2708_9895

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน spaghetti ภาษาอังกฤษปัจจุบันจะใช้เป็นคำนามนับไม่ได้ ซึ่งในทาง ไวยากรณ์จะถือว่าเป็นเอกพจน์ เช่น The spaghetti is delicious. ๔. ด้านความหมาย เป็นด้านที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดและเห็นได้ ชัดที่สุด โดยอาศัยอุปลักษณ์ เช่น solo มาจากคำละตินว่า solus “ตาม ลำพัง; เดี่ยว” ซึ่งเข้ามาในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ เดิมใช้เป็น ศัพท์ดนตรี เพื่อหมายถึงบทประพันธ์ดนตรีเพื่อให้บรรเลงคนเดียว หรือ บทเพลงเพื่อให้ร้องคนเดียว ต่อมามีการกลายความหมายและขยาย ขอบเขตของความหมายโดยไม่เปลี่ยนรูปคำ แต่เปลี่ยนเฉพาะหน้าที่ทาง ไวยากรณ์ของคำโดยการเติมปัจจัย นายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง กรณี ศึกษานอกบันทึกช่าง จากเหตุการณ์น้ำท่วมบ้านเรือน ๒๕๕๔ ความโดย สรุปว่า กรณีศึกษานอกบันทึกช่างจากเหตุการณ์น้ำท่วมบ้านเรือน ๒๕๕๔ มี ๑๐ ประการ ดังนี้ ๑. อันตรายของไฟฟ้าจากวงจรไฟฟ้าแม้จะปิดวงจรไฟฟ้าหลักไปแล้ว เจ้าของบ้านควรเตรียมการล่วงหน้าโดยการตรวจเปลี่ยนหรือปรับปรุง อาคารและสายไฟ ๒. การทำความสะอาดบ้านที่ถูกวิธีด้วยการใช้น้ำผสมน้ำยาซึ่งมีส่วน ผสมของกรดเพื่อขจัดเชื้อรา ๓. การเสริมให้รั้วบ้านแข็งแรงทั้งก่อนน้ำท่วมและหลังน้ำลด หากน้ำ ท่วมสูงเกินกว่า ๕๐ ซม. ต้องปล่อยให้น้ำเข้ามาท่วมในบริเวณบ้านบ้าง เพื่อ ให้เกิดการใช้ “น้ำดันน้ำ” ก็จะเสียหายน้อยลง ๔. ระบบก่อสร้างด้วยพื้นสำเร็จจะป้องกันน้ำผุดกลางบ้านได้น้อย แนวทางการแก้ไขทำได้ยาก เช่น การวางแผ่นพลาสติกที่คลุมดินใต้บ้าน หรือการสกัดผิวคอนกรีตแล้วเทคอนกรีตที่ทำระบบกันซึมที่ดีและมีความ หนาพอสมควร แต่ห้ามเทคอนกรีตหนาเกินไป ๕. ประตูบานเลื่อนสร้างปัญหามากกว่าประตูบานเปิด มีทั้งประตูที่รั้ว หน้าบ้านและประตูในตัวบ้าน โดยเฉพาะประตูบานเลื่อนที่รั้วหน้าบ้านจะ ต้องมีการออกแบบที่มีความมั่นคงและแข็งแรงมากขึ้น ส่วนประตูในตัวบ้าน ต้องใช้เทปหรือผ้ากาวติดประสานในบริเวณที่ตัววงกบมาชนกัน ๖. ข้าวของในบ้านเสียหายเพราะเฟอร์นิเจอร์ชำรุดมากที่สุด เนื่องจาก เมื่อน้ำท่วมขังนาน ทำให้ตู้หรือชั้นวางของเปื่อยยุ่ยและพังลงมา รวมทั้ง บานกระจกแตกออกเกือบหมด ควรย้ายของไปไว้ในที่ที่น้ำท่วมไม่ถึงและห่อ ตู้และชั้นด้วยพลาสติกอย่างแน่นหนาเพื่อกันความชื้น ๗. มีเชื้อราเกิดขึ้นในตู้เย็นที่ห่อหุ้มไว้อย่างดีแล้ว เนื่องจากเจ้าของตู้ เย็นไม่ได้ชักปลั๊กไฟออกจากตู้เย็นในขณะที่นำของออกจากตู้เย็น ทำให้ตู้เย็น ยังมีความชื้นเพียงพอและมีอุณหภูมิเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา ๘. ความทนทานของต้นไม้ในบ้าน มีทั้งที่ไม่ทนน้ำ เช่น บัว ทนน้ำได้ ไม่เกิน ๑ เดือน เช่น ขนุน ไม้พุ่ม ทนน้ำได้เกิน ๑ เดือน เช่น มะม่วงบาง พันธุ์ และทนน้ำได้ดี เช่น มะกรูด มะนาว มะพร้าว มะยม ประดู่ ปาล์ม มะขาม ส้มโอ หญ้าพื้นบ้าน ๙. งูและปลวกหายไปชั่วคราว คือ งูจะหนีไปอยู่ที่กระสอบทรายซึ่งพบ มากที่สุด ในบ้าน และบนต้นไม้ ส่วนปลวกที่รอดตายจะพบในฝ้าเพดาน ตามเครื่องเรือนที่ทำด้วยไม้ และต้นไม้ ๑๐. รอยร้าวหลังน้ำท่วม ส่วนใหญ่มี ๔ ประเภทคือ รอยร้าวที่มุม ประตูหน้าต่างไม้ รอยร้าวแตกลายงาเหมือนชามสังคโลก รอยร้าวเฉียง ๆ ที่ผนัง และรอยร้าวข้าง ๆ ผนังติดกับเสา รอยร้าว ๒ ประเภทหลังนี้เมื่อ เป็นมากจะต้องให้ช่างแก้ไข ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง เครื่องมือ เปลี่ยน ภาษาเปลี่ยน ความโดยสรุปว่า สาเหตุที่ทำให้ภาษาในโลกไร้สายมี