2708_9895

7 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๒ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ลักษณะเปลี่ยนแปลงไปนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า มีทั้งเรื่องของการ เปลี่ยนแปลงภาษาทั้งในด้านภาษาพูดและภาษาเขียน ซึ่งเป็นเรื่อง ธรรมชาติของภาษาที่ยังมีชีวิตอยู่ และทั้งในด้านข้อจำกัดของเครื่องมือที่ใช้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่การใช้หินจารึกมาจนถึงการใช้แป้นอักขระ การสร้างคำใหม่เป็นเรื่องที่อธิบายได้ไม่ยาก เพราะคำใหม่ย่อมเป็น ตัวแทนของสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะสิ่งใหม่ที่ยังไม่มีคำเรียก การ เขียนไม่ตรงกับสิ่งที่กำหนดไว้ในพจนานุกรมก็อาจจะอธิบายได้ว่าเป็น ลักษณะการปลดปล่อยตนเองออกจากกรอบ ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีตัวพิมพ์ และการสร้างระเบียบต่าง ๆ ทางด้านภาษา ตั้งแต่พจนานุกรมไปจนถึงกฎ เกณฑ์ต่าง ๆ อันเป็นเรื่องสมมุติขึ้นเพื่อให้เกิดเอกภาพในสังคม การออก เสียงไม่เหมือนเดิมก็อาจจะถือได้ว่าเป็นลักษณะ “ขบถ” ปลดปล่อยตนเอง ออกจากกรอบได้อีกแบบหนึ่ง ส่วนการเขียนผิดกฎเกณฑ์ทางด้านอักขรวิธี นั้นอาจจะเกิดจากความไม่แม่นยำ เพราะขาดการศึกษาสิ่งที่ได้สมมุติกันมา อย่างลงตัวแล้ว ภาษาในลักษณะดังกล่าวมักจะถูกกล่าวหาว่าเป็น “ภาษาวิบัติ” แต่ หากพิจารณาดูให้ละเอียดแล้วจะเห็นได้ว่า มีบางส่วนที่วิบัติจริง เช่น การใช้ รูปวรรณยุกต์ผิดจากข้อกำหนด ซึ่งจะทำให้เกิดความลักลั่นกับคำที่เขียน ตามข้อกำหนดดังกล่าวไปแล้ว เช่น คำว่า “ฟ้า” ใช้ไม้โทแสดงเสียงตรี กำกับอักษรต่ำ แต่ถ้าใช้ไม้ตรีในคำว่า “ฟู๊ด” ซึ่งออกเสียงตรีเหมือนกัน ก็ จะกลายเป็น ๒ มาตรฐาน การสร้างคำใหม่อาจจะถือได้ว่าเป็นการ “สร้างสรรค์” อย่างหนึ่งก็ได้ ส่วนการดัดแปลงคำเก่าทั้งในด้านเสียงและ ความหมายต้องพิจารณาให้ละเอียดเกินกว่าจะกล่าวว่าทุกคำเป็นภาษาวิบัติ เรื่องที่ต้องคำนึงถึงอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ข้อจำกัดในด้านเครื่องมือ ซึ่งมี ผลต่อภาษามาแล้ว ตั้งแต่การใช้ตัวพิมพ์ การใช้พิมพ์ดีด และการใช้โทรเลข การใช้ภาษาในโลกไร้สายต้องพิมพ์ข้อความผ่านแป้นอักขระโดยที่ผู้ใช้ภาษา ต้องการความรวดเร็ว จึงไม่มีเวลาตรวจสอบสิ่งที่ได้ระบุไว้แล้วใน พจนานุกรม การกดแป้น shift ก็เป็นการเสียเวลาอย่างหนึ่ง รวมทั้งความ ไม่แม่นยำในตำแหน่งของแป้นอักขระก็เป็นอุปสรรคอีกอย่างหนึ่งด้วย โดย