2707_9703
5 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๑ เดือนเมษายน ๒๕๕๕ อาสาในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) (๔) ทรงงานทางการ เกษตรและการพัฒนา เช่น การใช้วิทยุสื่อสารในการประสานงานเพื่อทำฝนเทียม หรือฝนหลวงพระราชทาน (๕) โครงการการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่าน ดาวเทียม มีโรงเรียนไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นศูนย์กลาง เผยแพร่ ภาพและสัญญาณไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ดำเนินงานโดยมูลนิธิการ ศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมให้แก่โรงเรียนจำนวน ๓,๐๐๐ โรงเรียนทั่วประเทศ (๖) ทรงงานและสื่อสารกับบุคคลต่าง ๆ มีโครงข่ายเชื่อมต่อ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานต่าง ๆ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ถวาย โทรพิมพ์รายงานข่าวที่สำคัญหรือเหตุภัยพิบัติที่ทำให้ประชาชนได้รับความเดือด ร้อนเสียหายผ่านเครื่องโทรพิมพ์ที่ติดตั้งไว้ที่พระตำหนักได้โดยตรง ทุกโอกาส อย่างรวดเร็ว จนทำให้ทรงสามารถสั่งการแก้ไขช่วยเหลือบรรเทาภัยพิบัติและ ความเดือดร้อนแก่ประชาชนได้ทันการณ์ นอกจากนี้ ทรงสนพระราชหฤทัยศึกษา หาความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของระบบเครื่องมืออุปกรณ์และเทคนิคการ ตรวจซ่อมเครื่องมือสื่อสารและโทรคมนาคม โปรดที่จะทำความสะอาดและ ซ่อมแซมอุปกรณ์ด้วยพระองค์เอง รวมทั้งทรงค้นคว้าวิทยาการคอมพิวเตอร์ คิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ประดิษฐ์รูป แบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงาม และติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ เพื่อ สนับสนุนในการประกอบพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ด้วย จากพระราชกรณียกิจที่ กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำพระอัจฉริยภาพ ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ “เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาว สยาม” อย่างแท้จริง สำนักวิทยาศาสตร์ ๏ วันพุธที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง สาขาวิชา พหุ และ สหวิทยาการ ความโดยสรุปว่า ปัญหาของสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น, ชาติ, ภูมิภาค และนานาชาติในปัจจุบัน มีความยุ่งยากมากขึ้น การนำความรู้มา แก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากจำนวนมาก จำเป็นต้องอาศัยความรู้ที่เป็นพหุ/สหวิทยาการ (multi/inter disciplinary) มหาวิทยาลัยชั้นนำในยุโรป, สรอ., ออสเตรเลีย, ฯลฯ ได้พัฒนาการเรียนการสอน และการวิจัยที่เป็นพหุ/สหวิทยาการมากขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งหนึ่งในอังกฤษได้กำหนดการสอนและการวิจัย สหวิทยาการให้เป็นพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย สาขาวิชาพหุวิทยาการ (multi-disciplinary) หมายถึงสาขาวิชาที่นำ ๒ สาขาวิชาหลักขึ้นไป ในคณะวิชาเดียวกันมาบูรณการเข้าด้วยกัน เช่น ชีวเคมี, วิทยาศาสตร์ระบบโลกในคณะวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, เมกะทรอนิกส์ในคณะ วิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสหวิทยาการ (inter-disciplinary) หมายถึงสาขาวิชาที่นำสาขา วิชาหลักจาก ๒ คณะวิชาขึ้นไป มาบูรณาการเข้าด้วยกัน เช่น เทคโนโลยีสิ่ง แวดล้อม จากสาขาวิชาในคณะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิศวกรรมศาสตร์ และ สังคมศาสตร์, วิศวกรรมชีวภาพ จากสาขาวิชาในคณะวิชาแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรที่บูรณาการทั้งมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ได้แก่ หลักสูตรศิลปวิทยาศาสตร์ (liberal arts) สรอ. ได้ พัฒนาวิทยาลัยศิลปวิทยาศาสตร์มานาน จึงมีวิทยาลัยศิลปวิทยาศาสตร์ชั้นนำ ของโลกหลายแห่ง เช่น วิทยาลัย William, Amhurst, Pomona, Harvey Mud จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยเปิดสอน หลักสูตรในลักษณะศิลปวิทยาศาสตร์มาแล้ว ในประเทศไทย ปัจจุบัน คณะ ศิลปวิทยาศาสตร์ มีอยู่ในมหาวิทยาลัยนานาชาติเอกชน ๒ แห่ง หลักสูตรที่เน้น ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งบูรณาการมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์เข้าในหลักสูตรด้วย ได้แก่ หลักสูตรนานาชาติสาขา เทคโนโลยีการ จัดการ ที่เปิดสอนในสถาบันอุดมศึกษานานาชาติบางแห่ง หลักสูตรสหวิทยาการดังกล่าว ในระดับปริญญาตรี จะบรรจุกลุ่มวิชาเลือก เฉพาะทางไว้ใน ๒ ปีสุดท้าย กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะทางมีความหลากหลาย ทั้งใน กลุ่มมนุษยศาสตร์, สังคมศาสตร์, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ศิลปะการ สื่อสาร, ภาษาอังกฤษ, วิทยาศาสตร์การจัดการ, เทคโนโลยีพลังงาน/สิ่งแวดล้อม, เทคโนโลยี/การจัดการสารสนเทศ ๏ วันพุธที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.