2707_9703

7 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๑ เดือนเมษายน ๒๕๕๕ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ยังมีตำนานเรื่องน้ำท่วมโลกจากที่ต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งบางเรื่องก็ คล้ายคลึงกัน แต่บางเรื่องก็แตกต่างกันไปในรายละเอียด แสดงว่าปรากฏการณ์ ธรรมชาตินี้มีลักษณะที่เป็นสากล ที่คล้ายคลึงกันอาจเป็นได้ใน ๒ กรณีคือ เกิด จากการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมโดยสภาพทางภูมิศาสตร์เอื้ออำนวยคือมีเขตแดน ติดต่อกัน หรือมีการค้าขาย การทำสงครามซึ่งกันและกัน หรืออาจเกิดจากชาติ ต่าง ๆ สร้างตำนานของตนเองขึ้นมาเหตุที่คล้ายคลึงกันได้แม้จะอยู่ห่างไกลหรือ ไม่มีการติดต่อกันเป็นเพราะสภาพความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมคล้ายคลึงกัน มี ปรากฏการณ์ธรรมชาติแบบเดียวกันทั่วโลก อีกทั้งเมืองส่วนใหญ่จะตั้งอยู่บนฝั่ง แม่น้ำ ก็จะเกิดน้ำท่วมได้ ซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตน้ำที่ท่วมนั้นอาจเป็นในระดับที่กว้าง ขวางมาก คือท่วมหมดทั้งโลกทีเดียว ตำนานส่วนใหญ่มักกล่าวว่าน้ำท่วมโลกเพราะพระเจ้าลงโทษมนุษย์ที่ทำตัว ชั่วร้าย สิ่งที่กำลังเกิดในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นว่า การแปรปรวนของ ธรรมชาติ เช่น การที่ดินฟ้าอากาศไม่เป็นไปตามฤดูกาล ภาวะโลกร้อนซึ่งทำให้ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ล้วนแล้วแต่เกิดจากฝีมือ มนุษย์ทั้งสิ้น ตอนนี้ธรรมชาติจึงเอาคืนบ้าง อุทกภัยคราวนี้อาจไม่รุนแรงและ ยาวนาน ความเสียหายทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน แหล่งผลิต อาหาร โรงงานอุตสาหกรรม โบราณสถานต่าง ๆ เศรษฐกิจและความน่าเชื่อถือ ของประเทศคงไม่ได้รับความเสียหายเท่าที่เป็นอยู่ หากมีการวางแผนป้องกันล่วง หน้า มีข้อมูลที่ถูกต้องที่จะรายงานให้สาธารณชนได้รับรู้ ผู้รับผิดชอบทุกระดับ ทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่และจริงใจ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ของตนและพวกพ้อง ไม่ปัดความรับผิดชอบโยนความผิดให้ผู้อื่น คนในชาติสามัคคีกันไม่เห็นแก่ตัว เพื่อกอบกู้ให้ประเทศของเรากลับเป็นประเทศที่น่าอยู่ในสายตาของคนไทยและคน ต่างชาติอีกครั้งหนึ่งโดยเร็วที่สุด ๏ วันอังคารที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ รศ. ดร.นววรรณ พันธุเมธา ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง คำเกี่ยวกับการวัด ในภาษาไทย-ไท ความโดยสรุปว่า ความคล้ายคลึงกันระหว่างคำเกี่ยวกับการวัด ของภาษาไทยและภาษาในตระกูลไทที่พูดกันนอกประเทศไทย เช่น ภาษาจ้วงใต้ ภาษาไทขาว ภาษาไทเมืองเติ๊ก ภาษาลาว ภาษาไทใหญ่ ภาษาไทพ่าเก่ ภาษา ไทเหนือ มี ๒ ประเด็น ได้แก่ ๑. การใช้ชื่ออวัยวะและคำกริยาแสดงอาการของอวัยวะเป็นหน่วยวัด ๑.๑ การวัดสั้นยาว - หน่วยวัดในมาตราวัดของภาษาในตระกูลภาษาไทที่ตรงกับภาษาไทย ได้แก่ คำว่า นิ้ว ศอก คืบ และวา เช่น คำว่า นิ้ว ภาษาลาว ใช้ว่า นี่ว ภาษาไท ใหญ่และภาษาไทพ่าเก่ ใช้ว่า นิ่ว คำว่า ศอก ภาษาไทขาว ใช้ว่า ซ้อก ภาษาไท เมืองเติ๊ก ใช้ว่า สอก ภาษาลาว ใช้ว่า ซอก ภาษาไทใหญ่และภาษาไทเหนือ ใช้ ว่า สอก คำว่า คืบ ภาษาไทขาว ใช้ว่า ฃึบ ภาษาไทเมืองเติ๊ก ใช้ว่า คึบ ภาษา ลาว ใช้ว่า คืบ ภาษาไทเหนือและภาษาไทพ่าเก่ ใช้ว่า คึ่บ คำว่า วา ภาษาไท ขาว ใช้ว่า วา ภาษาไทเมืองเติ๊ก ภาษาลาว ภาษาไทเหนือและภาษาไทพ่าเก่ ใช้ ว่า ว้า - หน่วยวัดอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในมาตราวัดสั้นยาวของภาษาในตระกูล ภาษาไทที่ตรงกับภาษาไทย เช่น ศอกกำ กำ อ้อม แขน คำว่า ศอกกำ ภาษาลาว ใช้ว่า ซอกก่ำ คำว่า กำ ภาษาลาว ใช้ว่า กำ ภาษาไทเมืองเติ๊กและภาษาไทใหญ่ ใช้ว่า ก๋ำ หมายถึงความยาวช่วงกำมือหนึ่ง คนไทเมืองเติ๊กบอกว่าเขาวัด วัว ควาย หมู่ ตู้ โต๊ะ ฯลฯ เป็นก๋ำ ถ้ากำมือโดยยื่นหัวแม่มือออก ภาษาลาวเรียก กำโย่ ภาษาไทเมืองเติ๊กและภาษาไทใหญ่ เรียก ก๋ำตั้ง คำว่า อ้อม ภาษาไทขาว ใช้ว่า อ๋อม ภาษาไทเมืองเติ๊ก ใช้ว่า อ้อม หรือ เอิ้ม นอกจากนี้ ภาษาไทยถิ่นเหนือใช้คำว่า อก เป็นหน่วยวัด ภาษาไทเหนือ ใช้ว่า อ้า ภาษาไทเมืองเติ๊กมีคำว่า แขน หมายถึง แขน และระยะความยาวจาก ปลายนิ้วถึงต้นแขน คำว่า แขน นี้ในสมัยก่อนไทยอาจเคยใช้เป็นหน่วยวัดก็ได้ เพราะพบในวรรณคดีบางเรื่อง ๑.