2707_9703
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ความเป็นอิสระ (free agent) แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างมา คนเรา จะต้องมีจิตสำนึกที่จะตระหนักว่าตนเองมีอิสระที่จะเลือกการกระทำ ขณะเดียวกัน ก็ต้องรู้ว่าการกระทำของตนมีผลกระทบต่อผู้อื่นและสังคมอย่างไร ในเรื่องของ การศึกษาตอลสตอยมองว่าการศึกษาคือการพัฒนาคน ความรู้ทางทฤษฎีกับการ ปฏิบัติต้องควบคู่กัน คนมีความรู้ได้รับการศึกษาจะต้องปฏิเสธความรุนแรง นอกจากนี้ ตอลสตอยมีทรรศนะเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ว่า ศิลปะที่แท้จริงจะต้อง เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดความรู้สึกระหว่างศิลปินกับผู้ชมให้เข้าถึงความรู้สึกเดียวกัน ศิลปะเป็นเครื่องมือที่เปิดตัวเราไปสู่ผู้อื่น เช่นเดียวกับที่นำผู้อื่นมาสู่เราทำให้เกิด ความเข้าใจร่วมกัน ส่วนทรรศนะทางจริยศาสตร์ของตอลสตอยถึงแม้จะมีลักษณะ ของจริยศาสตร์ศาสนา (religious ethics) แต่ก็มีลักษณะสำคัญว่าความเชื่อตาม ศรัทธาจะต้องบริสุทธิ์ตามหลักคำสอนมากกว่าข้อกำหนดหรือคำสอนของพระ ศาสนาจักรหรือผู้รู้ทางศาสนา การไตร่ตรองหลักธรรมด้วยตนเอง การฝึกจิต ภาวนาเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนเราเข้าถึงหลักธรรมที่แท้จริง เข้าถึงพระผู้เป็น เจ้าและความหมายของชีวิต ประเด็นโต้แย้งทางปรัชญา (argument) ที่ได้จาก การศึกษาทรรศนะของตอลสตอยมีหลายประการคือ จำเป็นหรือไม่ว่าคนเราจะ เข้าใจความหมายของชีวิตได้ด้วยแนวทางของศาสนาเท่านั้น เพราะสำหรับ ตอลสตอยแล้วเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ประการต่อไปศาสนาให้คำตอบอะไรแก่ชีวิต มนุษย์ ประการสุดท้ายถ้าคนเราไม่เชื่อศาสนาไม่ศรัทธาในคำสอนของศาสนาเรา จะสามารถเข้าใจความหมายของชีวิตได้อย่างไร คำถามเหล่านี้เป็นคำถามเชิง ปรัชญาที่ชวนให้บุคคลได้ย้อนคิดไตร่ตรองและหาคำตอบสำหรับตนเอง แต่ สำหรับตอลสตอยเขาได้คำตอบสำหรับตนเองทุกประการ ๏ วันพุธที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ รศ. ดร. ภัทรพร สิริกาญจน ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การปฏิทัศน์เชิง วิพากษ์ (critical review) ในพระพุทธศาสนากับปรัชญากรีก ความโดยสรุปว่า การปฏิทัศน์เชิงวิพากษ์เป็นการศึกษาทบทวนอย่างวิเคราะห์วิจารณ์ในเรื่องต่าง ๆ และในประเด็นต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยพิจารณาทั้งประวัติบุคคล ประวัติ เหตุการณ์ ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยทั่วไป ในการศึกษา พระพุทธศาสนาและปรัชญามักให้ความสำคัญกับหลักธรรมและความคิดของ ศาสดาหรือของนักปรัชญาโดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ประเด็นในการศึกษาไม่กว้างขวาง เท่าที่ควรและไม่น่าสนใจ การศึกษาที่เป็นบูรณาการใช้การวิเคราะห์วิจารณ์จาก ความรู้ความเข้าใจในแง่มุมที่หลากหลายอาจทำให้เกิดมุมมองใหม่ ส่งเสริมความรู้ เชิงประยุกต์และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ศึกษาอย่างสืบเนื่องต่อไปได้อีกยาวนาน พระพุทธศาสนา ปรัชญากรีก และปรัชญาตะวันตกโดยทั่วไปนำเสนอ แนวคิดและแนวปฏิบัติที่คล้ายกันในบางเรื่อง และต่างกันในบางเรื่อง เช่น คล้าย กันในเรื่องการให้ความสำคัญกับกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลกัน