2709_4883
3 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๓ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๕ สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ๏ วันพุธที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ ดร.ปฐมาภรณ์ บุษปธำรง ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การจัดการภัยพิบัติ : แนวคิดปรัชญาสวัสดิการและการประยุกต์ ความโดยสรุปว่า ภัยพิบัติ หมายถึง สถานการณ์วิกฤตซึ่งขยายวงกว้างเกินกว่าที่กำลังของมนุษย์จะสามารถเยียวยา แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ภัยพิบัติอันเกิดจากธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ดินถล่ม และภัยพิบัติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น สงคราม ระเบิด สารเคมีรั่ว นอกจากนี้ ยังรวมภัยที่รุนแรง และเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผล กระทบต่อบุคคล ความมั่นคง ความปลอดภัย ความเสียหายทางกายภาพ สภาพ สังคม วัฒนธรรม การดำเนินชีวิตและจิตใจ เช่น เสียชีวิต บาดเจ็บ ไร้ที่อยู่ ประเทศยากจนมีความหายนะสูงกว่าประเทศร่ำรวยเนื่องจากขาดแคลนระบบการ ป้องกัน การเตือนภัย เครื่องมือช่วยเหลือที่รวดเร็วทันสมัย อุปกรณ์ทาง การแพทย์ รวมทั้งแผนการเตรียมการฉุกเฉิน การสื่อสาร และการขนส่ง แนวคิดในการจัดการภัยพิบัติในปรัชญาสวัสดิการแบ่งเป็น ๔ แนวคิด คือ (๑) การจัดการโดยการทำบุญและการกุศลตามความเชื่อทางศาสนา โดยมาก อยู่ในรูปของการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า (๒) การจัดการโดยการใช้ ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (๓) การจัดการตามหลักสิทธิและความเท่าเทียมกันใน ด้านความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน การได้รับการศึกษา และอื่น ๆ (๔) การ จัดการตามบทบาทองค์กรรัฐ เอกชน ชุมชน การจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป นฐาน เป นการบริหาร จัดการที่ยึดประชาชนเป นศูนย กลาง มุ งเน นการมีส วนร วมของชุมชนในการ ร วมคิดร วมตัดสินใจและร่วมดำเนินการทุกขั้นตอน ลักษณะของชุมชนที่มีภูมิคุ้มกัน ในมิติของการจัดการภัยพิบัติที่ดี ต้องใช ความรู และประสบการณ ของท องถิ่น เป นกลไกในการรับมือกับภัยพิบัติ เตรียมความพร อมทั้งในระดับครอบครัวและ ชุมชนในการจัดเตรียมเสบียงหรือข าวของเครื่องใช ที่จำเป น โดยพร อมที่จะใช งาน ได ทันที มีการจัดฝ กอบรมในการเตรียมความช่วยเหลือในเบื้องต น จัดทําเส นทาง อพยพก อนที่ภัยต าง ๆ จะมาถึง แนวทางร วมกันในการป องกันและลดผลกระทบ จากภัยพิบัติ คือ การบริหารจัดการภาครัฐที่เกี่ยวข องกับองค กรระหว างประเทศ การระบุและประเมินความเสี่ยง การเฝ าระวังและการเตือนภัยล วงหน า การให การศึกษาและการจัดการความรู้ การลดป จจัยเสี่ยง และการเตรียมความพร อม ในการทำงานเพื่อตอบสนองและฟ นฟูหลังภัยพิบัติอย างมีประสิทธิภาพ ทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวทางการ บริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้วน เป็นวิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง วิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมและทรงคำนึงถึง การเลือกใช้วิธีต่าง ๆ ได้เหมาะสมกับสภาพท้องที่ และพระราชทานแนวทางแก้ไข ด้วยวิธีต่าง ๆ คือ การก่อสร้างคันกั้นน้ำ ก่อสร้างทางผันน้ำ การปรับปรุงและ ตกแต่งสภาพลำน้ำด้วยการขุดลอกลำน้ำ ตกแต่งดินตามลาดตลิ่งให้เรียบ กำจัด วัชพืช ผักตบชวา รื้อทำลายสิ่งกีดขวางทางน้ำไหล และการทำโครงการแก้มลิง ๏ วันพุธที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ นายสงวน ลิ่วมโนมนต์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง รูปแบบกฎหมาย อาเซียนในอนาคต ความโดยสรุปว่า อาเซียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ จากการลงนามในปฏิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้หรือปฏิญญากรุงเทพฯ แรกตั้งมีสมาชิก ๕ ประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิก ๑๐ ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์ และองค์การเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้น เพื่อความร่วมมือ ทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก ธำรง รักษาไว้ซึ่งความมั่นคงในภูมิภาค และสร้างโอกาสในการคลี่คลายข้อพิพาท ระหว่างประเทศสมาชิกโดยสันติ และใน พ.