เฉพาะอย่างยิ่งการพิมพ์ข้อความสั้นผ่านแป้นอักขระของโทรศัพท์มือถือซึ่งมี ขนาดเล็ก ก็ทำให้การเขียนเป็นเรื่องของ “การเขียนตามเสียง” มากกว่า การคำนึงถึงตัวสะกดที่สมมติกันว่าถูกต้อง คำบางคำเมื่อปรากฏเดี่ยว ๆ อาจจะไม่สื่อ แต่เมื่ออยู่ในบริบทก็สามารถสื่อได้ ซึ่งผู้ใช้อาจจะไม่วิตกเรื่อง การสะกดไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ในพจนานุกรม สิ่งที่ครูภาษาไทยควรจะทำก็คือ ช่วยกันสอนว่า การใช้ภาษาไทยเพื่อ การสื่อสารนั้นมีหลายระดับ โดยธรรมชาติภาษาย่อมมีความแตกต่างกันไป ตามเวลา สถานที่ บุคคล และสถานการณ์ที่ใช้ ภาษาของโลกไร้สายก็คือ ภาษาที่เหมาะสมแก่ “โลกไร้สาย” แต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ในภาษาทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาที่เป็นทางการ รศ. ดร.ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ตรุษจีน ความโดยสรุปว่า ตรุษจีนตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑ ตามปฏิทินจันทรคติ จีน ๗ วันก่อนที่จะถึงวันตรุษจีน ชาวจีนหรือชาวไทยเชื้อสายจีนจะเชิญเทพ เจ้าแห่งเตาไฟ (เจ้าเสิน) ขึ้นสวรรค์เพื่อรายงานเง็กเซียนฮ่องเต้ถึงความ ประพฤติและพฤติกรรมของคนในครอบครัว เง็กเซียนฮ่องเต้จะได้ประทาน โชคเคราะห์แก่ครอบครัวนั้น จากนั้น จะทำความสะอาดครั้งใหญ่เพื่อขจัด เสนียดจัญไร เรียกว่า ส่าวเฉิน แล้วติดภาพเทพเจ้าตามผนังของบ้าน คืน วันส่งท้ายปีเก่าสมาชิกของครอบครัวเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ลูกหลานจะกราบ อวยพรผู้ใหญ่ในครอบครัว เรียกว่า ไป้เหนียน แล้วผู้ใหญ่จะแจกอั่งเปาให้ ลูกหลานแต่ละคน ลูกจะร่วมรับประทานอาหารกับบิดามารดาเป็นการ แสดงความกตัญญู อาหารมื้อสุดท้ายที่สำคัญ เช่น เจี่ยวจือ ชาวจีนจะฉลองตรุษจีนด้วยสิ่งที่สื่อถึงความเป็นสิริมงคล เช่น อาหาร คำมงคล ดอกไม้ อาหารที่มีเสียงพ้องหรือใกล้เคียงกับคำที่เป็นสิริมงคล เช่น เจี่ยวจือ คือ เกี๊ยว หรือที่เรียกว่า เจี่ยว เสียงของคำใกล้เคียงกับเสียงคำว่า เจียว หมายถึง มาอยู่ด้วยกัน เป็นสัญลักษณ์ว่าสมาชิกในครอบครัวมาอยู่พร้อม หน้ากัน ฉางเหมี่ยน หรือ ฉางโซ่วเมี่ยน คือ หมี่เหลืองเส้นยาว หมายถึง มีอายุยืนยาวเป็นร้อย ๆ ปี ใช้รับประทานในคืนวันส่งท้ายปีเก่า ฟาเกาเป็น ขนมนึ่งทำด้วยแป้งที่ทำให้ฟู หมายถึง เฟื่องฟูเจริญรุ่งเรือง เหนียนเกา หรือ เหนียนเหนียนเกา คือ ขนมเข่ง หมายถึง ชีวิตความเป็นอยู่และการ งานดีขึ้น ๆ ทุกปี ยฺหวี คือ ปลา