2709_4883

5 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๓ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๕ ปัจจุบันเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ในกัมพูชาสมัยศิลปะพะโค พ.ศ. ๑๔๒๐-๑๔๔๐ พบงานปูนปั้นซึ่งคลี่คลายจากเครื่องแขวนคือมีลักษณะโค้งห้อยเป็น เครื่องสด ในศิลปะเขมรแบบบันทายศรี ประมาณ พ.ศ. ๑๕๑๐-๑๕๕๐ ปูนปั้นมี ลักษณะประดิษฐ์มากขึ้น ในศิลปะไทยก่อนสมัยอยุธยาปูนปั้นเฟื่องอุบะมีลวดลาย ของเครื่องแขวนผสมผสานกับลักษณะประดิษฐ์ พบที่เจดีย์ประธานทรงปรางค์ พระศรีรัตนมหาธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เฟื่องอุบะในสมัยอยุธยาตอน ต้น ประมาณ พ.ศ. ๑๘๙๓ เป็นปูนปั้นประดับที่เจดีย์ทรงปรางค์ วัดส้ม พระนคร- ศรีอยุธยา นอกจากนี้ พบลวดลายเครื่องแขวนของเฟื่องอุบะที่ชัดเจนในงาน จิตรกรรมฝาผนังที่ผนังกรุเจดีย์ประธานทรงปรางค์ วัดราชบูรณะ พระนครศรี- อยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๗ และในช่วงท้ายของสมัยอยุธยาตอนต้น พ.ศ. ๒๐๐๘ ปูนปั้นมีลักษณะเป็นเครื่องแขวนชัดเจนที่เจดีย์ทรงปรางค์ วัดจุฬามณี พิษณุโลก ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ประมาณ พ.ศ. ๒๑๐๐ ปูนปั้นเฟื่องอุบะมีลวดลาย ลักษณะประดิษฐ์ต่าง ๆ ประดับหัวเสาวิหารวัดไลย์ ลพบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ พระเทวาภินิมมิตและพระพรหมพิจิตร ได้นำมาเขียนเป็นลวดลาย โดยรักษาความ หมายเดิมของเครื่องแขวน มีลวดลายเช่นเดียวกับลายที่ประดับยอดผนังในศิลปะ ตะวันตก ศ. ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ความโดยสรุปว่า กรมศิลปากรจัดพิมพ์ ไตรภูมิ เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยถอดตัวอักษร เป็นภาษาปัจจุบัน จากสำเนาเอกสารเรื่อง ไตร่ยภูม พระมาไลย ซึ่งถ่ายจาก ต้นฉบับที่เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ต้นฉบับนี้ เป็นสมุดไทยขาว เขียนด้วยหมึกดำ ตัวอักษรไทยย่อ สันนิษฐานว่าเขียนขึ้น ในสมัยอยุธยาตอนปลาย เนื้อหาแบ่งได้เป็น ๕ ตอน คือ ตอนที่ ๑ สร้างโลก สร้างเมือง สร้างมนุษย์ ตอนที่ ๒ พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ตอนที่ ๓ กำเนิด เทวดาต่าง ๆ ฤษี พราหมณ์ อสูร ราชสีห์ และคชสาร ตอนที่ ๔ ไฟบรรลัยกัลป์ กำเนิดโลก มนุษย์ สรรพสัตว์ ตอนที่ ๕ สวรรค์และนรก เมื่อวิเคราะห์ไตรภูมิฉบับนี้พบว่า ๑. มิได้คัดลอกจาก ไตรภูมิกถา โดยตรง เพราะมีข้อความและการลำดับ ความแตกต่างกันมาก น่าจะเป็นการบันทึกขึ้นโดยการรวบรวมจากคัมภีร์ต่าง ๆ และจากความเชื่อที่ปลูกฝังในใจกันต่อ ๆ มาในสังคมไทย เพราะข้อความหลาย ตอนพรรณนาซ้ำ แต่เพิ่มรายละเอียด เช่น เรื่องไฟบรรลัยกัลป์ เรื่องการสร้างโลก กำเนิดมนุษย์ และมีเนื้อความบางส่วนต่างจากไตรภูมิกถา เช่น เรื่องเขาพระสุเมรุ สร้างเทวดา เรื่องนรก ๒. ไม่ได้มุ่งจะแสดงเรื่องภพภูมิ ดังนั้นจึงไม่ได้กล่าวถึงการที่โลกแบ่งเป็น ๓ ภูมิ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ เช่น ใน ไตรภูมิกถา เลย ไตรภูมิฉบับนี้ไม่มี เรื่องเปรต เดรัจฉาน อสุรกาย มนุษย์ ในกามภูมิ เรื่องโสฬสพรหมในรูปภูมิ และเรื่องพรหมชั้นต่าง ๆ ในอรูปภูมิ ที่สำคัญไม่ได้มุ่งเน้นสั่งสอนเรื่องนิพพานและ หนทางไปสู่นิพพาน อันเป็นภาวะที่หลุดพ้นไปจากสงสารวัฏ ซึ่งใน ไตรภูมิกถา เนื้อหาสำคัญส่วนนี้จะอยู่ในเอกาทสมกัณฑ์ ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องป่าหิมพานต์ ซึ่งมี อิทธิพลสำคัญต่อวรรณคดีและทัศนศิลป์ของไทยอย่างยิ่ง ๓. เรื่องนรกมีรายละเอียดมากกว่า ไตรภูมิกถา โดยกล่าวถึงมหานรก ๘ ขุม (แต่ไม่ได้กล่าวถึงชื่อมหาตาปนรก) นอกจากนี้ยังกล่าวถึงนรกบริวาร ๑๖ ขุม และ ยมโลกในทิศต่าง ๆ อีกทิศละ ๑๐ ขุม ไตรภูมิสำนวนนี้จึงมีชื่อนรก ภาพการลงโทษ ตลอดจนความผิดบาปของสัตว์นรกละเอียดกว่าใน ไตรภูมิกถา และใน ไตรภูมิ ฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ชื่อนรกบ่าวหลายแห่งจะรวมไว้ในยมโลก ประจำทิศ เช่น โลหกุมภีนรก สิมพลีนรก สุนักขนรก และไม่มีชื่อโลกันตนรก เลย ๔. แสดงให้เห็นอิทธิพลของศาสนาฮินดูและพราหมณ์ที่หล่อหลอมเข้ามา ในพระพุทธศาสนาอย่างมากทำให้เนื้อความบางตอนต่างจากไตรภูมิฉบับต่าง ๆ ที่มาจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาทั้งไตรภูมิสมัยสุโขทัยและสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่การกล่าวถึงผู้สร้างโลกว่า คือ พระบรเมสวร คือ พระอิศวร อีกตอนหนึ่ง กล่าวถึง พระบรมสุกขสมพิจิตรมหาพรหมเทพราช เป็นผู้สร้างเทวดาของฮินดู เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระกฤษณารายณ์ พระกามเทพ และยังสร้างอสูร ฤษี พราหมณ์ พญาครุฑ และพญาฉัททันต์ ๕. ปะปนด้วยเรื่องราวที่เป็นปกรณัมและวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ แต่เล่า สับสนปนเปกัน เช่น เรื่องเขาพระสุเมรุตั้งอยู่บนแก้ววิเชียร ๓ ดวง วางเหนือ หลังเต่า พ้องกับเรื่องกวนเกษียรสมุทร ที่พระนารายณ์อวตารเป็นเต่าหนุนภูเขา มันทรไม่ให้ทะลุโลก เรื่องกวนเกษียรสมุทร เพื่อสร้างน้ำอมฤต นำไปรวมกับเรื่อง พาลีช่วยเทวดาชักเขาพระสุเมรุให้ตรง เรื่องพระอิศวรฝากนางดาราให้สุครีพเล่า ผสมกับเรื่องพระอิศวรประทานนางมณโฑให้ทศกัณฐ์ กลายเป็นองคตเกิดจากนาง ดารา มีแทรกเรื่องเผ่าพงศ์ของทศกัณฐ์ในตอนที่มหาพรหมเทพราชทอดเลข ๘ ลงมาบังเกิดเป็นพระเพชญบาดาลพิศณุกรรม์ชัยเทพราช แต่สับสนปนเปจนแทบ จะไม่ตรงกับเรื่อง รามเกียรติ์ เลย และเรื่องกำเนิดลังกาทวีป ที่เกิดจากการสู้กัน ระหว่างชมพูปากัศนาคราชกับพระพาย ไม่ปรากฏในไตรภูมิฉบับอื่น ๆ แต่คล้าย กับ คำพากย์รามเกียรติ์สมัยอยุธยา ตอนพระรามประชุมพล ซึ่งพิเภกกราบทูล พระรามว่าพระพายต่อสู้กับวิรุณนาค แล้วหักยอดเขาพระสุเมรุทุ่มลงมหาสมุทร เกิดเป็นเกาะลังกา ๖. เมื่อพิจารณาในแง่วรรณศิลป์ ไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส น่าจะเป็นสำนวนที่แต่งโดยกวีพื้นบ้านมากกว่ากวีราชสำนัก เพราะใช้ถ้อยคำ สามัญธรรมดา แทบไม่มีคำในทำเนียบวรรณคดี สรรพสัตว์ที่พรรณนาไว้ใน มหาสมุทรสีทันดรก็เป็นอาหารพื้น ๆ ของชาวบ้าน เช่น ปลาช่อน ปลาตะเพียน ปลากราย หอยตาวัว และไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิและรัตนะ ทั้ง ๗ ซึ่งกล่าวไว้ละเอียดใน