2708_9895
3 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๒ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ๏ วันพุธที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง การปรับตัวเข้ากับ ยุคโลกาภิวัตน์และการเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ความโดย สรุปว่า ความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการสื่อสารส่งผล กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญคือ การเข้า ถึงข้อมูลข่าวสารและความรู้ กระบวนการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกอันเป็น ผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ มีขั้นตอน คือ สังคมมนุษย์เป็นสังคมที่ ประกอบด้วยคลื่น ๓ ลูก ได้แก่ ลูกที่ ๑ คือ สังคมเกษตร ลูกที่ ๒ คือ สังคมอุตสาหกรรม และลูกที่ ๓ คือ สังคมข้อมูลข่าวสาร คนบางกลุ่มอยู่ ในคลื่นลูกที่ ๒ หรือในคลื่นลูกที่ ๓ แต่กลับมีค่านิยมที่ยังมีลักษณะ อนุรักษนิยม เชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ แต่คนบางส่วนในคลื่นลูกที่ ๑ หรือในคลื่นลูกที่ ๒ กลับเป็นผู้ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารจนเกิด ความตื่นตัวทางการเมือง นอกจากนี้ ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในคลื่นลูกที่ ๑ เป็นกลุ่มที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องโดยตรงกับสังคมแบบดั้งเดิม เนื่องจาก ความได้เปรียบในความสัมพันธ์ทางอำนาจ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และ สถานะทางสังคม ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมที่กำลังพัฒนาและนำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมือง ชนชั้นล่างของสังคมจำนวนไม่ น้อยมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจนเกิดความตื่นตัวทางการเมืองในเรื่อง สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทำให้วัฒนธรรม การเมืองแบบมีส่วนร่วมมีสัดส่วนสูงขึ้น นอกจากนี้ ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนกำลังถูกท้าทายจาก ประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงมากขึ้น นำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงทางสังคมและความตื่นตัวทางการเมือง การปรับตัวเข้ากับ กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและการเปลี่ยนแปลงภายในประเทศเป็น ประเด็นสำคัญที่สุด เป็นระบบการเมืองแบบเปิดคือ ประชาชนมีสิทธิ แสดงออกด้วยการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและมีส่วนร่วมทางการเมืองใน ภาคประชาชน ระบบการบริหารที่อำนาจส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจำเป็น จะต้องกระจายอำนาจให้มีการปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างแท้จริง หน่วยการ ปกครองย่อยต้องรวมกันเป็นกลุ่ม การปกครองส่วนท้องถิ่นไม่จำกัดเฉพาะ หน่วยที่เป็นจังหวัด แต่อาจเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีจังหวัดใหญ่เป็นศูนย์กลาง เป็นหน่วยการปกครองที่มีขนาดใหญ่ขึ้น พื้นที่ที่ภูมิรัฐศาสตร์และภูมิ เศรษฐศาสตร์มีลักษณะพิเศษกว่าที่อื่นอาจต้องให้มีการปกครองบริหารใน รูปแบบที่แตกต่างกัน ระบบราชการหรือการบริหารภาครัฐทั้งในแง่ กระบวนการรับสมัคร คัดเลือกบุคลากร การจัดโครงสร้างการบริหาร องค์ ความรู้ทางวิทยาการของเจ้าหน้าที่ กฎหมายกฎระเบียบต่าง ๆ ล้าหลัง ไม่ทันเหตุการณ์ แม้จะพยายามปฏิรูประบบราชการ แต่ลักษณะของ ข้าราชการและหน่วยงานของภาครัฐมีที่มาจากสังคมคลื่นลูกที่ ๑ มีลักษณะ องค์กรที่ตามไม่ทันเหตุการณ์ ขาดองค์ความรู้ การประสานงาน และ จิตสำนึก สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอของการปกครองส่วนท้องถิ่นและ กลไกลทางการเมืองระดับชาติ ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ รายได้มวลรวมประชาชาติมาจากการส่ง ออกสินค้าอุตสาหกรรมถึงร้อยละ ๗๐ ขณะที่การลงทุนใช้จ่ายภายในมี เพียงร้อยละ ๓๐ ดังนั้น หากเกิดวิกฤติ หรือเกิดปัญหาภายในจนไม่สามารถ ผลิตและส่งสินค้าออกได้ตามปกติ วิกฤติเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองจะ ตามมาทันทีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของ ไทยต้องพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศจนไม่เป็นตัวของตัวเอง การกระจาย รายได้และความเจริญทางเศรษฐกิจกระจุกตัวอยู่ ความเหลื่อมล้ำระหว่าง คนรวยกับคนจน ช่องว่างระหว่างนครกับชนบท ทำให้เกิดสภาวะการรวย กระจุกจนกระจาย นโยบายการแจกแจงรายได้ล้มเหลว ไม่มีการเก็บภาษี ทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน และภาษีมรดกซึ่งเป็นภาษีทางตรง ทั้งยังเสียดุล ระหว่างภูมิภาคอีกด้วย เป็นสาเหตุสำคัญของความไม่พอใจทางการเมือง การพัฒนาที่เสียดุลคือการพัฒนาที่ไม่สมบูรณ์ การปฏิรูปประเทศไทยต้อง เริ่มต้นจากการตระหนักถึงปัญหาการพัฒนาอย่างเสียดุลระหว่างภูมิภาค ต่าง ๆ และช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน การรวยกระจุกจนกระจาย เป็นตัวแปรสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาธนาธิปไตย ทำให้กลุ่มที่มีอำนาจเงิน ครองอำนาจรัฐอย่างต่อเนื่องและมีนโยบายการพัฒนาประเทศที่เอื้ออำนวย ประโยชน์ต่อกลุ่มของตน ในด้านการศึกษา แม้จะมีการขยายโรงเรียนอย่างกว้างขวางและมี มหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แต่ระบบการเรียนการสอนยังไม่ ทำให้คุณภาพการศึกษาเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่มุ่งเรียนเพื่อให้ได้วุฒิการศึกษา มากกว่าความรู้ที่แท้จริง ระบบการสอนและการวัดผลยังไม่สามารถตามทัน การเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลกได้ การไม่รู้ภาษาอังกฤษกลายเป็น ปัญหาในการรับรู้ข่าวสารข้อมูลจากเว็บไซต์ และจะเด่นชัดยิ่งขึ้นเมื่อไทยจะ เข้าเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีก ๔ ปีข้างหน้า ด้านวัฒนธรรม วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมคละ มีวัฒนธรรมหลัก คือ วัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมอินเดีย วัฒนธรรมจีน วัฒนธรรมตะวัน ตก วัฒนธรรมเขมร และวัฒนธรรมลาว ส่วนที่เป็นบวกและมีผลต่อการอยู่ ร่วมกันโดยสันติคือ คนไทยมีเมตตา เอื้ออารี มีน้ำใจ สงสารผู้อื่น แต่ขี้ อิจฉา จนทำให้ความเจริญเติบโตของทั้งองค์กรดำเนินไปด้วยความยาก ลำบาก ปัญหาสำคัญขณะนี้คือ ทรัพยากรธรรมชาติลดลง ป่าถูกทำลาย แม่น้ำลำคลองมีปัญหามลภาวะ และตัวแปรอื่นคือ สภาวะโลกร้อนและ สภาวะเรือนกระจก ดังนั้น เมื่อสังคมโลกกำลังเปลี่ยนแปลงจากกระแส โลกาภิวัตน์ ประเทศไทยจึงต้องตระหนักและเตรียมพร้อมรับการ เปลี่ยนแปลงด้วยการปรับตัวในโครงสร้างต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง การ บริหาร เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การศึกษา สังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้ไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพที่จะเป็นมหาอำนาจขนาดกลางได้ใน ภูมิภาคนี้ ๏ วันพุธที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ผศ. ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ครู กับ ภารกิจของครู ที่พบได้ในพระพุทธเจ้า ความโดยสรุปว่า ตลอดพระชนม์ ชีพพระพุทธเจ้าทรงทำหน้าที่สอนธรรมซึ่งได้มาด้วยการตรัสรู้ แล้วนำมา บัญญัติและจำแนกให้เหมาะแก่อุปนิสัยของผู้ฟัง ทรงเริ่มต้นงานสอนเมื่อ ตอนใกล้รุ่งด้วยการตรวจดูอุปนิสัยของผู้ที่พระองค์สอนอย่างละเอียด ทรงมี ศักยภาพในการแสดงออกทำให้ผู้ที่ทรงสอนเกิดความเชื่อมั่น การสอนของ พระองค์จึงดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง กล้าหาญ ต่อเนื่อง มีการกำหนดเป้า หมายอย่างชัดเจน และมีผลสำเร็จที่สามารถประเมินได้อย่างเป็นรูปธรรม นักวิชาการพระพุทธศาสนาได้นำการสอนของพระพุทธเจ้ามาสรุปเป็นหลัก การการสอน ๔ ประการ คือ ๑) สันทัสสนา การสอนให้เข้าใจแจ่มแจ้งและ ถูกต้องทั้งด้านเนื้อหา เหตุผล วิธีการปฏิบัติ และผลที่คาดหวัง ๒)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=