2707_9703
8 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ ๑๘๖/๒๕๕๐ ไปรษณีย์ดุสิต ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เพื่อเผยแพร่งานวิชาการ ข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถาน จัดทำโดย บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริการวิชาการ ราชบัณฑิตยสถาน นางสาวบุญธรรม กรานทอง พิมพ์ที่ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด ๓๐๗ ซอยลาดพร้าว ๘๗ วังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ โทรสาร ๐ ๒๕๓๙ ๒๕๑๒, ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๙ นางทิพาภรณ์ ธารีเกษ นางสาวพัชนะ บุญประดิษฐ์ นางสาวอารี พลดี นางสาวปิยรัตน์ อินทร์อ่อน นางสาวกระลำภักษ์ แพรกทอง ‰ ¢ ª— ≠ À “ ¿ “ … “ ‰ ∑ ¬ นางกนกวรรณ ทองตะโก นางสาวกุลศิรินทร์ นาคไพจิตร นางพรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ นายอาคม คงทน นายอภิเดช บุญสงค์ ถาม ตามความหมายทางภูมิศาสตร์ ปรากฏการณ์เรือนกระจก หรือ greenhouse effect และ การผันแปรภูมิอากาศ หรือ climatic change มีลักษณะอย่างไร ตอบ ปรากฏการณ์เรือนกระจก หรือ greenhouse effect ในทาง ภูมิศาสตร์ ปรากฏการณ์เรือนกระจกเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่ทำให้บรรยากาศของโลกอบอุ่นอยู่ได้ เกิดจากไอน้ำและก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่ในบรรยากาศโลกดูดซึมรังสีความร้อนที่โลก แผ่ออกทุกความยาวคลื่น ยกเว้นช่วงความยาวคลื่น ๘.๔-๑๔ ไมครอน ซึ่งคลื่นความร้อนสามารถผ่านบรรยากาศโลกออกไปได้ในคืนวันท้องฟ้า แจ่มใส ปรากฏการณ์การดูดซึมความร้อนของบรรยากาศเช่นนี้เปรียบ ได้กับอุณหภูมิในเรือนต้นไม้ที่บุหลังคาและฝาด้วยแผ่นกระจกในประเทศ หนาว รังสีดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นรังสีคลื่นสั้นสามารถผ่านกระจกเข้าไปได้ ถูกต้นไม้และพื้นดินดูดซึมไว้ และเมื่อพื้นดินและต้นไม้เรือนกระจกแผ่ รังสีคลื่นยาวซึ่งเป็นรังสีความร้อนออกไป รังสีความร้อนผ่านกระจก ออกมาไม่ได้ เนื่องจากกระจกมีสมบัติเป็นฉนวนความร้อน ด้วยเหตุนี้จึง ทำให้อุณหภูมิภายในเรือนกระจกอบอุ่นกว่าอุณหภูมิภายนอก ในปัจจุบัน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมเกรงว่าอุณหภูมิในเมืองใหญ่ ๆ และย่าน อุตสาหกรรมจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งก็จะ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโลกโดยส่วนรวมด้วย ส่วน การผันแปรภูมิอากาศ หรือ climatic change ในทาง ภูมิศาสตร์หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสมบัติของอากาศอย่างช้า ๆ ตาม กาลเวลาและสถานที่ โดยอาจเห็นได้จากหลักฐานทางธรณีวิทยาใน ช่วงเวลายาวนาน หรือการเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิประเทศในช่วง เวลาปานกลาง และการเปลี่ยนแปลงของพืชพรรณในช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น เมื่อเกิดฝนแล้ง การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอาจสังเกตได้โดย ใช้เครื่องมือวัดที่มีความถูกต้องแม่นยำ เช่น ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๓- ๒๔๘๓ พบว่ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ และอุณหภูมิก็สูงขึ้น ๑ องศาเซลเซียส ถาม คำว่า คู่กรณี, คู่ความ, คู่ความร่วม และ คู่พิพาท มีความหมาย อย่างไร ตอบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุความหมายของ คำต่าง ๆ ไว้ดังนี้ คำว่า คู่กรณี เป็นคำนาม หมายถึง ผู้ที่เกิดพิพาทกัน แต่ถ้าคำนี้ใช้ในทางกฎหมายจะหมายถึง บุคคล ๒ ฝ่ายซึ่งมีส่วนเกี่ยว พันกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คำว่า คู่ความ เป็นคำนามที่ใช้ในทาง กฎหมาย มีความหมายว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล และ หมายความรวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตาม กฎหมายหรือในฐานะทนายความ คำว่า คู่ความร่วม หมายถึง บุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือ จำเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี คำว่า คู่พิพาท เป็นคำนามที่ใช้ในทางกฎหมาย มีความหมายใกล้เคียง กับคำว่า คู่กรณี ซึ่งหมายถึง บุคคล ๒ ฝ่ายซึ่งมีกรณีโต้แย้งกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=