2708_9895
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สมาทปนา การสอนให้ถือปฏิบัติตามได้ ๓) สมุตเตชนา การสอนให้ อาจหาญ และ ๔) สัมปหังสนา การสอนให้ร่าเริงเบิกบาน พระพุทธเจ้า ทรงเตรียมพระองค์เพื่อการเป็นครูมานานและทรงทำการบ้านเพื่อการสอน ทรงมีวิธีการสอนที่เข้าถึงผู้เรียนหรือทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจคำสอนและ ถือปฏิบัติตามได้ ในอรรถกถาทีฆนิกายกล่าวถึงพุทธกิจ ๕ ประการ คือ ๑) ปุเรภัตตกิจ พุทธกิจที่ทรงทำก่อนพระกระยาหารเช้า ๒) ปัจฉาภัตตกิจ พุทธกิจที่ทรงทำ หลังพระกระยาหารเช้า ๓) ปฐมยามกิจ พุทธกิจที่ทรงทำในช่วงปฐมยาม ๔) มัชฌิมยามกิจ พุทธกิจที่ทรงทำในช่วงมัชฌิมยาม ๕) ปัจฉิมยามกิจ พุทธ- กิจที่ทรงทำในช่วงปัจฉิมยาม พุทธกิจ ๕ ประการนี้ แบ่งเป็น ๒ ตอนใหญ่ คือ พุทธกิจตอนกลางวัน กับ พุทธกิจตอนกลางคืน พุทธกิจตอนกลางวัน มี ๓ ภาค แต่ละภาคกินเวลาภาคละ ๔ ชั่วโมง ภาคที่ ๑ ตั้งแต่ ๖.๐๐–๑๐.๐๐ น. พระพุทธเจ้าทรงเริ่มพุทธกิจนี้ตั้งแต่เสด็จ ออกบิณฑบาตจนถึงเสวยพระกระยาหารเช้าในที่ที่เสด็จบิณฑบาต แล้วทรง แสดงธรรมโปรด ภาคที่ ๒ ตั้งแต่ ๑๐.๐๐–๑๔.๐๐ น. ทรงใช้ช่วงเวลานี้ ตรวจดูสัตว์โลก และภาคที่ ๓ ตั้งแต่ ๑๔.๐๐–๑๘.๐๐ น. ทรงเริ่มพุทธกิจนี้ ตั้งแต่เวลาไปนั่งบนอาสนะที่จัดถวายไว้ที่พระคันธกุฎีแล้วล้างพระบาท แล้ว ทรงยืนบนตั่งรองพระบาท ตรัสสอนพระสาวกครอบคลุมพุทธกิจที่ทรงทำไป ถึงเวลาเย็น ส่วนพุทธกิจตอนกลางคืน มี ๓ ยาม แต่ละยามกินเวลายามละ ๔ ชั่วโมง ยามแรกตั้งแต่ ๑๘.๐๐–๒๒.๐๐ น. พุทธกิจที่ทรงบำเพ็ญในยามแรก เริ่มหลังจากกลับจากธรรมสภาเข้าไปในพระคันธกุฎี ยามกลางตั้งแต่ ๒๒.๐๐–๒.๐๐ น. เป็นการโปรดเทวดา เริ่มจากพระสาวกทูลกลับไปหมด แล้ว และยามสุดท้ายตั้งแต่ ๒.๐๐–๖.๐๐ น. แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ ทรงใช้ในการเดินจงกรมเพื่อขจัดความเหนื่อยล้าของพระวรกาย ส่วนที่ ๒ เป็นเวลาบรรทมในพระคันธกุฎีโดยบรรทมตะแคงขวาแบบสีหไสยาอย่างมี สติสัมปชัญญะ และส่วนที่ ๓ ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายหลังจากตื่นบรรทมแล้วก็ ทรงใช้เวลาไปในการตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ๏ วันพุธที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ. ดร.ผลิน ภู่จรูญ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การพัฒนาผู้นำตัว จริงเพื่อรับมือพลวัตการเปลี่ยนแปลง (Developing the Authentic Leader to Cope with Dynamic Change) ความโดยสรุปว่า ผู้นำเป็น หนึ่งในองค์ประกอบที่มีนัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ องค์การ หรือ กลุ่มคนให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นบุคคลที่มีอำนาจในการ ตัดสินใจและมีอิทธิพลในการสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนมุ่งมั่นร่วมมือร่วมใจกัน ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใน ทศวรรษที่ผ่านมาบทบาทของผู้นำมีความสำคัญมากขึ้นโดยเฉพาะการขับ เคลื่อนองค์กรด้วยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ช่วยผลักดันและ กระตุ้นให้พนักงานเกิดแรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรม ในปัจจุบันสภาพ แวดล้อมทุกมิติมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง หากผู้นำไม่ สามารถเข้าถึงและคาดการณ์ได้ถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์นั้น ๆ ที่ อาจส่งผลกระทบต่อองค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม ความเสียหายที่จะเกิด ขึ้นอาจมากเกินกว่าที่จะรับมือได้หรือแก้ไขได้ ในทางกลับกันหากองค์การ ใดมีผู้นำที่มีความสามารถเข้าใจถึงองค์ประกอบหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงและสามารถสร้างโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ได้ ก็จะ ส่งผลให้องค์การหรือประเทศสามารถพัฒนาความได้เปรียบในการแข่งขัน ได้เหนือกว่าคู่แข่งอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้นำตัวจริงมีคุณลักษณะสำคัญ คือ มีความกล้าและพร้อมที่จะต่อสู้ อย่างโดดเดี่ยวได้เป็นอย่างดี พร้อมที่จะเผชิญกับทุกเรื่องในขณะเดียวกัน