลัยควรมีวัดหรือสถาน ที่สร้างศรัทธาเพื่อปฏิธรรมของข้าราชการ ศ. คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี อดีต อธิการบดีและนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นชอบและริเริ่มดำเนินการ ก่อสร้างหอพระพุทธรูป ในครั้งนั้น นายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตรองนายก รัฐมนตรีและศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ รุ่น ๐๑ เป็นประธานจัดหาทุนก่อสร้างหอ พระและอาคารอเนกประสงค์ ด้วยงบประมาณ ๓๔ ล้านบาท และ รศ. ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ การก่อสร้างเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ มหาวิทยาลัยได้จัดงานสมโภชเพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑-๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และเริ่มใช้เป็นสถานที่จัด พิธีกรรมทางศาสนาและปฏิบัติภาวนาตั้งแต่วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นมา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาส ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี และทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ศ. ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง นักเปียโนหญิงแห่ง ราชสำนักพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ความโดยสรุปว่า นางสุมิตรา สุจริตกุล นักเปียโนหญิงแห่งราชสำนักพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นนักเปียโนที่มีชื่อเสียงที่สุดในช่วง พ.ศ. ๒๔๖๕-๒๔๘๐ จนถึงรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สามารถบรรเลงเดี่ยวเปียโนเพลงไทยจนมีชื่อเสียง มีผลงานการแสดงและผลงานการเรียบเรียงเพลงไทยสำหรับเปียโนเป็นจำนวน มาก พระยาราชมนตรีซึ่งเป็นข้าราชบริพารในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว ได้พานางสุมิตรา บุตรสาว เข้าถวายตัวเมื่ออายุได้ ๑๖ ปี ได้อยู่ในพระ อุปถัมภ์ของพระสุจริตสุดา พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว นางสุมิตราได้เล่นเปียโนถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นประจำ ณ พระราชวังพญาไท ทรงแนะนำติชมและให้เล่นถวายอีกหลายครั้ง จนพอพระราชหฤทัย ในที่สุดก็ได้เพลงเดี่ยวที่สมบูรณ์หลายเพลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจุดประกายให้นางสุมิตราสนใจ เล่นเปียโนเพลงไทย ซึ่งปรากฏในใจความตอนหนึ่งจากหน้าแรกของหนังสือ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นางสุมิตรา สุจริตกุล เป็นลายพระหัตถ์สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนี้ ...คุณสุมิตราเล่าให้ข้าพเจ้าฟัง ว่า สมัยที่ได้สนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ แสดงเปียโนถวายตามที่ได้ศึกษามาจากโรงเรียน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ มีพระราชกระแสว่า เล่นอย่างนี้ใครก็ เล่นได้ มีอยู่ทั่วไป ถ้าจะให้ดีควรจะเล่นเพลงไทยของเรา คุณสุมิตราจึงไปฟัง ปี่พาทย์ แล้วมาเล่นถวายให้ทรงติชม... ใน พ.ศ. ๒๔๖๙ พระสุจริตสุดาได้ตั้งวงดนตรีหญิงชื่อ วงดนตรีนารีศรีสุมิตร เป็นวงเครื่องสายผสมเปียโนซึ่งประกอบด้วยนักดนตรีหญิงล้วน ตั้งชื่อวงตามชื่อ ของนางสุมิตราซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าวงและบรรเลงเปียโน วงดนตรีวง นี้มีชื่อเสียงมาก ได้อัดแผ่นเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้หลายเพลง ในประวัติศาสตร์ดนตรีของประเทศไทยถือว่า นางสุมิตรา สุจริตกุล เป็นต้น แบบคนแรกในการเดี่ยวเปียโนเพลงไทยให้ไพเราะแบบไทยด้วยเทคนิคเปียโน คลาสสิกขั้นสูง ได้สร้างทางเดี่ยวเปียโนไว้หลายเพลงแต่ไม่มีการบันทึกโน้ต หลัก ฐานที่ปรากฏมีแผ่นเสียงโบราณซึ่งบันทึกไว้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว และม้วนวีดิทัศน์ซึ่งบันทึกไว้ใน พ.ศ. ๒๕๒๘ หนึ่งปีก่อนที่นางสุมิตราจะ ถึงแก่กรรม โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ ให้นางสุมิตราเดี่ยวเปียโนเพลงไทยบันทึกวีดิทัศน์ที่วังสวนจิตรลดา ทางเดี่ยวเปีย โนของนางสุมิตราเป็นการปรับใช้เสียงประสานพื้นฐานของตะวันตกผสมผสานกับ ลูกเล่นของดนตรีไทย ด้วยการบรรเลงเอื้อนเสียงอย่างแพรวพราว และรักษาแนว การเดินทำนองกับจังหวะหน้าทับของดนตรีไทยอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงความ ไพเราะอ่อนหวานและความงดงามของดนตรีไทยเป็นสำคัญ e
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=