สอนให้ผู้คนในสังคมตั้งอยู่ในธรรมและจะได้ไปสวรรค์ บ้านเมืองที่ผู้คนไม่ตั้ง อยู่ในธรรมจะประสบความวิบัติ ถูกทำลายด้วยอุทกภัยเป็นต้น คุณสมบัติ สำคัญของวรรณคดีเรื่องนี้อยู่ที่ลักษณะอเนกประสงค์ในฐานะสื่อการสอน วรรณคดีคำสอน และฐานะวรรณคดีที่สร้างความเพลิดเพลินใจ นอกจากนี้ ตัวบทยังก่อให้เกิดอเนกนิทัศน์ อ่านได้หลายระดับขึ้นกับประสบการณ์ของผู้ อ่าน ผู้อ่านที่เป็นเด็กอาจได้รับรู้ความหมาย ได้อรรถรสจากเรื่องแตกต่าง จากผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่ วรรณคดีเรื่องนี้ได้รับการบรรจุในหลักสูตรวิชา ภาษาไทยระดับมัธยมศึกษามาหลายยุคหลายสมัยจนถึงปัจจุบัน ตอนที่เด่นในกาพย์พระไชยสุริยาคือตอนที่บรรยายสภาพ “พารา สาวัตถี” ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเมืองพุทธเพราะกล่าวถึงภิกษุสมณะ แต่ความ ประพฤติของข้าราชการที่ทุจริตกินสินบนและรังแกประชาชนทำให้ “พารา สาวัตถี” เป็นบ้านเมืองไม่มีขื่อไม่มีแป ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองไม่อาจเป็นที่ พึ่งของประชาชนได้ อาจพิจารณาได้ว่าผลงานเรื่องนี้ของสุนทรภู่เป็น วรรณคดีวิพากษ์วิจารณ์สังคมในรูปแบบของหนังสือสำหรับเด็ก ๏ วันอังคารที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ. ดร.สมศีล ฌานวังศะ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง คำอิตาเลียน ในภาษาอังกฤษ ความโดยสรุปว่า คำยืมจากภาษาอิตาเลียนเริ่มเข้ามาแพร่ หลายในภาษาอังกฤษในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ประมาณ ค.ศ. ๑๕๐๐-๑๖๕๐ ศัพท์หลายคำอาจรับผ่านหรือดัดแปลงจากคำภาษาฝรั่งเศสซึ่งมาจากคำ อิตาเลียนอีกต่อหนึ่ง เนื่องจากภาษาอิตาเลียนสืบทอดมาจากภาษาละตินโบราณ คำยืมจาก ภาษาอิตาเลียนส่วนใหญ่จึงมักมีรากเหง้าจากคำละติน เช่น coda มาจาก คำอิตาเลียนซึ่งแปลงรูปจากคำละติน คือ cauda แต่ก็มีศัพท์บางส่วนมีที่มา จากภาษาอื่น ๆ ด้วย เช่น bazaar มาจากคำอิตาเลียนว่า bazaaro ซึ่งยืมผ่านคำตุรกีที่มาจากคำ เปอร์เซีย giraffe มาจากคำอิตาเลียน giraffa ซึ่งมาจากคำอาหรับ mosque มาจากคำอิตาเลียนโบราณคือ moschea โดยผ่านคำ ฝรั่งเศสยุคกลาง ส่วนคำว่า moschea เองก็มาจากคำสเปนโบราณว่า mezquita ซึ่งมาจากคำอาหรับ McArthur ได้วิเคราะห์ไว้ว่า คำศัพท์อิตาเลียนในภาษาอังกฤษปัจจุบัน อาจจำแนกได้เป็น ๔ กลุ่ม ดังนี้ ๑. ดนตรี เช่น adagio, bel canto, cello, concerto, crescendo, pianoforte, solo, viola ๒. วรรณกรรม สถาปัตยกรรม ศิลปะ เช่น canto, fresco, intaglio, stanza ๓. สไตล์ปรุงอาหาร เช่น lasagna, macaroni, pasta, pizza, spaghetti ๔. ชีวิตสังคม เช่น gigolo, mafia, regatta คำศัพท์อิตาเลียนที่ยืมเข้ามาใช้ในภาษาอังกฤษมีการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น ๔ ด้าน คือ ๑. ด้านตัวสะกด มีการปรับเปลี่ยนวิธีสะกดในหลายคำ ทำให้บางคำมี วิธีเขียนมากกว่าหนึ่งแบบ เช่น mafia หรือ maffia ๒. ด้านการออกเสียง มักมีการปรับวิธีออกเสียงให้เข้ากับระบบเสียง ของภาษาอังกฤษ เช่น mafia อาจออกเสียงเป็น / I ma : fi / หรือ / I mææææææææææ æ fi / และ adagio อาจออกเสียงเป็น / I da : d / หรือ / I da : d i / ๓. ด้านไวยากรณ์ คำนามปุลลิงค์ (masculine gender) เอกพจน์ ซึ่ง ลงท้ายด้วย -o จะผันรูปเป็น -i เช่น tempo  tempi, paparazzo  paparazzi, macarono  macaroni, spaghetto  spaghetti ทำให้เกิดรูปพหูพจน์ ๒ รูป คือ tempi และ tempos ส่วน macaroni และ e e e 3 e 3 e Ω

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=