ศ. ๒๕๕๑ มีการประกาศใช้กฎบัตร อาเซียนอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้การดำเนินงานของอาเซียนเป็นไปตามกรอบ ของกฎหมายฉบับเดียวกัน และนำไปสู่ประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นอีก ๓ ปีข้าง หน้า ทำให้เกิดกิจกรรมที่หลากหลายระหว่างรัฐในอาเซียนทั้งด้านเศรษฐกิจ การ ท่องเที่ยว การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การป้องกันและให้ความช่วยเหลือเมื่อประสบ ภัยพิบัติ การสาธารณสุขในเชิงป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาด การแก้ไข ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติและยาเสพติด การส่งเสริมการศึกษา การวิจัย วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี การอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังพยายามจัดตั้งกลไกด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียน เพื่อให้เกิดการ คุ้มครองพลเมืองอาเซียนให้พ้นจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกรูปแบบ ใน ปัจจุบันประชาคมอาเซียนยังคงแยกกฎหมายในแต่ละประเทศสมาชิก ซึ่งประเทศ สมาชิกต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในประเทศของตนเองให้สอดคล้องกับหลัก กฎหมายอาเซียน และในการตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐ สมาชิกต้องมีสภาและ ศาลประชาคมอาเซียน อาเซียนพยายามส่งเสริมให้มีการประกอบอาชีพธุรกิจ บริการมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจการบัญชี ส่วนด้านทรัพย์สินทางปัญญา มีการตั้งคณะทำงานความร่วมมือด้านทรัพย์ สินทางปัญญาอาเซียน เพื่อจัดทำกิจกรรมด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่าง อาเซียน รวมทั้งกิจกรรมที่สนับสนุนการเตรียมการเพื่อรองรับการเข้าเป็น ประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่ออำนวย ความสะดวกในด้านต่าง ๆ คือ (๑) การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่าง ประเทศให้แก่ผู้ประกอบการหรือผู้ส่งออก เพื่อขอรับความคุ้มครองได้หลาย ประเทศในคราวเดียวกัน (๒) การจดทะเบียนสิทธิบัตรระหว่างประเทศผ่านระบบ PCT ภายใต้ความตกลงปารีส และจัดทำโครงการแลกเปลี่ยนผลการตรวจสอบ สิทธิบัตรของอาเซียน (๓) การจัดตั้งองค์กรจัดเก็บค่าตอบแทนลิขสิทธิ์ เพื่อให้ ความเป็นธรรมต่อเจ้าของลิขสิทธิ์และผู้ใช้สิทธิ (๔) การจัดตั้งศูนย์รวมข้อมูล ทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน ด้วยการจัดทำเว็บไซต์เดี่ยวเป็นศูนย์กลางข้อมูล และ (๕) การจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ โดยแผนปฏิบัติ การด้านทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียน พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๙ มีเป้าหมายหลัก ๕ ประการคือ (๑) สร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในระบบทรัพย์สินทางปัญญาของ อาเซียนโดยคำนึงถึงระดับการพัฒนาที่ต่างกัน (๒) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน กฎหมายและนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาในระดับประเทศและระดับภูมิภาค (๓) ส่งเสริมการสร้างสรรค์ การสร้างความตระหนัก และการใช้ประโยชน์ทรัพย์ สินทางปัญญาเชิงพาณิชย์ เพื่อให้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือในการสร้าง นวัตกรรมและการพัฒนาประเทศ (๔) มีบทบาทในเวทีทรัพย์สินทางปัญญา ระหว่างประเทศและสร้างความสัมพันธ์กับคู่เจรจา (๕) สร้างความร่วมมือ ระหว่างสมาชิกอาเซียนและส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรในสำนักงานทรัพย์สิน ทางปัญญาของอาเซียน ใน พ.ศ. ๒๕๕๘ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน จะเข้าสู่การรวมตัวในลักษณะประชาคมภูมิภาค ด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียน มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการร่วมมือทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง สังคม และวัฒนธรรม โดยยกระดับความร่วมมือในลักษณะที่เป็นทางการ ด้วยกลไกและ องค์กรภายใต้กฎบัตรอาเซียน ซึ่งจะก่อให้เกิดองค์กรนิติบุคคลในระดับภูมิภาคที่มี เขตเศรษฐกิจสำคัญแห่งหนึ่งของโลกไปโดยปริยาย ประเทศไทยจึงต้องเตรียม พร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การสร้างและพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ในฐานะแรงงานมีฝีมือหรือแรงงานวิชาชีพ การพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะทักษะทางภาษา เพื่อให้ทันประเทศสมาชิกอื่น ๆ ในการเข้าสู่ประชุม อาเซียนในอีก ๓ ปีข้างหน้านี้ ๏ วันพุธที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ. ดร.วรวุฒิ หิรัญรักษ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง เศรษฐกิจยั่งยืนกับ การแก้ไขปัญหาความยากจน ความโดยสรุป เศรษฐกิจยั่งยืน (sustainable
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=