๒ การวัดปริมาณ หน่วยวัดของภาษาในตระกูลภาษาไทที่ตรงกับภาษาไทย ได้แก่ คำว่า กำ กอบ คำว่า กำ ภาษาจ้วงใต้ ใช้ว่า ก้ำ ภาษาไทขาวและภาษาลาว ใช้ว่า ก่ำ ภาษาไทยเหนือ ใช้ว่า กำ คำว่า กอบ ภาษาจ้วงใต้ ใช้ว่า ก้อบ ภาษาไทขาว ใช้ ว่า ก๊อบ ภาษาลาว ใช้ว่า เก้บ, ก้อบ ภาษาไทเหนือและภาษาไทพ่าเก่ ใช้ว่า กอบ คำว่า ฟาย ภาษาจ้วงใต้ ใช้ว่า ฝาย ภาษาไทขาวและภาษาลาว ใช้ว่า ฟาย นอกจากนั้น ยังมีคำว่า หยิบ ภาษาลาว ใช้ว่า ยิบ ภาษาไทเหนือ ใช้ว่า ยิ๋บ และ แง่ว ภาษาไทพ่าเก่ ใช้ว่า ยิบ และ ยุบ ๒. การใช้คำว่าชั่ว ในการแสดงระยะเวลา ความยาว และระยะทาง คำว่า ชั่ว ในภาษาไทย ภาษาจ้วงใต้ ใช้ว่า ตฺซิว ภาษาไทขาว ใช้ว่า โจ ภาษาไทเมือง เติ๊ก ใช้ว่า จัว ภาษาลาว ใช้ว่า ซัว ภาษาไทใหญ่ ใช้ว่า โจ้ ภาษาไทเหนือ ใช้ว่า โตฺส ภาษาไทพ่าเก่ ใช้ว่า โจ่ นอกจากนี้ ภาษาไทยังใช้คำว่า ชั่ว ประสมกับคำอื่นเพื่อแสดงระยะเวลา ความยาว ความลึก หรือระยะทาง เช่น ภาษาไทขาว ใช้ว่า โจแซ่น หมายถึง ชั่ว แขน ภาษาไทเมืองเติ๊ก ใช้ว่า จัวฮั้ว หมายถึง ชั่วไม้ราวรั้ว ภาษาไทเหนือ ใช้ว่า โตฺซก๊น หมายถึง ชั่วคน ดร.ชลิตภากร วีรพลิน ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง แนวทางการพัฒนา พื้นที่ภาคเหนือ ความโดยสรุปว่า แนวทางการพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือ มีการใช้ ยุทธศาสตร์ดังนี้ - ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือที่ยั่งยืน ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่าง ยั่งยืน การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน - ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดบูรณาการ โดยแบ่งการพัฒนาตามกลุ่ม จังหวัดบูรณาการเป็น ๒ กลุ่ม คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มล้านนา (Lanna Links Global Reach) และยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง มีประเด็นท้าทายด้านการพัฒนา บทบาทหน้าที่พัฒนาสินค้าและบริการ วิสัยทัศน์ ประตูการค้าสู่โลก โดดเด่นวัฒนธรรม สุนทรีน่าอยู่ทุกถิ่นที่ ตลอดจนแนวคิด ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มล้านนา เปิดประตูเชื่อมโยงล้านนากับเศรษฐกิจโลก มุ่ง การพัฒนาเชิงรุก สร้างความได้เปรียบมูลค่าเพิ่ม กระจายรายได้อย่างเป็นธรรม นำผลงานวิจัยและพัฒนามาใช้ในกระบวนการผลิตเชื่อมโยงธุรกิจหลักกับธุรกิจ การท่องเที่ยว - ยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขัน มีการ ปรับโครงสร้างการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เพื่อเพิ่ม ผลผลิตแทนการเพิ่มการใช้ปัจจัยการผลิต ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงกิจกรรมในภาค เกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ - ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริการจัดการ มีการบริการจัดการแบบบูรณา การภาคเหนือของแต่ละจังหวัดตามราคาประจำปี จำแนกตามภาคและจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๒ ทำให้ทราบว่า มูลค่าผลิตภัณฑ์เป็นหัวใจสำคัญในการวางแผน ผังเมือง โดยเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด ประชากรและรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=