โดยไม่เคยคิดจะหลีกหนีอุปสรรคที่ขวางหน้า มีอุดมการณ์โดยตั้งอยู่พื้นฐาน ของหลักความสัตย์จริงและความถูกต้องตามหลักคุณธรรม มีชีวิตอยู่เพื่อ คนอื่นและมีเหตุผลที่จะอยู่ด้วยวัตถุประสงค์ที่ยิ่งใหญ่ และนำผู้อื่นด้วยจิตใจ ที่ดีและหัวใจที่ยิ่งใหญ่ การพัฒนาผู้นำตัวจริงเป็นกระบวนการพัฒนาความ สามารถทางจิตวิทยาในเชิงบวกไปพร้อมกับการพัฒนาความสามารถในการ จัดการองค์การในบริบทร่วมสมัยจึงมีความเป็นพลวัตสูง ทั้งนี้มุ่งสร้างให้เกิด การพัฒนาความระวังระไว ความรอบรู้ และเป็นการพัฒนาพฤติกรรมบน พื้นฐานของความมีระเบียบวินัย กรอบแนวคิดการพัฒนาผู้นำตัวจริงในการนำองค์การก้าวข้ามผ่าน พลวัตการแข่งขัน คือ ผู้นำตัวจริงต้องสามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงและขับ เคลื่อนองค์การให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ลงตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต้องมีความสามารถในการเรียงลำดับความสำคัญของงานที่ต้องทำและต้อง รู้ว่าสิ่งใดเหมาะสมกับองค์การมากที่สุด ต้องมีความสามารถในการจุด ประกายความคิดและปลุกพลังการต่อสู้ของผู้ใต้บังคับบัญชาให้สามารถ เชื่อมโยงความคิด ความสามารถ สร้างเครือข่ายที่ทำให้เกิดความร่วมมือที่ ดีระหว่างกัน และมีคุณสมบัติในการสร้างวัฒนธรรมองค์การที่เน้นการสร้าง นวัตกรรมและความซื่อตรง ผู้นำตัวจริงเป็นหนึ่งในทางออกสำคัญที่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภาย ใต้เงื่อนไขที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น คุณสมบัติสำคัญของผู้นำตัวจริงที่ให้ ความสำคัญกับประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ในขณะที่ตนเองมีพลังใน การก้าวไปข้างหน้าด้วยประกายทางความคิดและพลังที่เกิดขึ้นจากภายใน ตนเอง สามารถจุดประกายทางความคิดผู้อื่นรอบข้างให้ทำงานอย่างทุ่มเท เพื่อวัตถุประสงค์ในการบรรลุผลงานที่เยี่ยมยอดภายใต้การมีเหตุผลที่จะมี ชีวิตอยู่ที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม จะส่งผลให้ผลงาน ที่เกิดขึ้นสร้างความสุขและความสำเร็จต่อมวลมนุษยชาติ ซึ่งเหล่านี้คือ ภารกิจของผู้นำตัวจริงที่ทุกสังคมควรให้ความสำคัญอย่างมากในการพัฒนา อย่างจริงจัง สำนักวิทยาศาสตร์ ๏ วันพุธที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕ นายนิพนธ์ ทรายเพชร ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ดาวศุกร์ผ่าน หน้าดวงอาทิตย์ ความโดยสรุปว่า ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวง อาทิตย์เกิดขึ้นเมื่อดาวศุกร์อยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก โดยอยู่บนเส้น ตรงที่ต่อระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก เป็นจังหวะที่ดาวศุกร์กำลังผ่านจุด โหนดลง หรือกำลังผ่านจุดโหนดขึ้น เกิดเป็นคู่ห่างกัน ๘ ปี (หย่อน ๒.๔๕ วัน) ภายหลังเกิดครั้งที่ ๒ ของคู่ที่เกิดขณะดาวศุกร์ผ่านจุดโหนดลง (เกิด ขณะโลกอยู่ ณ เดือนมิถุนายน) จะเว้นระยะเวลานานประมาณ ๑๒๑.๕ ปี จึงจะเกิดคู่ต่อไปซึ่งเกิดขณะดาวศุกร์ผ่านจุดโหนดขึ้นและโลกอยู่ในตำแหน่ง เดือนธันวาคม ช่วงระยะเวลาระหว่างครั้งที่ ๒ ของคู่ที่เกิดในเดือนธันวาคม กับครั้งที่ ๑ ของคู่ที่เกิดในเดือนมิถุนายนยาวนาน ๑๐๕.๕ ปี ครั้งที่แล้วเกิด ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ขณะดาวศุกร์ผ่านจุดโหนดลง และเป็นครั้งที่ ๑ ของคู่ ๘ ปี ดาวศุกร์ผ่าน หน้าดวงอาทิตย์ในวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นครั้งที่ ๒ ของคู่ที่เกิด ในเดือนมิถุนายน ดังนั้นครั้งต่อไปจะเกิดในวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๖๖๐ และวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๖๖๘ ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ มี ลำดับเวลาของการเกิดคือ ๑. ดาวศุกร์สัมผัสดวงอาทิตย์ ครั้งที่ ๑ เวลา ๐๕:๐๙:๔๒ น. ๒. ดาวศุกร์สัมผัสดวงอาทิตย์ ครั้งที่ ๒ เวลา ๐๕:๒๗:๓๐ น. ๓. กึ่งกลางของการเกิด เวลา ๐๘:๒๙:๓๗ น. ๔. ดาวศุกร์สัมผัสดวงอาทิตย์ ครั้งที่ ๓ เวลา ๑๑:๓๐:๔๔ น. ๕. ดาวศุกร์สัมผัสดวงอาทิตย์ ครั้งที่ ๔ เวลา ๑๑:๔๙:๓๒ น.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=