ไตรภูมิกถา สรุปว่า เมื่อเทียบ ไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส กับ ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิสำนวนอื่นจะเห็นได้ว่าไม่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ ไม่ว่าในด้านเนื้อ ความ วรรณศิลป์ หรือความเข้มข้นในฐานะคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่มุ่งสั่งสอน พุทธบริษัทให้หลุดพ้นจากสงสารวัฏ เข้าถึงนิพพาน และให้เกิดความเข้าใจในทุกขํ อนิจจํ อนัตตา อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เนื้อหาหลักของไตรภูมิสำนวน นี้เป็นเรื่องการสร้างโลกสร้างมนุษย์ซึ่งมีหลายตำนาน เรื่องการที่มนุษย์มัวเมา ในกิเลสตัณหา ทิ้งบุญ ทำบาป ทำชั่ว และพรรณนาความสยดสยองของนรกขุม ต่าง ๆ อันทำให้ผู้อ่านผู้ฟังกลัวบาปและมุ่งหวังพ้นทุกข์ในโลกนี้เพื่อไปเกิด ในยุคพระศรีอาริย์ นอกจากนี้ต้นฉบับที่คัดลอกแม้ลายมือสวยงามแต่เนื้อหา ขาดตกบกพร่อง เช่น ไม่ได้กล่าวถึงชื่อทวีปอมรโคยานและมหาตาปนรก มีตัวเลข คลาดเคลื่อน และเนื้อหาบางตอนสับสนปนเปกัน เช่น การผสมกับเรื่อง รามเกียรติ์ ดังที่ได้วิเคราะห์แล้ว แต่ภาวะเช่นนี้ก็เป็นสิ่งปกติของวัฒนธรรม มุขปาฐะ อย่างไรก็ตาม ไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ได้ทำให้เราเห็น การสืบทอดความคิดความเชื่อเรื่องคติไตรภูมิในสังคมไทย ที่ทำให้เกิดไตรภูมิ สำนวนต่าง ๆ มากมาย แม้ว่าต้นฉบับแต่ละสำนวนจะมีรายละเอียดแตกต่าง กันบ้าง แต่ทุกฉบับคงรักษาศรัทธาความเชื่อเรื่องการละบาปและสร้างบุญ เพื่อ ประสบกับสิ่งดีงามในชีวิตทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ซึ่งก็นับว่าเพียงพอสำหรับ การดำรงชีวิตของปุถุชนธรรมดา ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ. ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง หอพระ สถาปัตย์ หนึ่งเดียวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่น้ำไม่ท่วม ความโดยสรุปว่า หอพระ “พระพุทธธรรมทิฐิศาสดา” มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็น สถาปัตยกรรมหนึ่งเดียวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่น้ำไม่ท่วมในคราวน้ำท่วม ครั้งใหญ่ของกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ หอพระนี้เป็น อาคารจัตุรมุขทรงเครื่องลำยอง ตกแต่งด้วยการปิดทอง มีเสาหัวเม็ด ๖ ต้น และ หลังคามีบราลี ๗๒ ตัว สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ด้านหลังของหอพระใช้เป็นห้องอเนกประสงค์สำหรับทุกศาสนา และรอบ หอพระใช้เป็นที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบ การสถาปนาปีที่ ๕๐ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ มหาวิทยาลัยได้จัดสร้างพระพุทธรูป ประจำมหาวิทยาลัย จำนวน ๔ องค์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อพระพุทธรูป และ พระราชทานนามพระพุทธรูปดังกล่าวว่า “พระพุทธธรรมทิฐิศาสดา” เพื่อ ประดิษฐาน ณ ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์พัทยา และสมาคมธรรมศาสตร์ใน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=