2709_4883

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน economy) เป็นเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ สม่ำเสมอ และมีการกระจายรายได้ที่เสมอภาค ควบคู่ไปกับการมีความสมดุลของ การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม และการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development) จึง เป็นกุญแจสำคัญของการเข้าถึงเศรษฐกิจยั่งยืน ความยากจนมีทั้งความยากจนในเมืองและความยากจนในชนบท คนยากจน ในเมืองประกอบด้วยผู้ด้อยโอกาส คนชรา คนพิการ คนว่างงาน คนเร่ร่อน และผู้ ที่มีรายได้ต่ำจากการทำงานในสถานประกอบการ หรืออาชีพอิสระ ที่พักอาศัยอยู่ ในชุมชนที่อยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางเมืองหรือสถานที่ทำงาน ขาดแคลนบริการที่ จำเป็นขั้นพื้นฐานต่าง ๆ และมีค่าใช้จ่ายในการครองชีพสูงเมื่อเทียบกับรายได้ที่ต่ำ ทำให้มีหนี้สินสูงและขาดโอกาสในการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน และมี ส่วนร่วมในกิจกรรมการตัดสินใจทางการเมืองและสาธารณะต่าง ๆ เพื่อการ พัฒนาท้องถิ่นและชุมชนในระดับต่ำ ส่วนคนยากจนในชนบท ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่มีรายได้ต่ำ เนื่องจาก มีประสิทธิภาพในการผลิตต่ำ ขาดที่ดิน แหล่งน้ำ และวัตถุดิบ เช่น เมล็ดพันธุ์ พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่ดี ปุ๋ยธรรมชาติ ยาฆ่าแมลงและศัตรูพืช เทคโนโลยีการเกษตร เงินทุน ยังขาดอำนาจในการต่อรอง ขาดช่องทางการตลาด การบริการขนส่ง และการบริการทางด้านการเงิน ขาดแหล่งรายได้เสริมนอกฤดูการผลิตเนื่องจาก ขาดความรู้ในการบริหารจัดการ เทคโนโลยี ตลาด แหล่งเงินทุนและวัตถุดิบใน การประกอบอาชีพเสริมต่าง ๆ นอกจากนี้ คนยากจนในชนบทยังประกอบด้วย คนชรา เด็ก คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งคนว่างงานนอกภาคเกษตร เนื่องจากขาดแหล่งจ้างงานทั้งงานในภาคอุตสาหกรรม การค้า และบริการต่าง ๆ เพราะการพัฒนาชนบทยังอยู่ในระดับต่ำ การแก้ไขปัญหาความยากจนทั้งในเมืองและในชนบทต้องประกอบด้วยการ จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ด้อยโอกาสทั้งในเมืองและ ชนบทควบคู่กันไป การสร้างโอกาสให้คนยากจนมีงานทำทั้งในสถานประกอบการ และการประกอบอาชีพอิสระ โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การบริหารจัดการ การตลาด การสนับสนุนทางด้านการเงิน และส่งเสริมการ พัฒนาการเกษตรและการพัฒนาชนบท เพื่อส่งเสริมการสร้างงานในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม การค้า และการบริการ เศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการแก้ไขปัญหาความยากจนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยง กันได้ตามแนวคิดของการพึ่งตนเอง อันเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มุ่งแก้ไขปัญหา ความยากจน โดยทำให้คนยากจนทั้งในเมืองและในชนบททั้งภาคเกษตรและ นอกภาคเกษตรสามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเอง ด้วยการทำให้ตนเองมีรายได้ เพิ่มขึ้นและรายจ่ายลดลง แนวคิดของความพอเพียงตามแนวทางปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงและโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนต้องไม่มุ่งที่เป้าหมายของ การเพิ่มรายได้ทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องคำนึงถึงการกระจาย ความเป็นธรรม การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม การพัฒนาและการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเสริมสร้างพลังให้คนยากจน สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น และการตัดสินใจทางการเมือง และปัญหาสาธารณะของชุมชนและท้องถิ่นได้ การเสริมสร้างให้เกิดการบริหาร จัดการที่เป็นธรรมาภิบาลสามารถตรวจสอบได้ และความรับผิดชอบต่อสภาพ แวดล้อมจากนำเอาทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ ประโยชน์ทางเศรษฐกิจในทุกระดับขององค์กร ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ ๏ วันพุธที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง กรอบการ ประเมินหลักสูตรสาขาวิชาเอก สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เพื่อพัฒนาสู่ความ เป็นเลิศทางวิชาการ ความโดยสรุปว่า การพัฒนาวิชาชีพครูในประเทศไทยแบ่ง เป็น ๔ ยุคคือ ยุคแรกก่อนมีพระราชบัญญัติครู พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นยุคที่ให้ความ สำคัญกับการผลิตครูเพื่อสอนในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองให้สอดคล้องกับการ ปฏิรูปและปรับปรุงบ้านเมือง ยุคที่ ๒ ยุครุ่งอรุณแห่งวิชาชีพครู มีพระราช- บัญญัติครู พ.ศ. ๒๔๘๘ เพื่อพัฒนาการผลิตครูให้มีความเป็นสากลมากขึ้น ยุคที่ ๓ ยุคแห่งความคิดและความพยายาม (พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๔๑) เป็นยุคที่จุดประกาย ความคิดและมีความพยายามยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้นอย่างเป็น รูปธรรม และยุคที่ ๔ ยุคทองของวิชาชีพครู (พ.ศ. ๒๕๔๒-ปัจจุบัน) เพื่อให้มีระบบ การบริหารจัดการ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การปรับหลักสูตรและ กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม และการจัดให้มีสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการปรับระบบครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เป็นการผลิตครูที่ เน้นวิชาชีพ เป็นครูมืออาชีพ และครูคุณภาพตามแนวความคิดตะวันตก ดังนั้น จึงมีการนำแนวคิดแบบไทยและตะวันตกมาผสมผสานกันเพื่อสร้างครูที่มีคุณภาพ เป็น “ครูพันธุ์ใหม่” ด้วยการปรับระบบการผลิต การคัดสรร ค่าตอบแทนและ สวัสดิการให้สามารถดึงดูดคนเก่งและดี มีใจรักในวิชาชีพครูมาเป็นครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งมีระบบประกันและรับรองคุณภาพมาตรฐาน วิชาชีพครูและสถาบันผลิตครู อย่างไรก็ตาม การที่จะปฏิรูปครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้ ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๔๕ นั้น จำเป็นจะต้องมีข้อมูลองค์ความรู้ เกี่ยวกับกลุ่มคุณภาพและความเข้มแข็งเฉพาะสาขาของสถาบันผลิตครูแต่ละแห่ง จึงมีการกำหนดกรอบการประเมินและเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิต โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ขึ้น โดยให้มีกระบวนการประเมิน ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ ประเมินคุณภาพ ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์และกลไกเพื่อส่งเสริมความพร้อมของหลักสูตร สาขาวิชาเอกครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ได้แก่ (๑) โครงการครูพันธุ์ใหม่ โครงการ ส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ควรพิจารณานำกรอบการประเมินหลักสูตรสาขาวิชาเอกสาขาครุ- ศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ไปใช้ในการคัดเลือกสถาบันผลิตครูและสาขาวิชาเอกที่จะ เข้าร่วมโครงการในปีการศึกษา ๒๕๕๖ (๒) สำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา (สกอ.) ควรสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษามีการจัดระบบประกัน คุณภาพระดับหลักสูตรวิชาเอกสาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การ สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน TQF และการสร้างสรรค์องค์ความรู้ของ สาขาวิชา (๓) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ควรให้ความสำคัญต่อผลการประกันคุณภาพระดับสาขาวิชาในการประเมิน คุณภาพภายนอก (๔) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาควรสนับสนุนให้นำกรอบ การประเมินหลักสูตรวิชาเอกสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์มาประเมินทุกสาขา วิชาในสถาบันผลิตครูทั้ง ๙๒ แห่ง เพื่อเปิดเผยสาขาวิชาที่มีความพร้อมที่จะ พัฒนาสู่ศูนย์ความเป็นเลิศในการผลิตครูในสาขาวิชาเอกนั้น ๆ รวมทั้งกำหนด นโยบายให้สนับสนุนศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการในการผลิตครูสาขาวิชาเอก ต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศร่วมกัน เป็นการทดแทนที่ ประเทศไทยไม่มีสถาบันผลิตครูโดยตรง (๕) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา พึงกำหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนโครงการครูพันธุ์ใหม่และโครงการครู สควค. ให้ ดำเนินไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง ซึ่งครูที่ผลิตจากโครงการดังกล่าวจะสามารถ ทดแทนครูที่จะเกษียณอายุราชการไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓๐ ได้ สำนักศิลปกรรม ๏ วันอังคารที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.สันติ เล็กสุขุม ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง เฟื่องอุบะกับการเดินทาง อันยาวไกล ความโดยสรุปว่า ลายไทย ครื่องแขวนหรือเครื่องสดประเภทหนึ่ง เรียกว่า เฟื่องอุบะ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรง เรียก ลายอีแปะ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียก ลายช่อง เริ่มจากการนำดอกไม้และใบไม้มาเรียงร้อยประดับอาคาร ศาสนสถานหรือปราสาทราชวังของชาวอินเดียโบราณ และได้ถ่ายทอดมาสู่งาน ประดับสถาปัตยกรรมซึ่งยาวนานกว่าพันปีที่ผ่านมาในดินแดนไทย โดยมี พัฒนาการที่สืบทอดเป็นวิวัฒนาการแบบย้อนยุคอันสะท้อนถึงการปรับเปลี่ยน ความคิดและรสนิยมของแต่ละยุคสมัย เฟื่องอุบะเริ่มปรากฏในวัฒนธรรมอินเดียโบราณ สมัยศิลปะคุปตะ ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ มีลวดลายเป็นมาลัยดอกไม้สดประดับตกแต่งหัวเสา พบ ในจิตรกรรมฝาผนังถ้ำอชันตาและงานสลักศิลาประดับหัวเสา ในประเทศไทย สมัยศิลปะทวารวดี เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ พบงานสลักศิลาประดับหัวเสา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=