พ้องเสียงกับคำว่า ยฺหวี ที่แปลว่า เหลือ กินเหลือใช้ ปลาจึงเป็นสัญลักษณ์ว่า เหนียนเหนียนโหย่วยฺหวี [เหนียน-เหนียน-โหย่ว-ยฺหวี] หมายถึง มีเหลือกินเหลือใช้ทุกปี ฟาไช่ คือ สาหร่ายเส้นผม เสียงของคำใกล้เคียงกับคำว่า ฟาไฉ หมายถึง ร่ำรวย ชง คือ ต้นหอม พ้องเสียงกับคำว่า ชง ในคำว่า ชงหมิง ที่หมายถึงมีความ ฉลาด จวี๋ คือ ส้ม พ้องเสียงกับคำว่า จวี๋ ที่หมายถึง สิริมงคล โชคดี มี มงคล เหลียนจื่อ คือ เม็ดบัว พ้องเสียงกับคำว่า เหลียนจื่อ หมายถึง มีลูก หลานสืบทอดต่อ ๆ กันไป นอกจากนี้ยังมี คำมงคล เขียนด้วยสีทองบนกระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้าสี แดง มี ๓ แบบคือ ๑. คำมงคลคู่ที่เรียกว่า ชุนเหลียน ปิดตามแนวตั้งเป็นคู่ ๒. คำมงคลที่เป็นแผ่นเดียว อาจปิดตามแนวนอนหรือแนวตั้ง ๓. คำมงคล ที่เป็นอักษรตัวเดียว เช่น ฝู หมายถึง ความเป็นสิริมงคล บางครั้งอาจจะ เห็นว่าจงใจติดหัวกลับลงเพื่อให้เป็นคำว่า ฝูเต้าซึ่งหมายถึง ความสุขและสิริ มงคลได้มาสู่บ้านแล้ว (คำกริยาว่า กลับหัวกลับหาง ในภาษาจีนออกเสียง ว่า เต้า ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า เต้า ที่มีความหมายว่า ถึง มาถึง) ดอกไม้ที่มีชื่อเป็นสิริมงคลก็นิยมนำมาปักแจกัน ประดับตกแต่งบ้าน เช่น จฺวี๋ฮฺวา [จฺวี๋-ฮฺวา] คือ ดอกเบญจมาศ เป็นสัญลักษณ์ของความอดทน เด็ดเดี่ยว สูงส่ง และความมีอายุยืน เหมยฮฺวา [เหมย-ฮฺวา] คือ ดอกเหมย เป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ มีลักษณะ ๕ กลีบ จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า อู่ฝูฮฺวา [อู่-ฝู-ฮฺวา] หมายถึง มงคล ๕ ประการ ได้แก่ ความมีอายุยืน ความราบรื่น ความมีสันติ ความโชคดี และความสุข เช้าวันตรุษจีน ชาวจีนหรือชาวไทยเชื้อสายจีนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้า ใหม่เพื่อไปอวยพรญาติผู้ใหญ่ เรียกว่า ไป้เหนียน ไปเดินเที่ยว ตามถนน คึกคักมีผู้คนที่ออกมาเฉลิมฉลองตรุษจีน มีการจุดประทัดและเชิดสิงโต จะ อวยพรกันด้วยคำต่าง ๆ คำอวยพรของนักธุกิจ เช่น ซิงเจียหยู่อี่ ซิงนี้ ฮวดไช้ (สำเนียงจีนแต้จิ๋ว) หมายถึง ปีใหม่ ขอให้สมปรารถนา ให้ร่ำรวยยิ่ง ขึ้นตลอดปีใหม่ ในตอนท้าย ผู้บรรยายอวยพรราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกว่า ซินเจิ้งหรูอี้ เสินถี่เจี้ยนคัง หมายถึง ตรุษจีนนี้ ขออวยพรให้ทุกท่าน สมปรารถนาในทุกสิ่ง และมีสุขภาพแข็งแรง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=