แต่ต่าง กันในแง่ที่พระพุทธศาสนาไม่ส่งเสริมให้ยึดมั่นในตัวตนของมนุษย์ และไม่สอนเรื่อง อมตภาพของมนุษย์ ส่วนเพลโตและอาริสโตเติลให้ความสำคัญกับตัวตนของ มนุษย์และยอมรับเรื่องความเป็นอมตะของวิญญาณ (soul) ในบทความนี้จะ พิจารณาแนวคิดที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันระหว่างพระพุทธศาสนากับปรัชญา กรีก (เฉพาะปรัชญาของเพลโตและอาริสโตเติล) ในเรื่องความรู้ ปัญญา ความสุข และชีวิตในอุดมคติเท่านั้น ในเรื่องความรู้และปัญญา พระพุทธศาสนาและเพลโตเห็นร่วมกันว่า ปัญญา เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเข้าถึงความจริง คนทำชั่วเพราะขาดปัญญาหรือขาด ความรู้ ไม่มีคนที่ตั้งใจเป็นคนชั่ว พระพุทธศาสนาอธิบายขั้นตอนในการปฏิบัติเพื่อ ให้มนุษย์เข้าใจธรรมชาติของตนเองว่า เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ (เปลี่ยนแปลง ไม่คงทน และไม่มีตัวตนตายตัว) เพื่อให้รู้จักปล่อยวางและถอยออกจากกิเลส ส่วน เพลโตส่งเสริมให้มนุษย์พัฒนาปัญญาเพื่อปลดปล่อยตนเองจากความอยากและ การหมกมุ่นในโลกทางวัตถุ แต่เพลโตไม่มีกระบวนการในทางปฏิบัติอย่างเป็นขั้น ตอนเพื่อให้มนุษย์บรรลุชีวิตในอุดมคติ และเข้าถึงโลกของมโนคติ (World of Ideas) นอกจากนี้ ในขณะที่พระพุทธศาสนาและอาริสโตเติลเห็นความสำคัญของ การศึกษาเพื่อพัฒนาปัญญาและสร้างเสริมคุณธรรม เพลโตกลับมีทรรศนะว่า คุณ- ธรรมสอนกันไม่ได้เพราะเป็นสิ่งที่แนบเนื่องอยู่ในจิตมาตั้งแต่เกิดเนื่องจากชาติ กำเนิดของมนุษย์แตกต่างกัน ทำให้มนุษย์มีปัญญาและความสามารถในการ พัฒนาตนไม่เท่าเทียมกัน ผู้ที่มีชาติกำเนิดเป็นทองคำจึงเป็นผู้มีปัญญามากที่สุด และเหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครองรัฐ ผู้ปกครองดังกล่าวนี้ คือ ราชาปราชญ์ ในเรื่องความสุขและชีวิตในอุดมคติ พระพุทธศาสนาส่งเสริมให้มนุษย์เห็น คุณค่าของนิพพานสุขมากกว่าความสุขทางโลกและความสุขในสวรรค์ กล่าวอีก อย่างหนึ่ง คือ ให้เห็นนิรามิสสุขมีคุณค่าเหนือกว่ากามสุข และในขณะที่เพลโต กล่าวถึงความสุขในโลกของมโนคติและในรัฐอุดมคติซึ่งไม่ปรากฏจริงในโลกมนุษย์ อาริสโตเติลกลับกล่าวถึงความสุขที่เป็นกินดีอยู่ดีและความสำเร็จ (eudaimonia) เป็นการดำรงชีวิตที่ไม่สุดโต่งในด้านใดด้านหนึ่งและเป็นไปตามเหตุตามผลในโลก ธรรมชาติและในประสบการณ์ของมนุษย์ การปฏิทัศน์เชิงวิพากษ์ในพระพุทธศาสนากับปรัชญากรีกทำให้เกิดข้อคิด และแรงบันดาลใจในการมีชีวิตอยู่ในฐานะส่วนหนึ่งของสังคมและโลกธรรมชาติ ในการแสวงหาความรู้และการพัฒนาตนเอง ตลอดจนการกำหนดเป้าหมายสูงสุด ของชีวิตของเรา ศ. ดร.ปิยนาถ บุนนาค ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว : พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ความโดยสรุปว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงตระหนักถึงความสำคัญของการ สื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและเข้าถึงประชาชนในสังคมไทยอันนำไปสู่การ พัฒนาประเทศตามพระราชดำริ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ทรงเห็นว่าการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการ ปกครอง ทรงส่งเสริมให้มีการร่วมมือกันเลือกเฟ้นส่วนที่ดีมีประสิทธิภาพมา ปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมกับฐานะและสภาพของบ้านเมืองเพื่อความก้าวหน้าทาง วิชาการและเทคโนโลยีทางการสื่อสารอันจะเป็นประโยชน์อย่างสมบูรณ์แท้จริงต่อ ประเทศชาติ พระราชกรณียกิจในการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร ประการแรก คือ การพัฒนาสายอากาศ ทรงติดตั้งเครื่องรับ-ส่งวิทยุไว้ในห้องทรงงาน ณ พระ ตำหนักจิตรลดารโหฐานและโปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งสายอากาศ เพื่อทรงทดสอบขีด ความสามารถของสายอากาศแต่ละชนิดเพื่อวัดความแรงสัญญาณ งานใดที่ทรง ทดลองได้ผลดีแล้วก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปใช้ ทั้งมีพระราชดำริให้ออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยมีพระราชประสงค์ทรงใช้งานกับวิทยุสื่อสารส่วนพระองค์เพื่อทราบเหตุการณ์ ด้านสาธารณภัยที่เกิดขึ้นกับประชาชน จะได้ทรงช่วยเหลือได้ทันท่วงที และติดต่อ สื่อสารกับทหารและตำรวจในท้องที่ห่างไกลทุรกันดารซึ่งปฏิบัติงานอยู่ตาม ชายแดน รวมทั้งพระราชทานให้หน่วยราชการต่าง ๆ ได้ใช้ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมให้ คนไทยทำงานด้านการออกแบบและสร้างสายอากาศ รวมถึงพัฒนาระบบวิทยุ สื่อสารขึ้นใช้เองในประเทศ เป็นการลดดุลการค้าและเพิ่มดุลทางเทคโนโลยี ประการที่ ๒ การบริหารความถี่วิทยุ ทรงสังเกตว่าสัญญาณวิทยุของเจ้าหน้าที่ สื่อสารตำรวจจะรบกวนสัญญาณวิทยุของเจ้าหน้าที่แผนกรักษาความปลอดภัย บุคคล กรมราชองครักษ์ ทั้ง ๆ ที่ใช้ความถี่วิทยุในการปฏิบัติงานต่างกัน จึงทรง ทดลองและทดสอบเกี่ยวกับการผสมคลื่นระหว่างกันจนได้ผลและนำมาใช้ได้จริง ทำให้การบริหารคลื่นวิทยุได้รับการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประการ ที่ ๓ การจัดวางระบบสื่อสาร โดยกำหนดความถี่ใหม่ให้ทุกหน่วยในกรมตำรวจใช้ ความถี่ใกล้เคียงอยู่ในกลุ่มหรือย่านเดียวกัน เพื่อสามารถติดตั้งแร่บังคับความถี่ เพิ่มเติมเป็นความถี่ร่วม ทำให้สามารถปรับเครื่องรับ-ส่งวิทยุของแต่ละหน่วยให้ สามารถติดต่อระหว่างกันได้ โดยไม่ต้องติดตั้งเครื่องเพิ่มเติมซึ่งเป็นการสูญเสียงบ ประมาณโดยไม่จำเป็น และจัดตั้งศูนย์การสื่อสารร่วมของกรมตำรวจ คือ ศูนย์ การสื่อสารกลางสำหรับข่ายการสื่อสารตำรวจแห่งชาติหรือ “ข่ายปทุมวัน” ต่อมา ได้จัดตั้งศูนย์สื่อสารร่วมของตำรวจขึ้นในทุกพื้นที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปถึง และประสานงานกับกรมไปรษณีย์โทรเลขจัดสรร ความถี่ในย่าน VHF และ UHF ใหม่ เป็นความถี่กว้าง ๆ แล้วจึงนำมาซอยเป็น ช่องความถี่ขนาดต่าง ๆ ตามมาตรฐานทั่วไป พระองค์ทรงนำเทคโนโลยีการ สื่อสารมาใช้ในการประกอบพระราชกรณียกิจ ดังนี้ (๑) รับฟังข่าวรายงาน เหตุการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับทุกข์สุขของประชาชน เพื่อทรงอำนวย ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที (๒) ประชาสัมพันธ์ติดต่อสื่อสารกับประชาชน ทรงตั้ง สถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิตใน พ.ศ. ๒๔๙๕ วิทยุกระจายเสียงนับ เป็นสื่อมวลชนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถสื่อสารได้ไกล ราคาประหยัด และ ทำงานได้รวดเร็ว (๓) ทรงงานทางการแพทย์และสาธารณสุข เช่น มูลนิธิแพทย์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=