สายชล เกตุษา ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การใช้ 1- methylcyclopropene กับผลิตผลสดพืชสวนหลังการเก็บเกี่ยว ความโดยสรุปว่า ผัก ผลไม้ และไม้ประดับมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่เป็น ผลิตผลที่มีการเสื่อมสภาพเร็วหลังการเก็บเกี่ยว ทำให้มีอายุการวางจำหน่ายสั้น เอทิลีนทั้งที่ผลิตผลสร้างขึ้นเองและได้รับจากภายนอกเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ ผลิตผลเหล่านี้มีการเสื่อมสภาพเร็ว การจัดการเอทิลีนหลังการเก็บเกี่ยวอย่างมี ประสิทธิภาพจะช่วยทำให้สามารถลดการเสื่อมสภาพของผลิตผลหลังการเก็บ เกี่ยวได้มาก และทำให้ผลิตผลมีอายุการวางขายนานขึ้น สาร 1- methylcyclopropene (1-MCP) เป็นสารยับยั้งการทำงานของเอทิลีนที่มี ประสิทธิภาพสูง มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้ สาร 1-MCP กับผัก ผลไม้ และไม้ประดับหลังการเก็บเกี่ยวอย่างกว้างขวางใน ต่างประเทศ ทำให้สามารถรักษาความสด และยืดอายุการวางขายของผลิตผลพืช สวนได้หลายชนิด ในปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ 1-MCP เป็นการค้ากับผลิตผล สดพืชสวนหลายชนิดเพื่อปรับปรุงคุณภาพสำหรับการส่งออก สำนักศิลปกรรม ๏ วันอังคารที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ รศ.สมใจ นิ่มเล็ก ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง วิวัฒนาการของเครื่องปิด เครื่องมุง ความโดยสรุปว่า สิ่งที่ใช้ปิดเครื่องมุงริมหลังคาด้านหน้าจั่วหรือด้าน หน้าบันมีหลายชื่อตามแต่ละประเภทของอาคาร เช่น ปั้นลม รวย รวยระกา ลำยอง ตัวลำยอง เครื่องลำยอง แต่ละชื่อยังมีหลายรูปแบบ ในที่นี้จึงได้ใช้คำรวม ว่า “เครื่องปิดเครื่องมุง” หลังคาด้านสกัดของสิ่งปลูกสร้างไม่ว่าจะเป็นเครื่องผูก เครื่องไม้ เครื่องก่อหรือแม้กระทั่งเครื่องคอนกรีต ของอาคารที่พักอาศัย อาคาร ทางศาสนา หรืออาคารที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ จะต้องยื่นหลังคา ออกมาเพื่อปกคลุมหน้าจั่วและหน้าบัน หลังคาที่ยื่นออกมานี้เรียก “ไขราหน้าจั่ว” หรือ “ไขราหน้าบัน” นอกจากหลังคาของสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่ไม่มี ไขราดังกล่าว เครื่องปิดเครื่องมุงที่พักอาศัย สิ่งปลูกสร้างเรือนเครื่องผูกจะใช้ไม้ไผ่สีสุกลำใหญ่วางบนแปหัวเสา แปลาน อกไก่ และประสานกันของทั้ง ๒ ด้านของหลังคา ปั้นลมนี้จะยื่นเลยสันหลังคาขึ้น ไปประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เพื่อยืดอายุการผุกร่อน เรือนเครื่องไม้ เรือนเครื่องไม้หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เรือนเครื่องสับ ปั้นลมเป็นแผ่นไม้ กระดานตกแต่งให้อ่อนโค้งตามทรงของหลังคาเรือนไทยภาคกลาง ปลายล่างสุด จะเทินอยู่บนเชิงกลอนมี ๒ แบบ เรียกว่า “แบบตัวเหงา” และ “แบบหางปลา” สำหรับเรือนเครื่องไม้ที่เรียกว่า “เรือนล้านนา” หรือ “เรือนกาแล” ปั้นลม เป็นไม้จริงแบบเรือนไทยภาคกลาง ส่วนปลายที่ประสานกันก็จะเลยขึ้นไปเช่น เดียวกับเรือนเครื่องผูก และตกแต่งให้เป็นลวดลายต่าง ๆ สวยงาม เรียกส่วนนี้ว่า “กาแล” ต่อมากาแลจะผุแต่ปั้นลมยังสภาพดีอยู่ จึงเกิดการทำกาแลสำเร็จรูปนำ ขึ้นไปติดแทน อาคารทางศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ อาคารทางศาสนาที่เป็นเครื่องก่อขนาดเล็กก็จะใช้วิธีปั้นปูนเป็นเครื่องปิด เครื่องมุง มีการตกแต่งปลายบนสุดและปลายล่าง บางอาคารปลายบนสุดตรงสัน หลังคา ตกแต่งเป็น “หัวนกเจ่า” ก็มี ส่วนอาคารขนาดใหญ่เครื่องปิดเครื่องมุงวิวัฒนาการไปจากปั้นลมเรือนไทย ภาคกลาง ล่างสุดจะเป็น “หางหงส์” ส่วนบนสุดยังคงรูปแบบปั้นลมแบบเดิมแต่มี การตกแต่งเป็นลวดลายเรียกส่วนปลายนี้ว่า “ช่อฟ้าปั้นลม” หรือ “ช่อฟ้ามอญ” ปั้นลมที่ทอดตัวตรง ๆ ไปจากแปหัวเสา แปลานจนถึงอกไก่โดยมีครีบเป็นซี่เล็ก เป็นระยะจากหางหงส์ถึงช่อฟ้าเรียก “ระกา” หรือ “ใบระกา” ปลายบนสุดเป็น “ช่อฟ้าแบบปากนก” และ “ช่อฟ้าแบบปากปลา” เรียกปั้นลมแบบนี้ว่า “ตัวรวย” เรียกรวมทั้งหางหงส์ ใบระกา ช่อฟ้า ว่า “รวยระกา” และถ้าตัวรวยทำพักบนแป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=